- ครู กศน.ตำบล
- ข่าวกิจกรรม กศน.ตำบล
- จำนวนการเข้าชม: 335
นางสาวสายชล แตงไทย
ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลเขากะลา
เบอร์โทร 056-267-523
ประกาศสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดนครสวรรค์
เรื่อง ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ประกวดราคาซื้อรถส่งเสริมการอ่านเคลื่อนที่
สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดนครสวรรค์ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
ประกาศสำนักงาน สกร.ประจำจังหวัดนครสวรรค์
เรื่อง ประกาศผลการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป
ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล ตำแหน่ง ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน และตำแหน่ง นิติกร
ประกาศสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดนครสวรรค์
เรื่อง ประกวดราคาซื้อรถส่งเสริมการอ่านเคลื่อนที่ สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดนครสวรรค์
ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
สอบวัดความรู้ระดับชาติ (n-net) ในวันที่ 7 มีนาคม 2564 ณ โรงเรียนพยุหะวิทยาคม
กศน.ตำบลเขากะลา จัดสอนอาชีพการทำขนมทองม้วนสด ให้กับประชาชนตำบลเขากะลา อำเภอพยุหะคีรี
หน้าที่ 1 จาก 2
วันนี้ (3 เม.ย.2568) หลายประเทศกำลังกังวลกับสงครามการค้าที่จะรุนแรงขึ้น หลัง โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ประกาศขึ้นกำแพงภาษีกับทุกประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่ทำการค้าเกินดุลกับสหรัฐ หนึ่งในนั้นคือประเทศไทยที่เรียกเก็บภาษีสูงสุด 36% ปัจจุบันภาคการส่งออกของไทย กำลังประเมินความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้
โดยหลังโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา หลังโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประกาศขึ้นภาษีนำเข้ากับประเทศไทย 36% และจากประเทศอื่นๆ อีกประมาณ 60 ประเทศ มีผลบังคับใช้วันที่ 9 เม.ย.2568
โดยประเทศจีนรวมแล้วสูงสุดมากกว่า 54% ขณะที่ประเทศไทยติดอยู่ในลำดับต้นๆ ของอัตราภาษีสูงสุดที่ 36% ใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สำหรับมาตรการดังกล่าวหลายฝ่ายมองว่า จะเป็นการขยายสงครามการค้าที่สร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดโลก รวมถึงสร้างความสับสนให้กับประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ
ขณะที่สถานการณ์การส่งออกของไทย แม้ว่าในช่วง 2 เดือนแรกปี 2568 จะเติบโตที่ 13% แต่ภาคการผลิตของไทยกลับทรงตัวและไม่มีการเติบโต
นายธนากร เกษตรสุวรรณ กรรมการสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเข้าแห่งประเทศไทย จึงเสนอแนวทางการรับมือกับนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐ ด้วยการปฏิรูปโครงสร้างการผลิต และแนวปฏิบัติทางด้านการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการค้าไทย ทั้งนี้ รัฐบาลควรเจรจากับสหรัฐโดยด่วน
ด้านนายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า การรับมือผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนนโยบายทางภาษีของสหรัฐฯ ปัจจุบันรัฐบาลมีแผนไว้อยู่แล้ว โดยนโยบายเร่งด่วนจะเป็นการช่วยเหลือภาคการส่งออก โดยเฉพาะ SME ซึ่งจะมีค่าชดเชยในเบื้องต้น ส่วนระยะยาวจะต้องเร่งเจรจา FTA กับประเทศต่างๆ ที่กำลังมองหาตลาดใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ EU ที่ไทยอยู่ระหว่างเจรจาน่าจะเห็นผลเร็วมากขึ้น เพราะทุกประเทศก็กำลังมองตลาดการค้าใหม่ๆ เพื่อรับมือกับผลกระทบจากนโยบายภาษีของสหรัฐเช่นกัน
ขณะที่ในมิติการเจรจาการค้ากับสหรัฐ รัฐบาลได้หารือกับภาคเอกชนและเตรียมข้อเสนอไว้หมดแล้ว ทั้งด้านการค้า การลงทุน โดยจะคำนึงและให้ความสำคัญถึงผลกระทบของเกษตรกรไทยเป็นหลัก ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอการตอบรับเพื่อเข้าร่วมเจรจา
