- ครู กศน.ตำบล
- ข่าวกิจกรรม กศน.ตำบล
- จำนวนการเข้าชม: 495
นางสาวสายชล แตงไทย
ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลเขากะลา
เบอร์โทร 056-267-523
ประกาศสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดนครสวรรค์
เรื่อง ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาประกวดราคาซื้อหนังสือเรียนภาคเรียนที่ 1/2568
ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายด้วยวิธีการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
ประกาศเรื่อง ประกวดราคาซื้อหนังสือเรียนภาคเรียนที่ 1/2568
ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์
ประกาศผลการสอบคัดเลือกเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานจ้างเหมาบริการ
ตำแหน่ง พนักงานขับรถห้องสมุดเคลื่อนที่ (โมบาย)
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสอบสัมภาษณ์ และทดสอบปฏิบัติ
ตำแหน่ง พนักงานขับรถห้องสมุดเคลื่อนที่ (โมบาย)
สอบวัดความรู้ระดับชาติ (n-net) ในวันที่ 7 มีนาคม 2564 ณ โรงเรียนพยุหะวิทยาคม
กศน.ตำบลเขากะลา จัดสอนอาชีพการทำขนมทองม้วนสด ให้กับประชาชนตำบลเขากะลา อำเภอพยุหะคีรี
หน้าที่ 1 จาก 2
วันนี้ (25 ก.ค.2568) รศ.ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์ประจำสาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์รายการจับตาสถานการณ์ ไทยพีบีเอส เกี่ยวกับประเด็นความตึงเครียดชายแดนไทย-กัมพูชา
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่ UNSC หยิบยกเรื่องนี้เข้าไปเตรียมที่จะหารือ เป็นวาระเร่งด่วนพิเศษ ในคืนวันนี้ (25 ก.ค.2568) ตามเวลาประเทศไทย อันนี้มองว่าจะเป็นความท้าทายหรือจะเป็นแต้มต่อ ที่ทำให้ไทยสามารถที่จะไปอธิบายให้กับประชาคมโลกได้รับทราบมากยิ่งขึ้น
รศ.ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช อธิบายว่า เป็นความตั้งใจของ ฮุน มาเนต นายกฯกัมพูชา อยู่แล้ว ที่ต้องการทำให้สถานการณ์ มีความขัดแย้งปะทะทางทหาร เพื่อจะดึงให้สหประชาชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง แล้วก็บีบมาในลักษณะที่ว่า ไทยเป็นผู้รุกรานอะไรทำนองนี้
อาจารย์ย้ำว่า ทางการไทยก็ตอบโต้ได้เร็ว สมเหตุสมผล และสำคัญคือกัมพูชาได้ละเมิดอนุสัญญาออตตาวา อนุสัญญาเจนีวา ทำร้ายพลเรือนผู้เสียชีวิตในประเทศไทย หลักฐานตรงนี้มันบ่งชี้ชัด สื่อจากต่างประเทศหลายสำนักก็ชี้ไปในครรลองทางเดียวกันว่า กัมพูชาเริ่มก่อน และพลเรือนไทยเสียชีวิต
