หมู่ 10 บ้านพุวิเศษ ต.เขากะลา อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 60130 081-4161915 saichontangthai@gmail.com วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 09.00 น. - 16.00 น.
ครู กศน.ตำบลเขากะลา

IMG 8622.jpq

นางสาวสายชล  แตงไทย

ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลเขากะลา

 เบอร์โทร 056-267-523

 

 

ข่าวประชาสัมพันธ์ สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์

ข่าวประชาสัมพันธ์ทั่วไป

21 พฤษภาคม 2568

การศึกษา, เรียน สกร., รับสมัครนักศึกษา, สกร.นครสวรรค์, สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์
แพลตฟอร์ม กศน.นครสวรรค์

จำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์
031896
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ผู้เข้าชมทั้งหมด
38
29
131
31374
815
932
31896

Your IP: 192.168.1.1
2025-05-21 10:53

สอบวัดความรู้ระดับชาติ (n-net) ในวันที่ 7 มีนาคม 2564 ณ โรงเรียนพยุหะวิทยาคม

 


รายชื่อ n net

 กศน.ตำบลเขากะลา จัดสอนอาชีพการทำขนมทองม้วนสด ให้กับประชาชนตำบลเขากะลา อำเภอพยุหะคีรี1582818810 news image

หน้าที่ 1 จาก 2

ข่าวประชาสัมพันธ์ ไทยพีบีเอส

ข่าวไทยพีบีเอส - home

21 พฤษภาคม 2568

ข่าวที่คุณวางใจ โดยสำนักข่าวไทยพีบีเอส ติดตามข่าวและสถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศได้ที่นี่่
  • ญาติร้อง "หมอทศพร" เรียกสอบ 2 รพ. ชี้แจงคนไข้ตกสันเขื่อนตาย
    21 พฤษภาคม 2568

    วันนี้ (21 พ.ค.2568) ที่รัฐสภา นพ.ทศพร เสรีรักษ์ สส.แพร่ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร รับยื่นหนังสือจาก น.ส.ชฎาธร โง่นหงส์ เพื่อขอให้ตรวจสอบมาตรฐานการรักษาพยาบาล ของแพทย์โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ที่อาจวินิจฉัยผิดพลาด จนเป็นเหตุให้ นายปัน โง่นหงส์ ผู้เป็นอา เสียชีวิต

    โดย น.ส.ชฎาธร กล่าวว่า วันที่เกิดเหตุคือ 21 มี.ค.2568 ที่ผ่านมา อาของตน อายุ 50 ปี ไปนั่งเล่นที่เขื่อน และช่วงที่ยืนขึ้นได้พลัดตกเขื่อนไป เมื่อกู้ภัยนำส่งโรงพยาบาล แพทย์ได้วินิจฉัยว่าเป็นอุบัติเหตุตกเขื่อนที่มีแผลถลอกบริเวณปาก จากนั้นให้คนไข้กลับบ้าน ช่วงระหว่างที่รอกลับบ้านนั้น อาของตนพยายามบอกพยาบาลว่าแขนขาและตัวขยับไม่ได้ จนถึงช่วงรับกลับบ้านที่ จ.สมุทรปราการ จากนั้น ที่บ้านสังเกตอาการไม่ดีขึ้นจึงรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลอีกแห่ง เมื่อแพทย์ได้ตรวจเช็กและสอบถามอาการ จึงได้นำส่ง CT Scan ทันที จนพบว่ากระดูกคอระหว่างข้อที่ 5-6 หัก ไปทับเส้นประสาท ทำให้ขยับตัวไม่ได้

    จากนั้น ได้ส่งต่ออาของตนไปรักษาตามสิทธิประกันสังคมที่โรงพยาบาลแห่งแรก จนอาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 เม.ย.2568 ที่ผ่านมา จึงอยากให้ กมธ.การสาธารณสุข พิจารณาสอบข้อเท็จจริง ขั้นตอนการรักษาของโรงพยาบาลแรก ว่าขณะที่คนไข้ร้องขอให้ตรวจเช็กว่าร่างกาย แขนขาขยับไม่ได้ เหตุใดโรงพยาบาลจึงไม่ตรวจเช็กให้ละเอียดรอบคอบ

