ผู้บริหารสถานศึกษา

 

                                                                                          1733123131628

สื่อสารสนเทศออนไลน์

nks logo

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

030175
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
อาทิตย์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ผู้เข้าชมทั้งหมด
36
88
234
29715
494
1192
30175

Your IP: 192.168.1.1
2024-12-13 17:20

 

S 40599609

    

 ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา

กระทรวงศึกษา โดยกรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้ประกาศจัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ พร้อมกันทั่วประเทศ จำนวน ๗๘๙ แห่ง โดยอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๔ ประกอบกับระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน พ.ศ.๒๕๓๑ ข้อ ๖ ในส่วนของอำเภอตากฟ้า มีชื่อว่า “ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอตากฟ้า” เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๓๖ เป็นสถานศึกษา
ในสังกัดราชการการบริหารส่วนกลาง มีหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้

          ๑. จัดบริการการศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาเพื่อเสริมในระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยตามความต้องการและสภาพปัญหาของท้องถิ่น

          ๒. จัด และประสานงานให้ศูนย์การเรียน หน่วยจัดการศึกษานอกโรงเรียน เพื่อเป็นเครือข่ายการบริหารการศึกษานอกโรงเรียน ได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึงและส่งเสริมให้ชุมชนจัดการศึกษาให้ตนเองในลักษณะศูนย์การศึกษาชุมชน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการจัดการศึกษา วางแผน และบริการการศึกษาต่อสมาชิกในชุมชนระหว่างชุมชน

          ๓. สนับสนุนสิ่งที่จำเป็นต่าง ๆ ที่ใช้ในการดำเนินงานการศึกษานอกโรงเรียนของเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนการสอนและการบริการแก่กลุ่มเป้าหมาย

          ๔. กำกับดูแล ติดตาม และรายงานผลการดำเนินงานการศึกษานอกโรงเรียน

 

มีผู้บริหารสถานศึกษาตำแหน่งหัวหน้า/ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน
อำเภอตากฟ้า ดังนี้

๑. นายไพศาล    สุขรัตน์          ดำรงตำแหน่งเมื่อ วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๓๗ – ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖

๒. นายภูวพัศ    อังศธรรมรัตน์   ดำรงตำแหน่งเมื่อ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ – ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๙

๓. นางกาญจนา บัววัฒน์         ดำรงตำแหน่งเมื่อ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ – ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๐

๔. นางวันเพ็ญ   แจ่มอนงค์       ดำรงตำแหน่งเมื่อ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๑

ต่อมาเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๑ เปลี่ยนชื่อสถานศึกษาจาก “ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ
ตากฟ้า” มาเป็น “ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอตากฟ้า” เรียกโดยย่อว่า
“กศน.อำเภอตากฟ้า” ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
พ.ศ. ๒๕๕๑ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

          ๑.   จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

๒.   ส่งเสริม สนับสนุน และประสานภาคีเครือข่าย เพื่อการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

๓.   ดำเนินการตามนโยบายพิเศษของรัฐบาลและงานเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ

๔.   จัด ส่งเสริม สนับสนุนและประสานงานการจัดการศึกษาตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่

๕.   จัด ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

๖.   วิจัยและพัฒนาคุณภาพหลักสูตร สื่อ กระบวนการเรียนรู้ และมาตรฐานการศึกษานอกระบบ

๗.   ดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์

๘.   กำกับ ดูแล ตรวจสอบ นิเทศภายใน ติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงาน

การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

๙.   พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

       ๑๐.   ระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการจัดและพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

       ๑๑.   ดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ให้สอดคล้องกับระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด

       ๑๒.   ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

 

มีผู้บริหารสถานศึกษาตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
อำเภอตากฟ้า หรือผู้อำนวยการ กศน.อำเภอตากฟ้า ดังนี้

๑. นางวันเพ็ญ   แจ่มอนงค์        ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๑ – ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔

๒. นายบุญติ่ง    อุ่นแก้ว           ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๔ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๖

