- นางจารุพิมพ์ พุ่มศรี
- ภูมิปัญญา/ปราชญ์ชาวบ้าน
- จำนวนการเข้าชม: 268
คุณสนธยา เปรมสมบัติ บ้านเลขที่ 15 หมู่ที่ 2 ตำบลบางม่วง อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เริ่มจากเกิดมาในครอบครัวที่ทำเกษตร แม้คุณพ่อจะรับราชการ แต่ก็ทำเกษตรปลูกผลไม้ ปลูกดอกไม้ ให้คุณแม่ไปขายในตลาด เราโตมาจากการช่วยครอบครัวเก็บผลผลิตตั้งแต่เด็กก่อนไปโรงเรียน จนเรียนจบปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ทำงานต่างจังหวัดอยู่ 3 ปี ก็เริ่มเบื่อ เนื่องจากเราเป็นคนไม่ชอบความวุ่นวาย คิดถึงบ้านคิดถึงพ่อแม่ จึงได้ลาออกจากงานได้มาอยู่ดูแลพ่อแม่ ได้ทำการศึกษาทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวปรัชญาของในหลวงรัชกาลที่ 9 บวกกับเราแพ้กลิ่นยาฆ่าแมลงที่เกษตรกรข้างเคียงใช้กัน เราจึงคิดและลงมือทำเองทุกอย่างโดยเริ่มทำในครัวเรือนของตัวเอง ปลูกผักกินเอง ทำน้ำยาอเนกประสงค์ใช้เอง ทำน้ำหมักเองเพื่อไว้ใช้ในครัวเรือน จัดการคัดแยกขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะรียูส ทำให้คนในครอบครัวเห็นถึงประโยชน์ในการทำแบบนี้ พอได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน เราก็คิดว่าเราอยากทำโครงการเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม อยากให้ประชาชนเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ให้คิดแก้จากสาเหตุ จากตัวเอง แล้วถึงแก้ที่ส่วนรวม เราทำโครงการการหมักปุ๋ยกอง , โครงการทำดินปลูกอินทรีย์ , โครงการคัดแยกขยะในหมู่บ้าน , และโครงการปุ๋ยน้ำหมักสูตรต่าง ๆ เช่น น้ำหมักไล่แมลง, ฮอร์โมนพืชต่างๆ ,ยูเรียน้ำ , จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง, จุลินทรีย์หน่อกล้วย จำหน่าย ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรลดต้นทุนการผลิต ,เพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ,เพื่อสร้างรายได้ในครัวเรือน ,นำขยะอินทรีย์ในครัวเรือนแต่ละวันมาทำให้เกิดประโยชน์ , ลดปัญหามลภาวะเป็นพิษ เริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับการสนับในหน่วยงานราชการ เช่น สำนักงานเกษตร , กรมพัฒนาที่ดิน , องค์การบริหารส่วนตำบลบางม่วง , สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ และ กศน.ตำบลบางม่วง จนได้รับโอกาสเป็น
1. ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ตำบลบางม่วง
2. หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
3. ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนบางม่วง
จุดเด่นของภูมิปัญญา
ผลิตภัณฑ์เป็นวัสดุที่หาง่ายและมีในหมู่บ้าน สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์และลดต้นทุนการผลิตจากการจัดซื้อวัสดุในการทำกิจกรรม มีผลิตภัณฑ์หลายอย่างที่ใช้ในกระบวนการทำเกษตรอินทรีย์ และสามารถต่อยอดไปเป็นผักปลอดสาร ทำให้มีรายได้จากการขายผักปลอดสารพิษอีกทาง
การจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกิดจากการเกษตรกรที่มาเข้าโครงการฯ ได้นำไปใช้เห็นผลและบอกต่อ จึงเกิดการใช้แล้วกลับมาใช้อีก นอกจากนี้ยังมีช่องทางจำหน่ายจากเฟสบุ๊ค มีการสั่งเข้ามาต่อเนื่อง