    ตั้งแต่อาเสียชีวิต ทางครอบครัวยังไม่ได้รับการติดต่อและเยียวยาจากโรงพยาบาลเลย ว่าเกิดการรักษาที่ผิดพลาดหรือบกพร่องอย่างไร ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ยื่นเรื่องไปที่เพจสายไหมต้องรอดแล้ว และครั้งนี้จะได้มายื่นกับ กมธ. เพื่อช่วยติดตามเรื่องที่เกิดขึ้น

    ด้าน นพ.ทศพร รับเรื่องไว้และกล่าวว่า จากนี้จะเรียกผู้เกี่ยวข้องทั้ง โรงพยาบาลแห่งแรกและแห่งที่ 2 เข้าให้ข้อมูลเพื่อขอเอกสารหลักฐาน ดูว่าการทำงานของโรงพยาบาลแห่งแรกมีความผิดพลาดและบกพร่องอย่างไร เพื่อนำมาเป็นบทเรียนให้แพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ ทำงานอย่างรอบคอบ ระมัดระวังให้มากกว่านี้ ไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก

    อ่านข่าวเพิ่ม :

    สุดช้ำ! อาเจ็บหนัก หมอบอกแค่ปากถลอก สุดท้ายคอหักตาย

    ทหารยิงเพื่อนบาดเจ็บ 1 นาย ที่ปัตตานี เร่งตามตัวผู้ก่อเหตุ

  • ทหารยิงเพื่อนบาดเจ็บ 1 นาย ที่ปัตตานี เร่งตามตัวผู้ก่อเหตุ
    21 พฤษภาคม 2568

    วันนี้ (21 พ.ค.2568) เวลา 15.00 น. พ.ต.อ.อาภากร วิรูปักษ์อารักษ์ ผกก.สภ.ปะนาเระ ได้รับแจ้งมีเหตุใช้อาวุธปืนภายในฐาน ชุด ร้อย.ทพ.4215 กรมทหารพรานที่ บ.น้ำบ่อตะวันออก ม.5 ต.บ้านน้ำบ่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี จึงได้นำกำลังเข้าตรวจสอบในที่เกิดเหตุ พบว่ามีเจ้าหน้าที่ทหารพรานได้รับบาดเจ็บ 1 นายทราบชื่อ อส.ทพ.พงษ์เดช นาแนวสุข ถูกอาวุธปืนยิงเข้าที่บริเวณ ท้องและแขน ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลปะนาเระ ส่วนผู้ก่อเหตุหลังจากที่ใช้อาวุธปืนยิงเพื่อนทหารแล้ว ได้นำอาวุธปืนที่ยิงหลบหนีไปด้วย ทราบชื่อ อส.ทพ.ประวิทย์ เหลี่ยมพล

    โดยสถานการณ์ล่าสุด ทางเจ้าหน้าที่ได้พบตัวผู้ก่อเหตุแล้ว และกำลังเกลี้ยกล่อมเพื่อให้มอบตัวต่อเจ้าหน้าที่
    สำหรับมูลเหตุในครั้งนี้

    ทางเจ้าหน้าที่ได้เปิดเผยข้อมูลเบื้องต้นว่า ในขณะที่ อส.ทพ.พงษ์เดช เพื่อนทหารกำลังจะไปซ่อมปั๊มน้ำที่เสียซึ่งอยู่ด้านหน้าของฐาน โดยได้บอกกับผู้ก่อเหตุว่าจะไปซ่อมปั๊มน้ำ ขณะเดินออกไปหน้าฐาน ปรากฏว่า อส.ทพ.ประวิทย์ ได้ใช้อาวุธปืนยิงใส่ อส.ทพ.พงษ์เดช โดยไม่ทราบสาเหตุกระสุนปืนถูกเข้าที่บริเวณท้องและลำตัวได้รับบาดเจ็บดังกล่าว ท่ามกลางความตกใจของเพื่อทหารที่อยู่ในฐาน ก่อนที่จะหลบหนีออกจากฐานพร้อมปืนไปด้วย ส่วนสาเหตุยังคงต้องสอบสวนข้อเท็จจริง