ประเทศไทยมีความชอบธรรมที่จะตอบโต้ ไม่ต้องไปกังวลอะไร เพียงแต่ว่า การตอบโต้ชี้แจงในระดับสหประชาชาติ ไทยก็ต้องทำอย่างต่อเนื่อง มีลำดับเวลา มีข้อมูลหลักฐานที่สำคัญก็คือว่า รมว.ต่างประเทศ ดำรงบทบาทหน้าที่แบบนี้ถือว่าเหมาะสมอยู่ในระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากเรื่องนี้ ทางฮุน มาเนต ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ยื่นเรื่องเข้ามา
ดังนั้นถ้าทางการไทยจะโต้ ตนมองว่า อย่างน้อย ภูมิธรรม เวชยชัย ในฐานะรักษาการนายกรัฐมนตรี น่าจะมีจดหมายหรือออกแถลงการณ์เข้าไปด้วย เพื่อให้ศักดิ์ศรีใกล้เคียงกัน ในเรื่องของตำแหน่งผู้บริหารประเทศ
ผู้สื่อข่าวสอบถามต่อว่า ควรจะต้องมีคำพูดที่ออกมาจากระดับผู้นำของไทย เพื่อเป็นการตอกย้ำแบบนั้นหรือไม่ ถึงจะขยายผลไปให้มีน้ำหนักกับเรื่องนี้
ดร.ดุลยภาค กล่าวว่า ใช่ คือแม้ว่าจะมีรักษาการนายกรัฐมนตรี แต่ว่ารักษาการสามารถจะทำเช่นนั้นได้ ซึ่งก็เป็นกระบวนการที่อาศัยความร่วมมือ ระหว่างทำเนียบรัฐบาลกับกระทรวงการต่างประเทศทำได้แล้ว ส่วนทางกองทัพบกของไทย เรียกผู้ช่วยทูตทหารบก เข้ามาชี้แจง แต่ก่อนหน้านี้ก็ทำมาอยู่แล้ว ออกแถลงการณ์ในส่วนของกองทัพไปก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในแถลงการณ์ที่ควรจะส่งไป ควรจะต้องมีคีย์เวิร์ด (Key Word) อะไรสำคัญที่เน้นย้ำให้เห็นถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยหรือไม่
ดร.ดุลยภาค กล่าวว่า
คีย์เวิร์ดสำคัญหลัก คือ “การขัดต่อหลักมนุษยธรรม” เนื่องจากการกระทำของกัมพูชา ทำให้พลเรือนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ด้วยการใช้อาวุธหนักที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง คือ จรวด BM-21 และที่สำคัญคือ ไทยไม่ควรจะไปอ้างถึงเหตุการณ์ครั้งนี้อย่างเดียว แต่เราย้อนไปในเหตุการณ์ ปี 2554 กัมพูชายิง BM-21 เข้ามาเป็นห่าฝน แล้วก็ไม่เว้นเป้าหมายพลเรือนด้วยเช่นกัน
ดังนั้นการกระทำของกัมพูชา 10 กว่าปีที่ผ่านมา คุณก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง แล้วการกระทำ 10 กว่าปีที่ผ่านมานั้น จึงสมควรที่ประเทศไทยจะนำหลักฐานในปี 2554 เข้ามาขยายผลถึงพฤติกรรมที่เลวร้ายของกัมพูชา
ผู้สื่อข่าวสอบถาม แต่ว่าการเมืองใน UNSC เองก็มีด้วยเหมือนกัน คือแต่ละประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เป็นคณะมนตรีถาวรที่อยู่ในนั้น 5 ประเทศ บางส่วนมาไล่ดูกันด้วยเหมือนกันว่าประเทศนี้อาจจะถือหางประเทศใดอยู่ด้วยหรือไม่ อันนี้มันเป็นสิ่งที่เราต้องหยิบยกมาพิจารณาแล้วไปคุยกันหลังบ้านให้มากด้วยขึ้นด้วยหรือไม่
