หมู่ 7 ต.ศาลเจ้าไก่ต่อ อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ 60150 056-271501 086-6754595 Maresa.su@gmail.com
ครู กศน.ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ

154630282 280508370089740 6343618238427494705 n

นางสาวสุภาพร  สุผามาลา

ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล

 เบอร์โทร 086-6754595

 

 

แพลตฟอร์ม กศน.นครสวรรค์

จำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์
014137
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ผู้เข้าชมทั้งหมด
17
0
47
14069
132
228
14137

Your IP: 192.168.1.1
2024-12-21 12:58

ข้อมูลทั่วไป ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของตำบล

แผ่นที่

2.1 สภาพทั่วไปของตำบล

ลักษณะทางภูมิศาสตร์

ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ เนื้อที่    มีพื้นที่ทั้งหมด 84.72 ตารางกิโลเมตร    หรือมีพื้นที่  52,750  ตารางกิโลเมตรห่างจากที่ตั้งอำเภอลาดยาวระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดนครสวรรค์ระยะ  ทางประมาณ 53 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร ระยะทางประมาณ 280 กิโลเมตร

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ดอนสลับพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ต่อมาได้มีการแบ่งเขตการปกครองใหม่ จึงแยกเป็นตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ มีส่วนราชการปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 2 องค์กร คือ องค์การบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ และเทศบาลตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ

ที่ตั้งอาณาเขต

ทิศเหนือ   ติดต่อ     ตำบลบ้านไร่ อำเภอลาดยาว

ทิศใต้       ติดต่อ     ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว

ทิศตะวันตก  ติดต่อ   ตำบลแม่วงก์  อำเภอแม่วงก์

ทิศตะวันออกติดต่อ     ตำบลลาดยาว อำเภอลาดยาว

สภาพโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ดอนสลับพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การเกษตร มีเทือกเขาอยู่ทางตะวันตก ของพื้นที่อยู่ในเขตอำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ต่อเนื่องจังหวัดกำแพงเพชร มีลำน้ำธรรมชาติไหลผ่านพื้นที่หลายสาย เช่น คลองสาลี คลองแม่วงก์ คลองแม่เปิน เป็นต้น เส้นทางติดต่อคมนาคมที่สำคัญ คือ ทางหลวงหมายเลข 1072 ที่เป็นเส้นทางต่อเชื่อมตัวอำเภอลาดยาว และทางหลวงหมายเลข 1117 เชื่อมตัวอำเภอแม่วงก์ประชากรส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่องค์การบริหาร ส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ ประกอบอาชีพด้าน การเกษตร กรรมเป็นหลัก เช่น ทำนา,ทำไร่ เป็นต้น สำหรับการ ทำนาส่วนใหญ่

ประชากรส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่องค์การบริหาร ส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ ประกอบอาชีพด้าน การเกษตร กรรมเป็นหลัก เช่น ทำนา,ทำไร่ เป็นต้น สำหรับการ ทำนาส่วนใหญ่ จะทำนาจากน้ำฝนและน้ำบาดาลใน หนึ่งปีจะทำนาได้ประมาณ 2-3 ครั้ง เท่านั้น ส่วนการ ทำไร่มีการเพาะปลูกพืชหลายชนิด เช่น ถั่วเขียว มัน สำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย และนอกจากนี้ยังมีการเลี้ยง สัตว์ เพื่อไว้บริโภค และการค้า เช่น เป็ด ไก่ สุกร และ โค/กระบือ เป็นต้น ส่วนทางด้านการประกอบอาชีพ ด้านอุตสาหกรรมจะมีธุรกิจรับซื้อพืชไร่ อยู่จำนวน 4 แห่ง และมีอุตสาหกรรมในครัวเรือน คือ การทำเปล ยวน และการทำเฟอร์นิเจอร์จากรากไม้ เพื่อใช้เองและ เพื่อการค้ามีสมาชิกกลุ่มประมาณ 5 - 6 คน โดยใช้ เวลาในช่วงว่างของฤดูกาลทำนาช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ ครอบครัวได้ ส่วนร้านค้าขายของชำ และอาหาร จะมี อยู่ตามเขตชุมชนของแต่ละหมู่ ประมาณหมู่ละ 1 – 7 ร้าน เป็นต้น

Super User