    อ่านข่าว :

    พยาบาลสาวเสียชีวิตคาห้องพักเกาะสมุย รถเก๋งหายไป ตร.เร่งสอบ

    จนท.ตรวจที่เกิดเหตุยิง อส.กลางชุมชน อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี

    ยิง อส.ชคต.ดอนทราย ปัตตานี ขณะออกกำลังกาย เสียชีวิต 2 เจ็บ 2

  • "ณฐพร" อ้างหลักฐานดีเอสไอ-กกต.ยื่นยุบ "ภูมิใจไทย"
    21 พฤษภาคม 2568

    วันนี้ (21 พ.ค.2568) นายณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อพิจารณายุบ "พรรคภูมิใจไทย"

    นายณฐพร ระบุว่า การยื่นยุบพรรคภูมิใจไทยตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 92 (1) มีการกระทำอันเป็นการล้มล้างการปกครอง หรือได้มาซึ่งอำนาจการปกครองไม่เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย โดยเมื่อวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้ยื่นต่ออัยการสูงสุดไปแล้ว และมาตรา 92 (2) เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย​ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแล้ว

    วันนี้มายื่นต่อ​ กกต.อีกทางหนึ่ง​ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่โดยตรง​ที่จะส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการกระทำของพรรคภูมิใจไทย​ เข้าองค์ประกอบความผิดตามที่ตนยื่นหรือไม่

    นายณฐพร โตประยูร

    นายณฐพร กล่าวอีกว่า เรื่องพยานหลักฐาน โดยหลักแล้วการยื่นยุบพรรคต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเรื่องการล้มล้างการปกครองก่อน แต่คดีนี้พยานหลักฐานเป็นข้อเท็จจริง เป็นเชิงประจักษ์ ซึ่งมีการตรวจสอบจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และ กกต.ว่า มีการกระทำฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจนว่าการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ไม่เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย

    และเป็นเรื่องการได้มาซึ่งอำนาจการปกครองที่มิชอบและเป็นปฏิปักษ์​ เพราะหากได้​ สว.ที่มาจากฝ่ายการเมือง องค์กรอิสระ​ ก็จะได้คนที่ไม่ถูกต้อง ไม่สามารถทำหน้าที่ได้และทำให้เกิดความเสื่อมเสีย เสียหายต่อระบอบประชาธิปไตย​

    นายณฐพร ยังกล่าวถึงกรณีที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล เตรียมฟ้องคนที่ทำให้พรรคภูมิใจไทยเสียหาย ว่า นายอนุทิน เป็นรองนายกรัฐมนตรี ควรรับฟังความเห็นและข้อกล่าวหาของประชาชน ไม่ใช่มาฟ้องร้องเมื่อถูกตรวจสอบ

    หากจะฟ้องก็ควรรอให้คดียุติก่อน ถ้าเป็นเท็จก็ควรดำเนินการ ไม่ใช่ว่าเขาจะตรวจสอบก็ไปฟ้องเขา

    พร้อมยืนยันว่า​ ตนไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองใดๆ ไม่สนิทกับนายอนุทิน นายเนวิน ชิดชอบ รวมถึงนายทักษิณ ชินวัตร

    อ่านข่าว

    "สว.สำรอง" ยื่นคำร้อง กกต.จี้ทบทวนสั่ง​ "แสวง" ยุติปฏิบัติหน้าที่

    เคาะกรอบถกงบฯ 69 วันที่ 28-31 พ.ค. รวม 41 ชม. ฝ่ายละ 20 ชม.