นอกจากนี้ ยังความเห็นจาก นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) มีมุมมองต่อนโยบายสหรัฐกับการเรียกเก็บภาษีจากไทย 36% โดยงานแรกของรัฐบาลคือต้องไปหาต้นตอ ว่าภาษีไทยที่เรียกเก็บกับสหรัฐ 72% มาจากไหน เพราะสหรัฐคิดว่าไทยเก็บภาษีสินค้าสหรัฐ 72% ทั้งๆ ที่ค่าเฉลี่ยภาษีนำเข้าแค่ประมาณ 10% ขณะเดียวกันหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ยังเสนอมุมมอง 3 ทางเลือก ได้แก่ "สู้" แบบ แคนาดา ยุโรป หรือจีน "หมอบ" คือเจรจาหาทางลงที่สหรัฐฯ พอใจเช่นปรับลดภาษี หรือยอมเปิดตลาดนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ "ทน" จ่ายอัตราภาษีแบบนี้ หากเราหาทางออกไม่ได้
ขณะที่มุมมองของ บริษัท หลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด มองว่า ตามการวิเคราะห์แบบละเอียดอ่อน อัตราภาษีที่ 36% อาจทำให้เศรษฐกิจไทยหดตัวลง -3.6% และการส่งออกจะหดตัวประมาณ -7% หากไม่มีการเจรจาต่อรองและการลดดอกเบี้ยจากแบงก์ชาติ เศรษฐกิจไทยอาจหดตัว -1.1% ในปีนี้ ลดลงจากการคาดการณ์พื้นฐานที่ 2.5%
อ่านข่าว :
กลยุทธ์กำแพงภาษี กับความต้องการของ "ทรัมป์"
วันนี้ (3 เม.ย.2568) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 13.56 น. เครื่องจักรหนักกลับมาทำงานอีกครั้ง โดยเริ่มทำการเจาะแผ่นคอนกรีตขนาดใหญ่ของอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่พังถล่มลงมา บริเวณโซน A และโซน D ภายหลังเจ้าหน้าที่ได้หยุดการทำงานของเครื่องจักรกว่า 12 ชั่วโมง นับตั้งแต่เมื่อช่วงกลางดึกคืนที่ผ่านมา (2 เม.ย.) เพื่อเปิดทางให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยเดินเท้าเข้าสำรวจ และค้นหาผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากอาคาร หลังจากสแกนตรวจพบ และได้ยินสัญญาณขอความช่วยเหลือ
ขณะนี้เจ้าหน้าที่ยังค้นหาผู้ที่ติดอยู่ภายใต้ซากอาคาร ซึ่งมีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ได้นำถังออกซิเจน 128 ถัง เข้าไปใช้ในภารกิจครั้งนี้ เพื่อใช้สำหรับกระบวนการตัดเหล็กภายในอาคารอีกด้วย และแม้เจ้าหน้าที่จะมีแบบแปลนของอาคารที่ระบุว่าจำนวนผู้ที่ทำงานในแต่ละชั้น แต่ก็ไม่สามารถจำแนกได้ เนื่องจากอาคารที่พังถล่มลงมามีลักษณะเป็นแพนเค้ก ทำให้เจ้าหน้าที่ยังต้องใช้ความระมัดระวังในการค้นหา และประเมินสถานการณ์ตามหน้างาน
สำหรับตัวเลขผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตของศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ ในช่วงเวลา 13.00 น. มียอดผู้เสียชีวิต 15 คน เป็นชาย 8 คน และหญิง 7 คน บาดเจ็บ 9 คน และผู้สูญหายอยู่ระหว่างติดตามค้นหา 72 คน
อ่านข่าว : หวังพบผู้รอด! “ชัชชาติ” ระดม จนท.กู้ภัย ขุดโพรงจุดพบสัญญาณชีพ
จนท.เร่งเจาะเข้าจุด “เสียงใต้ตึก” ผ่านคอนกรีตหลายชั้นแต่ยังไม่พบ
เข้าสู่วันที่ 7 ตึกถล่ม เร่งค้นหาผู้รอดชีวิต หลังพบสัญญาณขอความช่วยเหลือ
วันนี้ (3 เม.ย.2568) กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมทรัพยากรธรณี รายงานเมื่อเวลา 13.09 น.แผ่นดินไหวขนาด 3 ความลึก 1 กม.ในพื้นที่ ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
ทั้งนี้พบว่าหลังจากแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 8.2 ที่เมืองมัณฑะเลย์ เมียนมาเมื่อ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา สร้างความเสียหายในพื้นที่เมืองเมียนมา และของไทยมีตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างพังถล่มและยังอยู่ในระหว่างการค้นหาผู้สูญหายกว่า 70 คน
อ่านข่าว อ้อมกอดจาก K9 ฮีโร่ 4 ขากู้ภัยสู่ภารกิจฮีลใจ
กรมอุตุนิยมรายงานว่ามีอาฟเตอร์ช็อกทั้งหมด 290 เหตุการณ์ (ข้อมูลถึงเวลา 10.00 น.วันที่ 3 เม.ย.)