ดร.ดุลยภาค อธิบายว่า อันนี้เป็นเรื่องธรรมดา เพราะว่าเป็นดุลอำนาจในการต่อรอง ก็มีอยู่ 5 ประเทศหลัก ๆ ซึ่งอย่างน้อยประเทศที่เราอาจจะกังวลก็คือประเทศจีน ซึ่งหลายคนก็บอกว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับระบอบ ฮุนเซน และ ฮุน มาเนต มาหลายปีแล้ว
แต่จีนกลับแถลงการณ์ในลักษณะที่เป็นกลาง ไม่เอนข้างฝ่ายใดมาก แล้วเทียบน้ำหนักในทางภูมิรัฐศาสตร์แล้ว แม้ว่าจีนจะเข้าไปลงทุนในกัมพูชาหลายมิติ แต่ว่าไทยเป็นประเทศใหญ่กว่า มี Value ในทาง Geopolitics ที่มากอยู่ จีนก็มีความสัมพันธ์กับไทยด้วยเหมือนกัน
ดังนั้นก็คงจะไม่น่าจะกังวลอะไร ทีนี้ว่าจะไปไล่ดูประเทศอื่น ๆ ก็ลองวิเคราะห์กันไป อาจารย์คิดว่า 4 ประเทศที่ผ่านมา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย หรือสหรัฐอเมริกา ก็ยังไม่มีท่าทีชัดเจนในการเข้าข้างกัมพูชา
ผู้สื่อข่าวสอบถามว่าอย่างแถลงการณ์ที่ออกมาจากนานาชาติหลาย ๆ ประเทศ โดยเฉพาะประเทศสำคัญอย่างที่อาจารย์ยกตัวอย่างถึง “จีน” หรือแม้แต่ “สหรัฐอเมริกา” ที่ออกมาถ้อยความถ้อยแถลง ดูแล้วไทยพอจะมีแต้มต่อมากน้อยแค่ไหน
รศ.ดร.ดุลยภาค ระบุว่า ถ้อยแถลง คือ ให้สองฝ่ายยุติการสู้รบกันโดยเร็ว แล้วก็น่าเจรจาเข้าหากัน เป็นถ้อยแถลงที่เป็นกลางแล้ว เป็นเชิงบวกต่อสันติภาพโดยรวม แต่ว่าหน้างานเป็นการรบทัพจับศึก เป็นการที่ประเทศไทยจะต้องปกป้องอธิปไตย ซึ่งไม่สามารถตอบได้ว่า มันจะจบลงเมื่อไหร่
แล้วสำหรับกลไกของสหประชาชาติหรืออื่น ๆ ตอบไม่ได้ว่าจะเข้ามายุติสถานการณ์ได้อย่างในเร็ววัน แต่ถ้าเอาแบบแฟร์ ๆ ไทยน่าจะเน้นว่า “อนุสัญญาออตตาวา” เรื่องทุ่นระเบิดหรือการที่กัมพูชาโจมตีโรงพยาบาล ผิดอนุสัญญาอะไร ขัดต่อหลักมนุษยธรรมอย่างไรบ้าง ไทยชี้แจงตรงนี้ให้ชัดเจน เอาจริง ๆ บอกให้สหประชาชาติ คือยังไม่ต้องถึงขั้นอะไรหรอก “ตั้งกรรมการขึ้นมาสืบสวนข้อเท็จจริง” ว่า กัมพูชายิงก่อนแล้วก็ทำลายโรงพยาบาลของไทยจริงไหมแค่นั้น อาจารย์คิดว่า เราก็อาจจะมีกลไกแบบนี้ที่น่าจะทำได้
ผู้สื่อข่าวสอบถามว่า ขณะเดียวกันมีการจับตามอง ถึงบทบาทขององค์กร ที่ใกล้ชิดกับไทยมากที่สุด กับกัมพูชามากที่สุดอย่างอาเซียน อาจารย์มองบทบาทของอาเซียน ณ ขณะนี้อย่างไรบ้าง หลังจากที่ได้เห็นภาพของ นายกฯ อันวาร์ อิบราฮิม ประเทศมาเลเซีย ตอนนี้เป็นประธานอาเซียนอยู่ มีความพยายามที่จะคุยกับทั้ง 2 ประเทศ มีโอกาสที่อาเซียนจะเข้ามาเป็นตัวกลางในเรื่องนี้ได้มากน้อยแค่ไหน
ดร.ดุลยภาค ระบุว่า มีโอกาส ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย ซึ่งเป็นประธานอาเซียนเข้ามาเป็นคนกลางไกล่เกลี่ย อินโดนีเซีย หรือว่าประเทศอื่น ๆ อะไรทำนองนี้ แต่คงจะยังไม่ใช้เวลานี้ ที่สำคัญก็คือว่า อาเซียนไม่ได้มีมาตรการมาบังคับใช้กฎหมายในภูมิภาค หรือมาลงโทษรัฐผู้พิพาทอะไรต่าง ๆ ก็จะเป็นใช้วิธีเอาคนกลางเข้ามาไกล่เกลี่ย บนพื้นฐานของสันติวิธีประนีประนอม จะเป็นหลักการแบบนั้นมากกว่า