    ลุ้น 22 พ.ค.ศาลนัดชี้ขาด "ยิ่งลักษณ์" ชดใช้คดีจำนำข้าว 3.5 หมื่นล้าน

  • มารยาทหรืออคติ ? ดรามาที่ไม่มีวันจบ พูด "ภาษาอื่น" ในที่สาธารณะ
    21 พฤษภาคม 2568

    ในสังคมพหุวัฒนธรรม การพูดภาษาต่างชาติในที่สาธารณะ เช่น ภาษาสเปนในสหรัฐฯ หรือภาษาโปแลนด์ในอังกฤษ มักถูกมองว่าเป็นทั้งสัญลักษณ์ของความหลากหลายและจุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง Emily Post นักเขียนด้านมารยาทชื่อดังของสหรัฐฯ ผู้ล่วงลับไปแล้ว ระบุว่า

    การพูดภาษาที่คนรอบข้างไม่เข้าใจในที่สาธารณะอาจสร้างกำแพงทางสังคม ทำให้คนรู้สึกถูกแยกออกจากบทสนทนา แม้ผู้พูดไม่มีเจตนาร้าย

    ตามทฤษฎีบรรทัดฐานทางสังคม (Social Norms) ของ Robert Cialdini การกระทำที่ขัดต่อความคาดหวังของกลุ่ม เช่น การพูดภาษาที่คนอื่นไม่เข้าใจ อาจถูกตีความว่าไม่สุภาพ เพราะสร้างความรู้สึกไม่ไว้วางใจหรือระแวง

    Janet Nixon ที่ปรึกษาด้านมารยาทในนิวยอร์ก อธิบายว่า เมื่อผู้ฟังไม่เข้าใจภาษาที่ผู้อื่นพูด สมองมักตีความว่าเป็นภัยคุกคาม หรือสงสัยว่าถูกพูดถึงในแง่ลบ ความรู้สึกนี้จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นในบริบทที่ตึงเครียด เช่น ในชุมชนที่มีความหลากหลายด้านภาษาสูง แต่ขาดความเข้าใจข้ามวัฒนธรรม สถิติจาก Pew Research Center ในปี 2563 ระบุว่า สหรัฐฯ มีผู้อพยพกว่า 40 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 13.7 ของประชากร ทำให้การใช้ภาษาต่างชาติในที่สาธารณะกลายเป็นเรื่องปกติ แต่ก็เพิ่มโอกาสของความเข้าใจผิด

    ภาพประกอบข่าว

    กรณีศึกษา "พูดคนละภาษา" ในต่างประเทศ

    ในปี 2561 ที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในแมนฮัตตัน สหรัฐฯ ลูกค้า 2 คนพูดภาษาสเปนขณะสั่งอาหาร แต่ถูก Aaron Schlossberg ทนายความชาวอเมริกัน ตะโกนต่อว่าด้วยถ้อยคำเหยียดเชื้อชาติ "ที่นี่คืออเมริกา พวกคุณต้องพูดภาษาอังกฤษ!" เหตุการณ์นี้ถูกบันทึกวิดีโอและแพร่กระจายในโซเชียลมีเดีย The New York Times รายงานในเวลาต่อมาว่า ทนายความผู้ตะโกนเสียงดังลั่นร้านอาหารนั้น ถูกวิจารณ์อย่างหนักและถูกระงับใบอนุญาตทนายความชั่วคราว  

    ในเดือน ต.ค.2562 ผู้โดยสารชาวโปแลนด์ 2 คน บนรถไฟในลอนดอน ถูกผู้โดยสารชาวอังกฤษตำหนิที่พูดภาษาโปแลนด์กันเอง ชาวอังกฤษผู้ตำหนิอ้างว่ารู้สึก "ไม่สบายใจ" เพราะคิดว่าถูกนินทา The Guardian รายงานว่าเหตุการณ์นี้จุดประเด็นถกเถียงในสื่ออังกฤษเกี่ยวกับเสรีภาพในการใช้ภาษาและมารยาทในที่สาธารณะ บางคนมองว่าเป็นการแสดงอคติต่อผู้อพยพจากยุโรปตะวันออกหลัง Brexit 