นอกจากนี้ยังพบว่าเกิดแผ่นดินไหวทั้งในประเทศไทยตามมาหลายครั้ง โดยเมื่อวันที่ 29 มี.ค.ที่ผ่านมาเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ เกิดแผ่นดินไหว ต.เวียงเหนือ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ขนาด 4.1 ที่ระดับความลึก 5 กิโลเมตร สาเหตุเกิดจากการเลื่อนตัวของกลุ่มรอยเลื่อนเวียงแหง ดังนี้
ทั้งนี้แผ่นดินไหวใน จ.แม่ฮ่องสอน สาเหตุเกิดจากการเลื่อนตัวของกลุ่มรอยเลื่อนเวียงแหง ที่มีทิศทางการวางตัวตามแนวเหนือ-ใต้ มีการเลื่อนตัวแบบรอยเลื่อนปกติ (Normal fault)
อ่านข่าว
คืบหน้า เหตุอาคาร สตง.ถล่ม สอบปากคำญาติ-พยานแล้ว 50 ปาก
หวังพบผู้รอด! “ชัชชาติ” ระดม จนท.กู้ภัย ขุดโพรงจุดพบสัญญาณชีพ
วันนี้ (3 เม.ย.2568) ทีมนโยบายเศรษฐกิจพรรคประชาชน น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรค พร้อมด้วย นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล สส.บัญชีรายชื่อ และนายวีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร รองหัวหน้าพรรค ร่วมแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนต่อกรณีนโยบายกำแพงภาษีของสหรัฐอเมริกา
น.ส.ศิริกัญญากล่าวถึงนโยบายกำแพงภาษีของสหรัฐฯ ที่ประกาศล่าสุด เมื่อวันที่ 2 เม.ย.2568 ว่า จะตอบโต้ไทยด้วยการเพิ่มภาษีสินค้านำเข้าจากไทยอีก 37 % เป้าประสงค์ในครั้งนี้ต่างจากครั้งก่อนหน้าที่เพียงต้องการลดการขาดดุล แต่ครั้งนี้ต้องการรายได้เข้ารัฐ เพื่อทดแทนภาษีเงินได้ที่กำลังจะประกาศลด และต้องการให้นักลงทุนย้ายฐานกลับสหรัฐอเมริกา
สำหรับผลกระทบต่อจีดีพีไทยในปี 2568 ศิริกัญญาเห็นว่า ขึ้นอยู่กับผลของการเจรจา จึงขอให้รัฐบาลใช้การเจรจาอย่างเร่งด่วนและรัดกุม เพราะหากไม่ทำอะไรเลยหรือการเจรจาไม่เป็นผล จะกระทบกับมูลค่าส่งออกรวมมากกว่า 1 % ทำให้จีดีพีอาจหดตัวมากกว่า 1 % จนต่ำกว่าเป้า 2 % ได้
น.ส.ศิริกัญญากล่าวว่า หากสามารถเจรจาลดภาษีลงมาได้เหลือ 25 % จีดีพีจะลดลง 0.8 % แต่ถ้าสามารถเจรจาลดภาษีลงมาได้ที่ขั้นต่ำสุดที่ทรัมป์ประกาศ 10 % จีดีพีจะลดลงราว 0.3 % สำหรับกลุ่มสินค้าคาดว่า สินค้าที่จะได้รับผลกระทบหนัก คือ อุปกรณ์สื่อสาร ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ยางล้อ เครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้า อย่างไรก็ดี มิใช่เพียงภาคส่งออกเท่านั้น แต่การลงทุนของบริษัทต่าง ๆ ก็จะหยุดชะงักด้วย เพื่อรอให้ฝุ่นหายตลบถึงจะตัดสินใจลงทุนกันครั้งใหม่
น.ส.ศิริกัญญา ยังเสนอต่อไปยังรัฐบาล และคณะทำงานผู้ทำหน้าที่เจรจาที่เพิ่งตั้งขึ้นว่า ต้องเรียกร้องให้มีการทบทวน โดยนำตัวเลขอื่น ๆ ที่สหรัฐฯ ยังไม่นำมาคำนวณ เช่น ดุลบริการ ที่สหรัฐฯ ได้ดุลกับไทยอยู่แล้ว
