- Super User
- ข้อมูลพื้นฐาน
- จำนวนการเข้าชม: 367
รูปถ่าย |
ชื่อ – สกุล |
บทบาท |
|
นางสาวอาริสรา ทองพวง |
ประธานองค์กรนักศึกษา |
||
|
นางสาวจุฑามาส สอนอ่อน |
กรรมการ |
|
|
นางสาวปวีณา นันทเวช |
กรรมการ |
นายวรวงศ์ ขลิบปั้น
ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล
เบอร์โทร 0882724782
รูปถ่าย |
ชื่อ – สกุล |
บทบาท |
|
นางสาวอาริสรา ทองพวง |
ประธานองค์กรนักศึกษา |
||
|
นางสาวจุฑามาส สอนอ่อน |
กรรมการ |
|
|
นางสาวปวีณา นันทเวช |
กรรมการ |
รูปถ่าย |
ชื่อ – สกุล |
บทบาท |
|
|
นายดนุ ธนกิจวรบูลย์ |
ประธาน |
|
|
ว่าที่ร้อยโทอำนาจ เอี่ยมสุภา |
กรรมการ |
|
|
นางอรสา มาดีประเสิรฐ |
กรรมการ |
ความเป็นมา
ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการวางแผน
ชื่อ : กศน.ตำบลสุขสำราญ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์
สถานศึกษา
กศน.ตำบลสุขสำราญ สถานที่ตั้ง หมู่ ที่ 1 บ้านสุขสำราญ ตำบลสุขสำราญ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ 60190
สังกัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์
ข้อมูลที่ตั้งสถานที่ตั้ง กศน.ตำบลสุขสำราญ สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 1 บ้านสุขสำราญ ตำบลสุขสำราญ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์
ประวัติ กศน.ตำบลสุขสำราญ
ประวัติ กศน. ตำบลสุขสำราญเริ่มแรกตั้งเมื่อปี พ.ศ.2541 อยู่ที่สถานีอนามัยหมู่ที่ 6 ตำบลพุขมิ้น อำเภอตากฟ้า ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อปีพ.ศ.2551 กศน. ตำบลสุขสำราญได้รับความอนุเคราะห์ให้ใช้อาคารสถานที่จาก อบต.ตำบลสุขสำราญ หมู่ที่ 1 ตำบลสุขสำราญ ในด้านอาคารสถานที่ เพื่อใช้ในการดำเนินงานในการจัดกิจกรรมการศึกษาพื้นฐานนอกระบบ
( การศึกษาพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง) และการศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่ตำบลสุขสำราญและพื้นที่ใกล้เคียง ที่ตั้ง
ศูนย์เด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลสุขสำราญ หมู่ที่ 1 ตำบลสุขสำราญ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ 60190
หมายเลขโทรศัพท์ 056-242164
E-Mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
บทบาทหน้าที่ภารกิจ กศน.ตำบล
กศน.ตำบลจะมีการปรับบทบาทภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและบริบทของพื้นที่ ตลอดจนรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนมากขึ้น ภายใต้การขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4 ศูนย์การเรียนรู้ ได้แก่
1) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่
เป็นศูนย์กลางการส่งเสริม จัดกระบวนการการเรียนรู้ และหน่วยประสานงานแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายในชุมชน ดำเนินงานร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาจักร (กอ.รมน.)
2) ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.)