คือ อย่าว่าแต่อาเซียน แม้แต่จีนก็เสนอตัวเหมือนกัน ที่จะเข้ามาเป็นคนกลาง แต่จีนไม่ได้เป็นสมาชิกอาเซียน มีหลายประเทศที่ให้ความสนใจตรงนี้อยู่ แต่ว่าหลักสำคัญที่สุดก็คือ “หลักทวิภาคี” ระหว่างไทยกับกัมพูชา ว่าจะยุติกันได้โดยเร็ว แล้วนำมาสู่ความสงบในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ ยังไงก็อยู่ที่ 2 ประเทศนี้เป็นหลักมากกว่า
ผู้สื่อข่าวถามว่า ต้องถึงจุดไหน อย่างเช่นในกรณีที่ไทยกับกัมพูชา จะมีโอกาสที่หันมาเจรจาในระดับทวิภาคีกันเองด้วยสันติ ในเมื่อสถานการณ์มันขยับมาจนถึงจุดของการสู้รบในตอนนี้
ดร.ดุลยภาค มองว่า อยู่ที่ทหารไทย ว่าจะโจมตีเป้าหมายของทางฝั่งนู้น เพื่อสร้างความสูญเสียทางกำลังรบ จนกัมพูชาเห็นว่า สู้ต่อคงจะไม่ดีก็เป็นฝ่ายร้องขอให้มีการเจรจา แล้วมันก็จะมาสู่วิวัฒนาการตามธรรมชาติของสันติภาพในระดับทวิภาคี
เรามี MOU 43 MOU 44 ตามปี พ.ศ. แต่พอปี 2554 ไทยกับกัมพูชารบกัน กัมพูชายิงจรวด BM-21 ใส่เข้าไทย ไทยสวนกลับด้วยปืนใหญ่ซีซ่าร์ จนกัมพูชาเสียกำลังรบแล้วร้องขอเจรจา แล้วหลังจากนั้นมา MOU เหล่านั้น เช่น MOU 43 ก็ยังเป็นกรอบปฏิบัติ จนกระทั่งถึงสถานการณ์เร็ว ๆ หรือในทุกวันนี้อยู่
นั่นแสดงว่ามีสถานการณ์การสู้รบไม่ได้หมายความว่าความสัมพันธ์ทวิภาคี หรือกลไกที่มีอยู่จะหายไปเลย กลับมาใหม่ได้เหมือนกัน หรือว่ายังคงอยู่แล้วก็ต่อไปอีกทีตามจังหวะที่เหมาะสม
เรียบเรียง : ศศิมาภรณ์ สุขประสิทธิ์ นักศึกษาโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อ่านข่าว :
UNSC นัดประชุมฉุกเฉินปมขัดแย้งไทย-กัมพูชา
โต้กัมพูชา ศบ.ทก.ยืนยันไทยไม่ได้ยิงโดน "ปราสาทพระวิหาร"
วันนี้ (26 ก.ค.2568) เวลา 05.10 น. ผู้สื่อข่าวรายงานการปะทะระหว่างทหารไทยและกัมพูชาในพื้นที่ตามแนวชายแดนเข้าสู่วันที่ 3 ทหารกัมพูชาเปิดพื้นที่ใหม่เริ่มโจมตีทหารไทย เวลา 05.10 น. บริเวณบ้านชำราก จ.ตราด ทางทหารจากกองกำลังป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด ได้ตอบโต้ เริ่มการปะทะ
กองทัพเรือ จึงได้เปิด “ยุทธการตราดพิฆาตไพรี 1” ทำการผลักดันและทำลายพื้นที่ทหารกัมพูชาวางกำลังรุกล้ำเขตแดนไทย 3 จุด กระทั่งเวลา 05.40 น. กำลังทหารเรือได้สามารถผลักดัน ฝั่งกัมพูชาได้ถอยออกไป
อ่านข่าว : ประกาศกฎอัยการศึก 8 อำเภอ "จันทบุรี-ตราด" มีผลทันที
วันนี้ (26 ก.ค.2568) กองบัญชาการกองทัพไทย บันทึกเหตุการณ์การปะทะบริเวณชายแดนไทย–กัมพูชา วันที่ 25 ก.ค.2568 ระบุว่า