ส่วนนายวีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร รองหัวหน้าพรรคประชาชน เสนอให้แยกผลกระทบออกเป็น 2 ส่วน คือ ผลทางตรง ได้แก่ กลุ่มสินค้าที่พึ่งตลาดสหรัฐฯ เป็นหลัก คือ คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยางรถยนต์ กลุ่มนี้จะได้รับผลรุนแรงรวดเร็ว เพราะเราส่งออกไปสหรัฐฯ รวมแล้ว 55,000 ล้านเหรียญ คิดเป็น 19 % ของการส่งออกทั้งหมด และเกินดุลกับสหรัฐฯ ถึง 45,600 ล้านเหรียญ
แม้การขยายตัวของการส่งออกช่วงไตรมาสแรกปีนี้ค่อนข้างดี เพราะบริษัทส่วนใหญ่เร่งส่งออกสินค้าไปสต็อกไว้ที่สหรัฐฯ ก่อน หนีความไม่แน่นอนของนโยบายกำแพงภาษี ของจริงจะเกิดขึ้นนับจากวันนี้เป็นต้นไป
ผลกระทบอีกด้านที่วีระยุทธเห็นว่าอย่าละเลย คือ ผลกระทบทางอ้อม 3 ชั้น ที่ไม่ควรมองข้าม ชั้นที่ 1 สินค้าที่ส่งไปยังประเทศที่ถูกสหรัฐฯ ขึ้นภาษี เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ที่ไทยส่งออกไปเม็กซิโก เพื่อประกอบส่งเข้าสหรัฐฯ อีกทีก็มีมูลค่าหลักหมื่นล้านบาท ชั้นที่สอง การแข่งขันรุนแรงขึ้นในตลาดประเทศอื่น ๆ จากการที่ผู้ส่งออกหนีจากตลาดสหรัฐฯ เช่น ในตลาดประเทศออสเตรเลีย ก็มีญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน เข้ามาชิงส่วนแบ่งของไทย ชั้นที่สาม คือ สินค้าขั้นกลางอย่างยางพาราและเม็ดพลาสติก ที่ไทยส่งออกไปจีนเพื่อเข้าตลาดสหรัฐฯ ยอดตรงนี้ก็จะตกลงไปด้วย
นายวีระยุทธ เสนอแนวทางการรับมือเฉพาะหน้าว่า ไทยต้องเจรจาอย่างมียุทธศาสตร์ “อย่าให้ทีเดียวหมด เก็บไพ่ในมือไว้ปล่อยทีละใบ” ตัวอย่างไพ่ใบสำคัญที่ไทยอาจนำมาเป็นกลยุทธ์ต่อรองได้ คือ มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers) ที่ไทยมีอยู่ 166 มาตรการ ต้องเอามาจัดลำดับความสำคัญ ว่าแต่ละตัวหากเปิดให้สหรัฐฯ แล้วจะส่งผลต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภคไทยอย่างไร เลือกทำเรื่องที่ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ก่อน เช่น เพิ่มสิทธิแรงงาน จากนั้นเปิดรับการนำเข้าแบบ “มียุทธศาสตร์” คือ เลือกสินค้าที่เป็นส่วนหนึ่งของซัพพลาย
นายวีระยุทธกล่าวว่า รัฐบาลต้องเปิดข้อมูลผู้ได้ผู้เสียจากของที่จะเอาไปต่อรอง อย่ามุบมิบเจรจา อย่างที่เคยเกิดขึ้นกับการเปิดเสรีกับจีนที่ผู้เสียประโยชน์ไม่รู้ตัวและไม่ได้รับความช่วยเหลือให้เตรียมพร้อมรับมือ และเหนืออื่นใด คือต้องเริ่มจินตนาการถึง “โลกที่ไม่มีอเมริกาและจีน” ว่าไทยจะปรับซัพพลายเชนแต่ละสินค้าอย่างไร เพื่อรับมือภาวะสงครามการค้าที่จะหนักขึ้นเรื่อย ๆ
นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล สส.บัญชีรายชื่อ แนะนำให้พร้อมรับมือการไหลทะลักเข้ามาของสินค้าจีนที่จะรุนแรงขึ้นอีก หลายเรื่องรัฐบาลพูดมานานอยู่ในแผนที่จะทำ แต่ยังไม่มีกำหนดเสร็จชัดเจน เช่น การกำกับแพลตฟอร์ม การกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ ต้องจดทะเบียนนิติบุคคลในไทย เพื่อให้ภาครัฐสามารถกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ การให้ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มออนไลน์มีส่วนรับผิดชอบหากปล่อยให้มีการขายสินค้าไม่ได้มาตรฐานบนแพลตฟอร์ม