เพื่อสร้างการเรียรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยเฉพาะสิทธิและหน้าที่ในระบอบประชาธิปไตยบูรณาการความร่วมมือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
3) ศูนย์ดิจิทัลชุมชน
ซึ่งบริหารจัดการฐานข้อมูลที่จำเป็นสำหรับ กศน. และชุมชน เพื่อให้มีความรู้และรับรู้ที่เท่าทันปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกยุคดิจิทัล
4) ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีคุณภาพที่สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา โดยยึดชุมชนเป็นฐานในการดำเนินงาน โดย กศน.ตำบลมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวก
บทบาทหน้าที่ ของกศน. ตําบล
กศน.ตําบล มีบทบาทสําคัญในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน โดยมีหัวหน้า กศน.ตําบล เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทําหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินงาน กศน.ตําบล ดังนี้
๑. บทบาทหน้าที่ของหัวหน้า กศน. ตําบล
๑. การวางแผน
๑.๑ จัดทําฐานข้อมูลชุมชน
๑.๒ จัดทําแผนพัฒนา กศน. ตําบล
๑.๓ จัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี
๒. การจัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๒.๑จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ ดังนี้
- การส่งเสริมการรู้หนังสือ
- การศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- การศึกษาต่อเนื่อง
๒.๒จัดและส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย
- ส่งเสริมการอ่าน
- จัดและพัฒนาแหล่งเรียนรู้
- บริการข่าวสารข้อมูล และสื่อทุกประเภท
- จัดและส่งเสริมกิจกรรมห้องสมุดประชาชนตําบล ห้องสมุดชุมชน มุมหนังสือบ้าน
๓. บริการการเรียนรู้ในชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย
๓.๑ ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) ร่วมกับ (สอศ.)
๓.๒ ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับ (สคบ.)
๓.๓ ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ร่วมกับ (กระทรวงไอซีที)
๓.๔ มุมวิทยาศาสตร์เพื่อชีิวต ร่วมกับ (สสวท.)
๓.๕ หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ร่วมกับโรงพยาบาล สถานีอนามัย
๓.๖ ธนาคารเคลื่อนที่
๓.๗ การป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย
๓.๘ อําเภอเคลื่อนที่ ร่วมกับอําเภอ
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของตำบล
สภาพทั่วไปตำบลสุขสำราญ
ในสมัยก่อนนั้นบริเวณพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของบ้านสุขสำราญในปัจจุบันนี้เป็นบริเวณที่มีลักษณะเป็นโคก บนโคกนี้จะมีต้นลานจำนวนมาก ด้านข้างจะเป็นลำธารซึ่งมีน้ำไหลตลอดทั้งปี และมีสัตว์ป่าหลายชนิดอาศัยอยู่โดยรอบพวกพรานป่าได้เข้ามาล่าสัตว์ในบริเวณนี้ว่า “โคกลาน” ระยะต่อมาจึงมีประชาชนเข้ามาปลูกเรือนอาศัยในบริเวณนี้ เมื่อมีการจัดตั้งตำบลตากฟ้าชื่อโคกลานจึงเปลี่ยนเป็นชื่อ "บ้านโคกสำราญ" ในประมาณปี พ.ศ.2513 ตำบลตากฟ้าถูกยกเป็นกิ่งอำเภอตากฟ้าจึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “บ้านสุขสำราญ” เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2539 กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศให้สภาตำบลสุขสำราญเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสุขสำราญ ซึ่งเป็นรูปแบบการบริหารท้องถิ่นอย่างหนึ่ง