ตามรายงานจากศูนย์เฉพาะกิจบริหารสถานการณ์บริเวณชายแดนไทย–กัมพูชา (ศบ.ทก.) ได้เกิดเหตุปะทะอย่างต่อเนื่องตลอดแนวชายแดนในหลายจุดสำคัญ โดยฝ่ายกัมพูชาเป็นผู้เปิดฉากโจมตีก่อนด้วยอาวุธหนักหลายประเภท ส่งผลให้สถานการณ์ในพื้นที่มีความตึงเครียดอย่างมาก สรุปสถานการณ์ในพื้นที่สำคัญ มีดังนี้
- เวลา 08.30 น. บริเวณ ช่องบก เกิดการยิงตอบโต้ระหว่างปืนใหญ่ของไทยกับ BM 21 จากฝ่ายกัมพูชา
- ช่องอานม้า กัมพูชาใช้กำลังโจมตีและทำลายอนุสาวรีย์คนขี่ม้ารวมถึงอาคารโดยรอบ
- พื้นที่ชาแต กองกำลังไทยตอบโต้ด้วยทหารราบและรถถังเพื่อยึดพื้นที่กลับคืน
- ช่องตาเฒ่า ฝ่ายกัมพูชาใช้รถถังจำนวน 15 คันเป็นฐานยิงโจมตี
- เขาพระวิหาร กองกำลังไทยตรึงกำลังอย่างเข้มแข็ง
- ภูมะเขือ เกิดการเข้าตีและยิงโต้ตอบอย่างต่อเนื่อง
- ช่องจอม มีการสู้รบสลับกันไปมา
- ปราสาทตาควาย กัมพูชาเสริมกำลังพลจำนวนมากเข้าสู่พื้นที่
- ปราสาทตาเมือนธม ฝ่ายไทยวางกำลังป้องกันแน่นหนา ขณะที่ฝ่ายกัมพูชาพยายามเข้าตีหลายระลอก
สรุปสถานการณ์ผู้ได้รับผลกระทบจากการปะทะชายแดนไทย–กัมพูชา ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2568 เวลา 14.00 น.
ยอดเพิ่มเติมเฉพาะวันที่ 25 ก.ค.2568
1.พลเรือน
บาดเจ็บสาหัส เพิ่ม 3 ราย
บาดเจ็บเล็กน้อย เพิ่ม 1 ราย
บาดเจ็บปานกลาง ลดลง 3 ราย (กลับบ้านได้)
2.ทหาร
เสียชีวิต เพิ่ม 5 นาย
บาดเจ็บ เพิ่ม 15 นาย
ยอดสะสมรวมตั้งแต่เกิดเหตุการณ์จนถึงปัจจุบัน
1.พลเรือน
เสียชีวิต 13 ราย
บาดเจ็บสาหัส 10 ราย
บาดเจ็บปานกลาง 10 ราย
บาดเจ็บเล็กน้อย 13 ราย
รวมทั้งสิ้น 46 ราย
2.ทหาร
เสียชีวิต 6 นาย
บาดเจ็บ 29
รวมทั้งสิ้น 35 นาย
กองทัพไทยขอแสดงความไว้อาลัยและสดุดีวีรกรรมของทหารกล้าผู้เสียสละชีวิตเพื่อปกป้องผืนแผ่นดิน และอธิปไตยของชาติอย่างหาญกล้า
ทั้งนี้ ฝ่ายกัมพูชาได้กระทำการที่เข้าข่าย อาชญากรรมสงคราม (War Crimes) อย่างชัดเจน ได้แก่
- การจงใจโจมตีพลเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีสถานะทางทหาร
- การทำลายสถานที่สาธารณะ เช่น โรงเรียน อนุสาวรีย์
- การใช้อาวุธหนักแบบไม่เลือกเป้าหมาย
- การตั้งฐานยิงในพื้นที่ชุมชนและใช้พลเรือนเป็นโล่มนุษย์
การกระทำดังกล่าวถือเป็นการละเมิดกฎหมายและธรรมเนียมของสงครามอย่างร้ายแรง และประเทศไทยขอเรียกร้องให้ประชาคมโลกตระหนักถึงการกระทำของ ฮุน เซน ผู้นำกัมพูชา ซึ่งต้องรับผิดชอบในฐานะอาชญากรสงคราม ที่สั่งการและสนับสนุนการรุกรานอย่างไม่ชอบธรรม
อ่านข่าว : มีสติเสพข่าว! หมอห่วงคนไทยเสี่ยงเครียด-หลงกระแสเกลียดชัง
"กัมพูชา" เข้าข่ายก่อ "อาชญากรรมสงคราม" หรือไม่ ?
