กศน.ตำบลเนินมะกอก หมู่ 12 บ้านสายหกพัฒนา ต.เนินมะกอก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 60130 056-431504 094-0014936 08.30 น. - 16.30 น.
ครู กศน.ตำบลเนินมะกอก

128557677 216746703237345 8173356735280948121 n

นางสาวรัตติกาล  ต้านทาน

ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลเนินมะกอก

 เบอร์โทร 094-0014936

173015811 295761035263297 1389067186681539045 n 

นางสาวกานต์พิชชา  ทัพน้อย

ตำแหน่ง ครูอาสา

 เบอร์โทร 

 

แพลตฟอร์ม กศน.นครสวรรค์

จำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์
097390
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ผู้เข้าชมทั้งหมด
63
142
1297
95481
3042
2250
97390

Your IP: 192.168.1.1
2024-12-28 08:22

กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ทำยังไงดี?เมื่อต้องอยู่ร่วมกับ"ผู้กักตัว"

ลืมป่วย

ทำยังไงดีหากคนในครอบครัวติดเชื้อหรือต้องกักตัว
แล้วเราจะต้องอยู่ร่วมบ้านด้วยกัน
วันนี้ลืมป่วยมีคำตอบมาให้ค่ะ


ก่อนอื่นเราต้องแบ่งประเภทของผู้กักตัวออกเป็น 2 กรณีกันก่อน

กรณีแรก คือ กรณีที่ในบ้าน “ไม่มีห้องแยก” ให้เลย หมายความว่าอาจจะอยู่เป็นห้องแถว บ้านเช่า หรือบ้านที่มีพื้นที่ใช้สอยไม่เยอะมาก ต้องนอนหรือว่าใช้พื้นที่ส่วนกลางอื่นๆ ร่วมกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าเป็นแบบนี้ เพื่อนๆ ก็ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ค่ะ

1. จัดสรรพื้นที่ให้แยกห่างจากกันอย่างชัดเจน อาจทำฉากกั้นเพื่อแยกผู้กักตัวและคนอื่นๆ ในครอบครัว เรียกง่ายๆ ว่าสร้างพื้นที่ส่วนตัวให้ผู้กักตัวไปเลยครับ เราเองก็ไม่ควรเข้าไปในพื้นที่ของเขา และผู้กักตัวก็ไม่ควรเข้ามาในพื้นที่ของเรา

2. ห้องพักต้องโปร่ง และเปิดประตูหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเทอย่างสม่ำเสมอ

3. แยกของใช้ส่วนตัวของผู้กักตัวและคนอื่นๆ อย่างเช่น เสื้อผ้าก็ต้องแยกตะกร้ากัน จาน ชาม แก้วน้ำ อย่าเพิ่งใช้ร่วมกัน

4. เตรียมถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด ทิ้งแยกกัน หากเป็นขยะติดเชื้อ ต้องราดสารฆ่าเชื้อหรือน้ำยาฟอกขาว ทิ้งในถุง 2 ชั้นที่ปิดสนิท และเขียนกำกับหน้าถุง เช่น หน้ากากอนามัย

5. หากใช้ห้องน้ำร่วมกัน คนอื่นๆ จะต้องใช้ให้เสร็จก่อนค่ะ แล้วให้ผู้กักตัวเข้าเป็นคนสุดท้าย จากนั้นทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
.

กรณีที่สอง คือ กรณีที่ในบ้าน “มีห้องแยก” นั่นเองค่ะ หมายถึงว่าผู้กักตัวก็มีห้องนอนเป็นของตัวเอง ไม่ต้องมานอนหรือว่าทำกิจกรรมร่วมกัน ถ้าเป็นกรณีนี้ เพื่อนๆ ก็ทำตามวิธีต่อไปนี้ได้เลยค่ะ

1. แยกการใช้ห้องนอนและห้องน้ำจากครอบครัว

2. ที่พักต้องมีอากาศถ่ายเท หรือเปิดหน้าต่าง ประตูเพื่อระบายอากาศในที่พักเป็นระยะ

3. แยกของใช้ส่วนตัวของผู้กักตัวและคนอื่นๆ รวมทั้งต้องแยกทำความสะอาดกันด้วย เช่น เสื้อผ้าก็ต้องซักแยกกัน

4. เตรียมถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด ทิ้งแยกกัน หากเป็นขยะติดเชื้อ ต้องราดสารฆ่าเชื้อหรือน้ำยาฟอกขาว ทิ้งในถุง 2 ชั้นที่ปิดสนิท และเขียนกำกับหน้าถุง เช่น หน้ากากอนามัย

5. หมั่นทำความสะอาดห้องน้ำเป็นประจำ

แต่ถ้ามีพื้นที่ส่วนกลางที่จะต้องใช้ร่วมกัน เข่นทางเดินในบ้าน ก็จะต้องทำความสะอาดเป็นประจำ เตรียมเจลแอลกอฮอล์ตามจุดเข้า-ออก และใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดทำความสะอาดจุดที่ใช้ร่วมกันบ่อยๆ ด้วยค่ะ
.

นอกจากการกักตัวอย่างถูกต้องและปลอดภัยแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้กักตัว หรือแม้แต่กับเพื่อนๆ เองในสถานการณ์แบบนี้ก็คือ “ยาที่ควรมีติดบ้าน”
.

แน่นอนว่ายาส่วนใหญ่ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนกิน แต่ยาที่เราจะพูดถึงต่อไปนี้สามารถมีติดบ้านไว้ได้ตามปกติ เพื่อกินบรรเทาอาการในกรณีฉุกเฉิน แต่อย่าลืมนะคะว่า มันเป็นยาเพื่อ “บรรเทา” อาการเท่านั้น หากเพื่อนๆ กินแล้วกว่า 2-3 วัน แต่ไม่รู้สึกว่าอาการดีขึ้น ก็ควรเข้ารับการรักษาจะดีที่สุดค่ะ

1. ยาพาราเซตามอล: กินเมื่อมีไข้เท่านั้น ควรกินห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง และไม่ควรกินเกินวันละ 8 เม็ด

2. สเปรย์พ่นคอเยอรมันคาโมไมล์: ลดอาการเจ็บคอ ต้านการอักเสบ มีสารสกัดจากธรรมชาติ ใช้ฉีดพ่นเมื่อเจ็บคอหรือระคายเคืองคอ

3. แนคเม็ดฟู่ (NAC) ประเภทหลอด เม็ดฟู่ละลายเสมหะ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน กินครั้งละ 1 เม็ด 2 เวลา เช้าและเย็น

4. ฟ้าทะลายโจร : ลดโอกาสเชื้อลงปอด ใช้เมื่อเริ่มมีอาการป่วย กินวันละ 180 มก. ไม่ควรกินติดต่อเกิน 5 วัน และเพื่อนๆ ต้องเตือนตัวเองเอาไว้นะครับ ว่าฟ้าทะลายโจรไม่ได้ช่วยป้องกันการติดเชื้อ จึงไม่ควรกินพร่ำเพรื่อค่ะ

5. ยาลดน้ำมูก CPM: ลดน้ำมูกและเสมหะ แต่ผู้ป่วยโรคตับไตต้องระวังหรือควรใช้ตามคำแนะนำจากแพทย์
.

ทั้งหมดนี้ก็คือหลักการอยู่ร่วมกับผู้กักตัวและยาที่ควรมีติดบ้านในช่วงนี้ที่เรารวบรวมมาให้ค่ะ  สถานการณ์ตอนนี้ยังไม่ดีขึ้นเท่าไร แต่เราเชื่อว่าเพื่อนๆ ต่างก็ดูแลตัวเองกันอย่างเต็มที่แล้ว หวังว่าเพื่อนๆ และครอบครัวจะผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกันอย่างปลอดภัย และมีสุขภาพแข็งแรงทุกคนเลยนะคะ ด้วยความห่วงใยจากลืมป่วยค่ะ

อ้างอิง:
1. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
2. Zhongcheng Shi1,2 and Carlos A Puyo3. N-Acetylcysteine to Combat COVID-19: An Evidence Review. Ther Clin Risk Manag. 2020; 16: 1047–1055. Published online 2020 Nov

ครู กศน.ตำบล