สภาพทั่วไปของตำบล
ตำบลสุขสำราญมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 45,075 ไร่ หรือประมาณ 68.38 ตารางกิโลเมตร
ภูมิประเทศ ตำบลสุขสำราญมีภูมิประเทศเป็นที่ราบ ลุ่มสลับกับเชิงเขาไม่มีแม่น้ำไหลผ่านสภาพดินในพื้นที่โดยทั่วไปเป็นดินลูกรัง และดินร่วนปนทราย
อาณาเขตตำบล
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลโพธิ์ประสาท อำเภอไพศาลี
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลลำพยนต์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลลำพยนต์ อำเภอไพศาลี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลตากฟ้า ตำบลพุนกยูง อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล
1.ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลสุขสำราญ หมู่ที่ 1
2.ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ หมู่ที่ 1
3.สถานีอนามัยบ้านซับสำราญ หมู่ที่ 8
4.สถานีอนามัยบ้านพุขมิ้น หมู่ที่ 6
5.วัดสุขสำราญ หมู่ที่ 1
6.วัดธรรมโสภณ หมู่ที่ 8
7.วัดทุ่งทอง หมู่ที่ 12
8.วัดประชาสรรค์ หมู่ที่ 2 (อารามหลวง)
ตารางจำนวนประชากร จำแนกตามหมู่บ้าน
หมู่บ้าน |
ประชากร |
จำนวนครัวเรือน |
||
ชาย |
หญิง |
รวม |
||
๑. บ้านสุขสำราญ ๒. บ้านเกษตรชัย ๓. บ้านเขาหมี ๔. บ้านเขากา ๕. บ้านวังสำราญ ๖. บ้านพุขมิ้น ๗. บ้านหนองยาว ๘. บ้านซับสำราญ ๙. บ้านชอนกระพงษ์ ๑๐. บ้านเขาดินแดง ๑๑. บ้านซับตะเคียน ๑๒. บ้านทุ่งทอง |
๓๗๐ ๑๐๔ ๘๒ ๒๒๖ ๒๗๙ ๑๘๐ ๑๖๓ ๒๖๘ ๑๖๔ ๑๑๘ ๓๑๔ ๒๔๙ |
๓๙๐ ๑๑๒ ๘๗ ๒๓๕ ๓๐๒ ๑๗๙ ๑๕๘ ๒๙๔ ๑๗๗ ๑๒๐ ๓๒๙ ๒๔๙ |
๗๖๐ ๒๑๖ ๑๖๙ ๔๖๑ ๕๘๑ ๓๕๙ ๓๒๑ ๕๖๒ ๓๔๑ ๒๓๘ ๖๔๓ ๔๙๘ |
๒๔๙ ๗๒ ๔๓ ๑๒๖ ๒๑๓ ๑๐๒ ๑๑๑ ๑๙๘ ๙๗ ๘๑ ๑๖๗ ๑๒๙ |
รวม |
๒,๕๑๗ |
๒,๖๓๒ |
๕,๑๔๙ |
๑,๕๘๘ |
แหล่งที่มาของข้อมูล : ฝ่ายทะเบียนอำเภอตากฟ้า
ตำบลสุขสำราญ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๔๕,๐๗๕ ไร่ หรือประมาณ ๖๘.๓๘ ตารางกิโลเมตร
๘. อาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยแยกเป็น
อาชีพทำนา จำนวน ๖ ครัวเรือน พื้นที่ปลูกประมาณ ๒๐ ไร่ นอกจากนั้นเป็น
ข้าวพันธุ์พื้นเมือง เริ่มผลิตในเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม มีการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ในนาข้าว
อาชีพทำไร่ จำนวน ๑,๑๕๒ ครัวเรือน พื้นที่ปลูกประมาณ ๑๖,๑๗๖ ไร่ โดยส่วนใหญ่
ทำเป็นอาชีพรอง พืชที่ปลูกส่วนใหญ่ คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อย งา พริก ส่วนใหญ่ ทำตามที่ดอนตาม ไหล่เขา
อาชีพทำสวน จำนวน ๑๗ ครัวเรือน พื้นที่ปลูกประมาณ ๑๓๒ ไร่ ประกอบไปด้วย
ผักสวนครัว ละมุด น้อยหน่า มะม่วง มะขามเทศ ส้ม มีการปลูกในรูปของสวน และปลูกตามบ้านส่วนใหญ่ถือเป็นอาชีพเสริม
อาชีพเลี้ยงสัตว์ จำนวน ๓๕ ครัวเรือน โดยส่วนใหญ่จะเลี้ยงวัว นอกจากนั้น จะเป็น สุกร และไก่
อาชีพรับจ้าง จำนวน ๓๑๙ ครัวเรือน เมื่อว่างเว้นจากการทำเกษตรกรรมคนหนุ่ม
สาวจะเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าไปหางานรับจ้างทำในกรุงเทพมหานคร หรือตา
อาชีพค้าขาย จำนวน ๖๐ ครัวเรือน