ทร.แจงใช้ "กฎอัยการศึก" เหตุชายแดนกระทบ ปชช.จันทบุรี-ตราด
สถานการณ์ตึงเครียดบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาที่ปะทุขึ้นในช่วงเวลานี้ ส้างความวิตกกังวลให้กับคนไทย บางส่วนถึงขั้นเกิดความโกรธแค้นลุกลามเป็นกระแสเกลียดชังที่นำไปสู่พฤติกรรมรุนแรง เช่น การทำร้ายแรงงานชาวกัมพูชาที่ทำงานอยู่ในไทย
นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต ระบุว่า ความรุนแรงทางอารมณ์เช่นนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเสพข่าวสารโดยขาดการกลั่นกรอง โดยเฉพาะสื่อที่โน้มเอียงไปทางดรามาและปลุกเร้าอารมณ์ อาจทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าสถานการณ์นั้นรุนแรงกว่าความเป็นจริง และพัฒนาไปสู่ความเกลียดชังโดยไม่รู้ตัว
การเสพข่าวไม่ใช่แค่เรื่องการจำกัดเวลาเท่านั้น แต่ต้องเลือกเสพอย่างมีสติ ต้องแยกแยะระหว่างข่าวสารที่ให้ข้อมูลรอบด้าน กับสื่อที่มีเป้าหมายเพื่อปลุกอารมณ์ให้เกลียดชังฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
นพ.ยงยุทธ เตือนว่า ความขัดแย้งระหว่างประเทศเป็นเรื่องของระดับนโยบายรัฐ ไม่ควรถูกนำมาโยงกับประชาชนทั่วไปที่ยังคงมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทั้งในแง่การค้าขายและการทำงานร่วมกัน ซึ่งประชาชนไม่ต้องการสงคราม เพราะนำมาซึ่งความทุกข์ทั้งกาย ใจและเศรษฐกิจ คนที่ใช้ความรุนแรงมักต้องการความชอบธรรม ซึ่งวิธีหนึ่งในการสร้างความชอบธรรมคือการปลุกกระแสเกลียดชัง จึงต้องระวังไม่ตกเป็นเหยื่อของกลไกนี้
จิตแพทย์ยังเน้นว่า การเลือกรับข้อมูลข่าวสารที่มีเหตุผลและสร้างความเข้าใจ เป็นเกราะป้องกันสำคัญต่อภาวะเครียดและความรุนแรงทางอารมณ์ โดยเฉพาะในยุคที่ระบบออนไลน์มีการใช้อัลกอริทึมคัดกรองเนื้อหาตามพฤติกรรมผู้ใช้งาน ซึ่งอาจยิ่งทำให้คนหมกมุ่นอยู่ในโลกของอารมณ์ลบหากไม่ได้รับสติ
“ชาวกัมพูชาทั่วไปก็เหมือนกับคนไทย พวกเขาไม่ได้เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง พวกเขาแค่อยากมีชีวิตสงบ ทำงานสุจริต เลี้ยงครอบครัว ความเข้าใจในความเป็นมนุษย์ร่วมกันต่างหากคือสิ่งที่ควรยึดไว้” นพ.ยงยุทธกล่าว
อ่านข่าว
สธ.ออก 9 ข้อสั่งการ ปิด รพ.เขต Hot Zone - วางเส้นทางอพยพ
"ภูมิธรรม" เผย "อันวาร์" เสนอขอเป็นตัวกลางเจรจาหยุดยิงไทย-กัมพูชา