การเพิ่มจำนวนมาตรฐานบังคับเพื่อขยายความคุ้มครองประเภทสินค้าให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงและเจ้าหน้าที่สามารถยึดอายัดได้ สิทธิพลกล่าวว่า เรื่องเหล่านี้รัฐบาลพูดมาตั้งแต่กันยายนปี 2567 แต่ยังไม่มีการออกมาตรการมาบังคับใช้ เช่น เรื่องการกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ ต้องจดทะเบียนนิติบุคคลในไทย เพื่อให้ภาครัฐสามารถกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำถามคือเรื่องนี้เมื่อไหร่จะเสร็จ ตราบใดที่ยังไม่เสร็จ รัฐก็ไม่มีประสิทธิภาพในการกำกับควบคุมมาตรฐาน คุณภาพสินค้า การตรวจสอบภาษี ตลอดจนการลงโทษหากผู้ประกอบการต่างชาติกระทำผิด
เรื่องการอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการเข้าถึงการดำเนินมาตรการตอบโต้ทางการค้า วันนี้มีเรื่องร้องเรียนจากผู้ประกอบการจำนวนมาก ว่าถูกสินค้าจากต่างชาติทุ่มตลาด หลีกเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด กระทั่งได้รับการสนับสนุนอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งภายใต้กระบวนการปัจจุบัน ภาคเอกชน ผู้ประกอบการประสบความยากลำบากในการรวบรวมหลักฐาน เพื่อดำเนินการเรื่องเหล่านี้ด้วยตนเอง รัฐจะสามารถช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกมากกว่านี้ได้อย่างไร เช่นมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด การตอบโต้การหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน
ส่วนในเรื่องมาตรฐานบังคับ ผ่านมาครึ่งปี ที่อยู่ในลิสต์ว่าจะออกมาตรฐานก็มีจำนวนเท่าเดิม จำนวนที่เพิ่มและมีผลบังคับใช้แล้วมีเพียง 1-2 มาตรฐาน ความเร็วในอัตรานี้ ไม่เพียงพอต่อการกำกับสินค้าต่างชาติ นอกจากนี้ยังควรเร่งรัด คือการตรวจจับที่ด่านศุลกากรให้มีความเข้มงวดมากขึ้น เพราะเป็นด่านแรกของการที่สินค้าเหล่านี้เข้ามาในประเทศ แม้รัฐบาลจะบอกว่าปัจจุบันตรวจสอบหรือสกรีนเพิ่มขึ้นแล้ว บางช่องทางถึงขนาดบอกสกรีน 100% แต่การที่สินค้าเหล่านี้ยังรอด แสดงให้เห็นว่าการตรวจยังมีช่องโหว่
ทีมเศรษฐกิจพรรคประชาชนปิดท้ายว่าจะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด พร้อมเสนอญัตติด่วนเพื่อเร่งรัดการแก้ปัญหา รวมถึงใช้กลไกกรรมาธิการและการสื่อสารสาธารณะในการเสนอแนะรัฐบาล เพราะสงครามการค้ามีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้นอีกในอนาคต
อ่านข่าว : กลยุทธ์กำแพงภาษี กับความต้องการของ "ทรัมป์"
"ชาติเอเชีย" งัดกลยุทธ์ฝ่าวิกฤตกำแพงภาษีสหรัฐฯ
ส่งออก "ข้าวหอมมะลิไทย" สะเทือน สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าไทย 36%