    มี.ค.2565 ที่ร้านกาแฟในมอนทรีออล ประเทศแคนาดา พนักงานที่พูดภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษ ถูกกลุ่มลูกค้าต่อว่าที่ใช้ภาษาอังกฤษกับลูกค้าชาวต่างชาติ ลูกค้าบางคนอ้างว่าในรัฐควิเบก ควรใช้ภาษาฝรั่งเศสเท่านั้น เพื่อรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่น CBC News รายงานว่าเหตุการณ์นี้จุดถกเถียงเกี่ยวกับมารยาทในพื้นที่ที่มี 2 ภาษาอย่างเป็นทางการ 

    ภาพประกอบข่าว

    แต่เหรียญย่อมมี 2 ด้าน

    ฝ่ายที่เห็นว่าไม่ควรพูดภาษาอื่นในที่สาธารณะ อ้างว่าการใช้ภาษาที่คนรอบข้างไม่เข้าใจอาจสร้างความรู้สึกไม่ครอบคลุม โดยเฉพาะในบริบทที่ต้องการความร่วมมือ เช่น การประชุมงานหรือการให้บริการลูกค้า เว็บไซต์ Collage ซึ่งให้คำแนะนำด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล ระบุว่า ในที่ทำงาน การพูดภาษาต่างชาติอาจทำให้เพื่อนร่วมงานรู้สึกถูกแยกออกจากวงสนทนา ส่งผลต่อความสัมพันธ์ในทีม นอกจากนี้ ในบริบทสาธารณะ เช่น ร้านอาหาร การพูดภาษาอื่นอาจถูกมองว่าไม่ให้เกียรติพนักงานหรือลูกค้าคนอื่นที่ไม่เข้าใจ

    ส่วนฝ่ายที่สนับสนุนการใช้ภาษาต่างชาติ ยืนยันว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคลและส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม The Equal Employment Opportunity Commission (EEOC) ของสหรัฐฯ ระบุว่า การห้ามพูดภาษาอื่นในที่ทำงานโดยไม่มีเหตุผลทางธุรกิจที่ชัดเจน อาจละเมิดกฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติ Alice Foucart นักวิจัยด้านจิตวิทยาการสื่อสารจาก Ghent University กล่าวว่า "ภาษาคือส่วนหนึ่งของตัวตน การห้ามใช้ภาษาแม่ในที่สาธารณะอาจทำให้ผู้อพยพหรือชนกลุ่มน้อยรู้สึกสูญเสียอัตลักษณ์" นอกจากนี้ ในบริบทส่วนตัว เช่น การคุยกับเพื่อนหรือครอบครัว การใช้ภาษาต่างชาติไม่ควรถูกมองว่าผิด

    ภาพประกอบข่าว

    มองย้อน อะไรคือสาเหตุแห่งความขัดแย้ง

    • ความลำเอียงทางภาษา (Linguistic Bias)
      งานวิจัยจาก Horizon Magazine (2019) ชี้ว่า คนมักมีอคติต่อภาษาที่ไม่คุ้นเคย เพราะสมองมนุษย์มีแนวโน้มตีความสิ่งที่ไม่เข้าใจว่าเป็นภัยคุกคาม โดยเฉพาะในสังคมที่มีความตึงเครียดทางเชื้อชาติหรือการเมือง
    • บริบททางวัฒนธรรม
      ในประเทศที่เน้นภาษาเดียว เช่น สหรัฐฯ ที่ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษ หรือในรัฐควิเบก ที่คนส่วนใหญ่ใช้ภาษาฝรั่งเศส การใช้ภาษาอื่นอาจถูกมองว่าเป็นการท้าทายวัฒนธรรมหลัก ในขณะที่ในสังคมพหุภาษา เช่น สวิตเซอร์แลนด์ การใช้หลายภาษาเป็นเรื่องปกติ
    • การขาดความฉลาดทางวัฒนธรรม (Cultural Intelligence)
      Dr. Foucart ระบุว่า ความเข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรมยังขาดแคลนในหลายสังคม ทำให้เกิดการตีความเจตนาของผู้พูดผิดพลาด