3. นางสาวสุจิตรา พิพัฒน์สำราญ รักษาการในตำแหน่งเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ – 1 กุมภาพันธ์ 2557

4. นายไพศาล    สุขรัตน์            ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557– 9 มกราคม ๒๕๖๐

5. นางสาวสุจิตรา พิพัฒน์สำราญ รักษาการตำแหน่งเมื่อวันที่ 10 มกราคม ๒๕๖๐– ๓ กุมภาพันธ์ 25๖๒

6. นางสาวสุจิตรา พิพัฒน์สำราญ ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 25๖๒ – ปัจจุบัน 

๒. อาณาเขต

อำเภอตากฟ้า ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดนครสวรรค์ ระยะทางจากอำเภอตากฟ้าถึงจังหวัดนครสวรรค์ มีระยะทางประมาณ ๘๐ กิโลเมตร (เส้นทางผ่านอำเภอตาคลี
๘๐ กิโลเมตร และเส้นทางผ่านอำเภอท่าตะโก ๗๕ กิโลเมตร) อำเภอตากฟ้ามีพื้นที่ประมาณ
๖๓๘ ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ของนิคมสร้างตนเองตากฟ้า กรมประชาสงเคราะห์ประมาณ ๕๒๓
ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอใกล้เคียง ดังนี้

          ทิศเหนือ          ติดต่อกับอำเภอท่าตะโก อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

          ทิศใต้             ติดต่อกับอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

          ทิศตะวันออก     ติดต่อกับอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์และอำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี

          ทิศตะวันตก      ติดต่อกับอำเภอตาคลี อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

๓. สภาพชุมชน

ประวัติความเป็นมาของอำเภอตากฟ้า

              อำเภอตากฟ้า เดิมเป็นตำบลหนึ่งซึ่งอยู่ในเขตปกครองของอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่เดิมเป็นป่าดงดิบ มีสัตว์ป่าชุกชุมมาก เป็นแหล่งล่าสัตว์ของพรานป่า ประมาณปี ๒๔๙๖ ทางราชการได้
ตัดถนนผ่าน คือถนนประชาธิปัตย์ (ปัจจุบันเรียกว่าถนนพหลโยธิน ทางหลวงหมายเลข ๑) และเริ่มมีประชาชนเข้ามาจับจองที่ดินทำกินกันมากขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ กรมประชาสงเคราะห์ได้จัดตั้งนิคมสร้างตนเองตาคลีขึ้น และมีประชาชนอพยพเข้ามาทำกินเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี พ.ศ.๒๕๐๔ อำเภอตาคลีได้แยกนิคมสร้างตนเองตาคลีเป็นนิคมสร้างตนเองตากฟ้า

              ตำบลตากฟ้า ได้แยกการปกครองออกจาก อำเภอตาคลี โดยยกฐานะเป็นอำเภอตากฟ้า
ตามพระราชกฤษฎีกา ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๑๓ อยู่ในเขตปกครองของจังหวัดนครสวรรค์โดยมิได้ตั้งเป็น
กิ่งอำเภอมาก่อน มีนายสันต์ เอกมหาชัย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์และมีนายชัยศรี นุตาลัย
มาดำรงตำแหน่งนายอำเภอคนแรก โดยใช้อาคารเงิน – ทอง ปิยะชนของโรงเรียนบ้านตากฟ้า เป็นที่ทำการอำเภอชั่วคราว ต่อมาทางราชการได้จัดสร้างที่ว่าการอำเภอเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นที่ทำการอำเภอตากฟ้า และได้สร้างที่ว่าการอำเภอตากฟ้าหลังใหม่ เมื่อปี ๒๕๔๙ ใช้เป็นที่ทำการจนถึงปัจจุบัน

