ความเป็นมา
ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการวางแผน
ชื่อ : กศน.ตำบลสุขสำราญ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์
สถานศึกษา
กศน.ตำบลสุขสำราญ สถานที่ตั้ง หมู่ ที่ 1 บ้านสุขสำราญ ตำบลสุขสำราญ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ 60190
สังกัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์
ข้อมูลที่ตั้งสถานที่ตั้ง กศน.ตำบลสุขสำราญ สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 1 บ้านสุขสำราญ ตำบลสุขสำราญ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์
ประวัติ กศน.ตำบลสุขสำราญ
ประวัติ กศน. ตำบลสุขสำราญเริ่มแรกตั้งเมื่อปี พ.ศ.2541 อยู่ที่สถานีอนามัยหมู่ที่ 6 ตำบลพุขมิ้น อำเภอตากฟ้า ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อปีพ.ศ.2551 กศน. ตำบลสุขสำราญได้รับความอนุเคราะห์ให้ใช้อาคารสถานที่จาก อบต.ตำบลสุขสำราญ หมู่ที่ 1 ตำบลสุขสำราญ ในด้านอาคารสถานที่ เพื่อใช้ในการดำเนินงานในการจัดกิจกรรมการศึกษาพื้นฐานนอกระบบ
( การศึกษาพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง) และการศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่ตำบลสุขสำราญและพื้นที่ใกล้เคียง ที่ตั้ง
ศูนย์เด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลสุขสำราญ หมู่ที่ 1 ตำบลสุขสำราญ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ 60190
หมายเลขโทรศัพท์ 056-242164
E-Mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
บทบาทหน้าที่ภารกิจ กศน.ตำบล
กศน.ตำบลจะมีการปรับบทบาทภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและบริบทของพื้นที่ ตลอดจนรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนมากขึ้น ภายใต้การขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4 ศูนย์การเรียนรู้ ได้แก่
1) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่
เป็นศูนย์กลางการส่งเสริม จัดกระบวนการการเรียนรู้ และหน่วยประสานงานแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายในชุมชน ดำเนินงานร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาจักร (กอ.รมน.)
2) ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.)
เพื่อสร้างการเรียรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยเฉพาะสิทธิและหน้าที่ในระบอบประชาธิปไตยบูรณาการความร่วมมือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
3) ศูนย์ดิจิทัลชุมชน
ซึ่งบริหารจัดการฐานข้อมูลที่จำเป็นสำหรับ กศน. และชุมชน เพื่อให้มีความรู้และรับรู้ที่เท่าทันปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกยุคดิจิทัล
4) ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีคุณภาพที่สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา โดยยึดชุมชนเป็นฐานในการดำเนินงาน โดย กศน.ตำบลมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวก
บทบาทหน้าที่ ของกศน. ตําบล
กศน.ตําบล มีบทบาทสําคัญในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน โดยมีหัวหน้า กศน.ตําบล เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทําหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินงาน กศน.ตําบล ดังนี้
๑. บทบาทหน้าที่ของหัวหน้า กศน. ตําบล
๑. การวางแผน
๑.๑ จัดทําฐานข้อมูลชุมชน
๑.๒ จัดทําแผนพัฒนา กศน. ตําบล
๑.๓ จัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี
๒. การจัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๒.๑จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ ดังนี้
- การส่งเสริมการรู้หนังสือ
- การศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- การศึกษาต่อเนื่อง
๒.๒จัดและส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย
- ส่งเสริมการอ่าน
- จัดและพัฒนาแหล่งเรียนรู้
- บริการข่าวสารข้อมูล และสื่อทุกประเภท
- จัดและส่งเสริมกิจกรรมห้องสมุดประชาชนตําบล ห้องสมุดชุมชน มุมหนังสือบ้าน
๓. บริการการเรียนรู้ในชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย
๓.๑ ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) ร่วมกับ (สอศ.)
๓.๒ ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับ (สคบ.)
๓.๓ ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ร่วมกับ (กระทรวงไอซีที)
๓.๔ มุมวิทยาศาสตร์เพื่อชีิวต ร่วมกับ (สสวท.)
๓.๕ หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ร่วมกับโรงพยาบาล สถานีอนามัย
๓.๖ ธนาคารเคลื่อนที่
๓.๗ การป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย
๓.๘ อําเภอเคลื่อนที่ ร่วมกับอําเภอ