    ภาพประกอบข่าว

    มองไปข้างหน้า ลองมีมารยาทเพื่อลดความขัดแย้ง

    • สังเกตบริบทของบทสนทนา
      กลุ่มที่มีภาษากลาง เช่น ภาษาอังกฤษในสหรัฐฯ ควรใช้ภาษานั้น ๆ เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วม แต่ในบทสนทนาส่วนตัว เช่น คุยกับเพื่อน การใช้ภาษาต่างชาติไม่ถือว่าผิด
    • ปรับตัวตามท้องถิ่น
      นักท่องเที่ยวควรเรียนรู้คำทักทายพื้นฐานในภาษาท้องถิ่นเพื่อแสดงความเคารพ เช่น การพูด "Bonjour" ในฝรั่งเศส หรือ "Hello" ในสหรัฐฯ 
    • สื่อสารอย่างโปร่งใส
      หากต้องใช้ภาษาต่างชาติในที่สาธารณะ การอธิบายสั้น ๆ ถึงเหตุผล เช่น ขอโทษนะ ฉันกำลังคุยกับแม่ที่พูดเฉพาะภาษานี้ อาจช่วยลดความเข้าใจผิด
    • สร้างความเข้าใจในที่ทำงาน
      นายจ้างควรจัดอบรมด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพื่อให้พนักงานเข้าใจบริบทของการใช้ภาษาต่างชาติ

    ภาพประกอบข่าว

    ด้วยการย้ายถิ่นและการทำงานข้ามชาติที่เพิ่มขึ้น การพูดภาษาต่างชาติในที่สาธารณะจะยังคงเป็นประเด็นถกเถียง นักมารยามสหรัฐฯ เน้นว่า การส่งเสริม "ความฉลาดทางวัฒนธรรม" ผ่านการศึกษาและการรณรงค์จะช่วยลดความขัดแย้ง โดยเฉพาะในสังคมที่มีความหลากหลายสูง เช่น สหรัฐฯ ที่มีผู้อพยพจากกว่า 200 ประเทศ นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยี เช่น แอปพลิเคชันแปลภาษา อาจช่วยเชื่อมช่องว่างระหว่างภาษาและลดความรู้สึกไม่สบายใจ

    ที่สุดแล้ว การพูดภาษาอื่นในที่สาธารณะ ไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด แต่ผู้พูดต้องคำนึงถึงบริบทและความรู้สึกของคนรอบข้าง การสร้างสมดุลระหว่างสิทธิส่วนบุคคลและความเคารพต่อผู้อื่น จะเป็น "กุญแจสำคัญ" ในการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม

    ที่มา : The New York Times , The Guardian, CBC News, Pew Research Center, EEOC (2022). "Language Discrimination in the Workplace."

    อ่านข่าวอื่น : 

    ไม่ใช่แค่หนึ่ง นักวิจัยขึ้น-ลง 15 ครั้ง สำรวจพบ "เฟิร์นชนิดใหม่" ภูกระดึง

    "สว.สำรอง" ยื่นคำร้อง กกต.จี้ทบทวนสั่ง​ "แสวง" ยุติปฏิบัติหน้าที่ การเมือง 21 พ.ค. 68 14:23 112

    “เจ๊แมว-กุสุมาลวตี” สว.สำรอง”ตัวตึง”ท้าชนแหลก "อนุทิน-ภูมิใจไทย"