              คำว่า “ตากฟ้า” มีที่มาว่าในสมัยก่อนอำเภอตากฟ้าเป็นป่าดงดิบ มีต้นไม้ใหญ่ปกคลุมโดยทั่วไป แต่มีลานที่แสงแดดส่องลงมาได้ ซึ่งเป็นลานที่ไก่ฟ้าชอบออกมาเล่นแสงแดดตรงที่ว่าง พวกพรานจึงตั้งชื่อลานนั้นว่า “ลานไก่ฟ้า” ต่อมามีประชาชนเริ่มเข้ามาอาศัยอยู่ จึงนำผ้าไปตากที่ลานบริเวณดังกล่าว เพราะมีแสงแดดส่องถึง เลยเรียกกันติดปากอีกชื่อหนึ่งว่า “ลานตากผ้า” ต่อมาออกเสียงเพี้ยนเปลี่ยนเป็น
“ลานตากฟ้า” และใช้เป็นชื่ออำเภอมาจนถึงปัจจุบัน

          ลักษณะภูมิประเทศ

              เป็นที่ลาดเอียง ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตกลงสู่ด้านใต้ สภาพพื้นที่ทั่วไป
ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ สลับกับภูเขา ซับซ้อนรอบทุกด้าน ไม่มีสายน้ำใหญ่เป็นหลัก ส่วนมากจะเป็นลำคลอง ห้วยเป็นส่วนใหญ่ หน้าแล้งจะแล้งจัด ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเมืองร้อนโดยอากาศจะร้อนจัดในฤดูร้อน และอากาศจะหนาวจัดในฤดูหนาว ฝนตกชุกในฤดูฝน ซึ่งเมื่อถึงฤดูแล้งน้ำจะแห้ง และพื้นที่โดยทั่วไปสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ ๘๖ เมตร ทำให้ไม่มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ มีเพียงแหล่งน้ำขนาดเล็กตามหมู่บ้าน จึงไม่เพียงพอที่จะทำการชลประทานขนาดใหญ่ อำเภอตากฟ้ามีภูเขาที่สำคัญดังนี้

              เขาตะบองนาค     อยู่ในเขตตำบลลำพยนต์ เป็นภูเขาที่มีถ้ำสวยงามมาก สามารถใช้เป็น
แหล่งท่องเที่ยว ได้เป็นอย่างดี

              เขานาค             อยู่ในเขตตำบลลำพยนต์ เป็นภูเขากั้นอาณาเขตระหว่างอำเภอตากฟ้ากับอำเภอตากฟ้า

              เขาคอก             อยู่ในเขตตำบลลำพยนต์ เป็นภูเขากั้นอาณาเขตระหว่างอำเภอตากฟ้ากับอำเภอตากฟ้า

              เขาเขียว            อยู่ในเขตตำบลตากฟ้า

              เขาพุขมิ้น          อยู่ในเขตตำบลสุขสำราญ

              เขาขวาง           อยู่ในเขตตำบลเขาชายธง และตำบลหนองพิกุล

              เขาชายธง          อยู่ในเขตตำบลเขาชายธงเป็นภูเขาที่มีถ้ำงดงามมาก

              เขาพุเม่น           อยู่ในเขตตำบลพุนกยูง

              เขาขาด             อยู่ในเขตตำบลเขาชายธง

          การคมนาคม

              ๑. การคมนาคม มีการติดต่อระหว่างจังหวัด มี ๒ เส้นทาง ดังนี้

                    ๑.๑ เส้นทางที่ ๑ เส้นทางอำเภอตากฟ้า – อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

ทางลาดยาง ระยะทางประมาณ ๘๐ กิโลเมตร

                   ๑.๒ เส้นทางที่ ๒ เส้นทางอำเภอตากฟ้า – อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ทางลาดยาง ระยะทางประมาณ ๗๕ กิโลเมตร

              ๒. การคมนาคม มีการติดต่อระหว่างอำเภออื่น ๆ ตามเส้นทาง ดังนี้

                   ๒.๑ เส้นทางที่ ๑ เส้นทางอำเภอตากฟ้า – อำเภอตาคลี ทางลาดยาง ระยะทาง

ประมาณ ๒๑ กิโลเมตร

                   ๒.๒ เส้นทางที่ ๒ เส้นทางอำเภอตากฟ้า – อำเภอท่าตะโกทางลาดยาง ระยะทาง

ประมาณ ๔๑ กิโลเมตร

          ๒.๓ เส้นทาง ๓ เส้นทางอำเภอตากฟ้า –ตากฟ้า (สายใหม่)ทางลาดยาง ระยะทาง

ประมาณ ๔๙ กิโลเมตร

          ๒.๔ เส้นทางที่ ๔ เส้นทางอำเภอตากฟ้า –ตากฟ้าทางลาดยาง ระยะทางประมาณ

๔๗ กิโลเมตร

          ๒.๕ เส้นทางที่ ๕ เส้นทางอำเภอตากฟ้า – อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
ทางลาดยาง ระยะทางประมาณ ๔๕ กิโลเมตร

 

การปกครอง

                   แบ่งการปกครองออกเป็น ๗ ตำบล ๗๖ หมู่บ้าน ๑ เทศบาลตำบล

ข้อมูลประชากรอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์

ที่

ตำบล

จำนวนหมู่บ้าน

จำนวนหลังคาเรือน

จำนวนประชากร

ชาย

หญิง

รวม

ตำบลตากฟ้า

๘ หมู่บ้าน

๑,๒๘๐

๒,๑๐๕

๒,๑๑๗

๔,๒๒๒

ตำบลลำพยนต์

๑๐ หมู่บ้าน

๑,๔๘๙

๒,๒๑๙

๒,๓๒๔

๔,๕๔๓

ตำบลสุขสำราญ

๑๒ หมู่บ้าน

๑,๖๘๗

๒,๕๐๔

๒,๖๒๕

๕,๑๒๙

ตำบลหนองพิกุล

๑๑ หมู่บ้าน

๑,๐๖๑

๑,๖๙๗

๑,๗๗๗

๓,๔๗๔

ตำบลพุนกยูง

๑๐ หมู่บ้าน

๑,๒๖๖

๑,๙๒๐

๑,๙๑๓

๓,๘๓๓

ตำบลอุดมธัญญา

๑๖ หมู่บ้าน

๓,๒๙๙

๕,๐๙๓

๕,๑๑๔

๑๐,๒๐๕

ตำบลเขาชายธง

๙ หมู่บ้าน

๑,๑๓๑

๑,๗๑๓

๑,๘๑๙

๓,๕๓๒

เทศบาลตำบลตากฟ้า

๘ ชุมชน

๑,๘๙๔

๒,๕๘๙

๒,๗๕๙

๕,๓๔๘

รวม ๗ ตำบล ๑ เทศบาล

๑๓,๑๐๗

๑๙,๘๔๐

๒๐,๔๔๘

๔๐,๒๘๖

 

สภาพทางเศรษฐกิจ

                   ๑. อาชีพหลัก   ได้แก่ เกษตรกรรม

                   ๒. พืชเศรษฐกิจ คือ อ้อย,ข้าวโพด

                   ๓. สัตว์เศรษฐกิจ คือ วัวนม

การเกษตรกรรม

                   ๑. มีพื้นที่ทั้งหมด ๓๕๖,๖๘๓ ไร่

                        - พื้นที่ทางการเกษตร                                      ๓๐๘,๗๐๔ ไร่

                        - พื้นที่ภูเขาป่าไม้                                           ๒๔,๒๖๖ ไร่

                        - พื้นที่อยู่อาศัย                                             ๒๑,๓๘๖ ไร่

                        - พื้นที่อื่น ๆ                                                             ๒,๓๒๗ ไร่

                    ๒. การใช้ประโยชน์จากพื้นที่มีพื้นที่ทั้งหมด ๓๕๖,๖๘๓ ไร่

                        - พื้นที่ส่งเสริมการเกษตร                                  ๓๐๘,๗๐๔ ไร่

                        - พื้นที่ทำนา                                                ๒๕,๖๖๕ ไร่

                        - พื้นที่ทำไร่                                                ๒๗๙,๗๓๔ ไร่

                        - พื้นที่ไม้ผล-ไม้ยืนต้น                                         ๓,๓๐๕ ไร่

การอุตสาหกรรม

                   มีโรงงานอุสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตดำเนินการและประกอบการ จำนวน ๖ แห่ง ดังนี้

                        - ตำบลตากฟ้า                ๑ แห่ง

                        - ตำบลเขาชายธง             ๑ แห่ง

                        - ตำบลสุขสำราญ             ๒ แห่ง

                        - ตำบลหนองพิกุล             ๑ แห่ง

                        - ตำบลพุนกยูง                ๑ แห่ง

          การพาณิชย์และสังคม

                        - สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่        ๙ แห่ง

                        - ธนาคาร                                         ๓ แห่ง

                        - โรงเรียนมัธยมศึกษา                            ๒ แห่ง

                        - โรงเรียนประถมศึกษา                          ๔๑ แห่ง

                        - สหกรณ์                                         ๒ แห่ง

                        - ที่ทำการไปรษณีย์                              ๑ แห่ง

                        - หน่วยบริการผู้ใช้ไฟฟ้า                         ๑ แห่ง

                        - การประปาหมู่บ้าน                                    ๑๕๗ แห่ง

                        - บ่อน้ำบาดาล                                 ๑๓๗ แห่ง

                        - บ่อน้ำตื้น                                       ๓๒ แห่ง

การท่องเที่ยว

              ๑. ถ้ำพรสวรรค์ ตั้งอยู่ที่บ้านเขาตะบองนาค ตำบลลำพยนต์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์อยู่ห่างจากจังหวัดนครสวรรค์ประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร มีบันไดนาคถึงปากถ้ำ ซึ่งเป็นถ้ำหินปูนในถ้ำมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์และสระน้ำ สภาพอากาศภายในถ้ำสามารถปรับได้เองตามธรรมชาติ
กล่าวคือ ในฤดูร้อนจะเย็นสบาย ฤดูหนาวอากาศจะอบอุ่น และฤดูฝนก็จะเย็นสบาย บริเวณใกล้เคียงกันก็จะมีน้ำตกเล็ก ๆ เรียกว่าน้ำตกน้ำวิ่ง มีน้ำไหลผ่านตลอดปี

              ๒. ถ้ำผาสวรรค์ (ถ้ำคูหาโสภณ) อยู่ในเขตเขาชายธง บ้านหนองสะแก หมู่ที่ ๔
ตำบลเขาชายธง ภายในถ้ำจะมีพระพุทธรูปใหญ่ที่ชาวบ้านเคารพนับถือซึ่งสร้างมานานแล้ว จะมีช่องทางเดินภายในถ้ำติดต่อกับถ้ำอื่น ๆ อีกหลายถ้ำและมีค้างคาวอาศัยอยู่มากมาย ชาวบ้านนิยมมาเก็บมูลค้างคาวไปขาย และบางฤดูก็จะมีพระธุดงค์มานั่งวิปัสสนาในถ้ำ แต่ทางขึ้นค่อนข้างชันและปากถ้ำอยู่สูงจากพื้นราบมาก

  • วัดเขาชายธง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๒ ตำบลหนองเสลา บ้านเขาชายธง การคมนาคมสะดวกมีถนนลาดยางจากจังหวัดถึงวัด ประมาณ ๘๓ กิโลเมตร บริเวณวัดมีเนื้อที่ประมาณ ๓๐๙ ไร่ มีภูเขา ๒ ลูก คือ เขาชายธงและเขาขาด มีถ้ำ ๓ ถ้ำ คือ ถ้ำสองพี่น้อง ถ้ำทิพย์วิมาน อยู่ในบริเวณของเขาชายธงและถ้ำวิมุติสุขอยู่บริเวณเขาขาด

 

แผนที่การเดินทาง

Copyright © 2020 by ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโกรกพระ. All rights reserved.