No module Published on Offcanvas position
ครู กศน.ตำบลท่าน้ำอ้อย

รูปถ่าย

นายกานต์กวิน บุญเกษม

ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลท่าน้ำอ้อย

 เบอร์โทร 0817316695

 

S 240246794

นายกฤษฎา ใจมัง

ตำแหน่ง ครู

 เบอร์โทร 0889462965

 

แพลตฟอร์ม กศน.นครสวรรค์

จำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์
098567
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ผู้เข้าชมทั้งหมด
161
204
1564
95992
4364
3112
98567

Your IP: 192.168.1.1
2024-12-26 23:46

ข้อมูลทั่วไป ตำบลน้ำอ้อย

ข้อมูลพื้นฐานของ  กศน.ตำบลท่าน้ำอ้อย

ความเป็นมา

ในปี พ.ศ. 2541 สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ได้ประกาศจัดตั้ง      ศูนย์การเรียนชุมชนทั่วประเทศ  โดยใช้คำว่า ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลท่าน้ำอ้อย  โดยใช้ อาคารกลุ่มรวมใจใช้น้ำการเกษตร  ( คลองบ้านเหล็กพัฒนา )   หมู่ที่ 2  ตำบลท่าน้ำอ้อย  เป็นสถานที่จัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน ต่อมาในปี 2553 กระทรวงศึกษาธิการได้ยกระดับให้ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลทุกแห่งขึ้นเป็น กศน.ตำบล  เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ว่า “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ”  โดยใช้ชื่อว่า  กศน.ตำบลท่าน้ำอ้อย  ปัจจุบัน กศน.ตำบลท่าน้ำอ้อย ได้ย้ายที่ตั้ง มายังอาคารเรียนโรงเรียนบ้านเขาไม้เดน เป็นสถานที่ในการจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมต่างๆ โดยมีหัวหน้า กศน.ตำบล รับผิดชอบจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนในตำบล ปัจจุบันมี              นายกานต์กวิน บุญเกษม เป็นผู้รับผิดชอบ

กศน.ตำบลท่าน้ำอ้อย  มีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 จัดการเรียนการสอนผู้ไม่รู้หนังสือ เพื่อให้อ่านออกเขียนได้ การศึกษาใน ระดับประถมศึกษา           ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษาต่อเนื่อง การศึกษาเพื่อการมีงานทำการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยจัดให้มีบ้านหนังสืออัจฉริยะในชุมชน การจัดตั้ง กศน.ตำบล  มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันสำหรับผู้สนใจและประชาชนในชุมชน    

ที่ตั้ง

          อาคารโรงเรียนบ้านเขาไม้เดน หมู่ที่ 8  ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

          หมายเลขโทรศัพท์ 087-8506147

          หมายเลขโทรสาร -

          E-Mail  : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 บทบาทหน้าที่ภารกิจ กศน.ตำบล

          กศน.ตำบล เป็นหน่วยงานในสังกัด กศน. อำเภอ มีฐานะเป็นหน่วยจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน

กศน.ตำบล มีภาระกิจที่สำคัญ ดังนี้
1.  จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ในชุมชน อย่างน้อยปีละ 560 คน โดยจำแนกเป็นรายกิจกรรม  ดังนี้
   1.1 การศึกษานอกระบบ 260 คน ประกอบด้วย
        1.1.1 การศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 60 คน
        1.1.2 การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ จำนวน 20 คน
        1.2.3 การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต จำนวน 20 คน
        1.2.4 การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน จำนวน 60 คน
        1.2.5 การส่งเสริมการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 100 คน
   1.2 การศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 300 คน
2.  สร้าง และขยายภาคีเครือข่าย เพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน
3.  ส่งเสริมและสนับสนุน การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชนของภาคีเครือข่าย ทั้งในแง่ของความเข้มแข็งและความต่อเนื่องในการมีส่วนร่วม และศักยภาพในการจัด
4.  จัดทำระบบข้อมูล สถิติ และสารสนเทศ เกี่ยวกับประชากรกลุ่มเป้าหมายและผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาและแผนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งในระดับชุมชนหรือระดับจุลภาค ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และภาพรวมระดับประเทศของสำนักงาน กศน.
5.  จัดทำแผนงานโครงการ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประจำปีงบประมาณ เพื่อจัดกิจรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย และชุมชน และพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงานของ สำนักงาน กศน. สำนักงาน กศน. จังหวัด และ กศน. อำเภอ ที่สังกัด เพื่อการสนับสนุนงบประมาณ จาก กศน. อำเภอ ที่สังกัด โดยในกรณีของการจัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ยึดค่าใช้จ่ายรายหัวตามที่ มติคณะรัฐมนตรีกำหนด คูณด้วยจำนวนนักศึกษา 60 คน สำหรับกิจกรรมอื่นๆ นั้น จัดทำแผนงานโครงการเพื่อเสนอของบประมาณ ให้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจาก กศน. อำเภอ
6.  ประสานและเชื่อมโยงการดำเนินงาน การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของศูนย์การเรียนชุมชน และภาคีเครือข่ายในตำบล โดยมีการประสานแผนการดำเนินงานภายในตำบลที่รับผิดชอบและกับ กศน. อำเภอ ที่สังกัด ตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงาน บนพื้นฐานของความเป็นเอกภาพด้านนโยบายและความหลากหลายในการปฏิบัติ
7.  พัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในความรับผิดชอบ ตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อรับรองการประกันคุณภาพภายนอกของ กศน. อำเภอที่สังกัด
8.  รายงานผลการดำเนินงาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต่อ กศน.อำเภอ ที่สังกัด ตามแผนหรือข้อตกลงที่กำหนดไว้
9.  ปฏิบัติภารกิจอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย จาก กศน. อำเภอ สำนักงาน กศน. จังหวัด หรือ สำนักงาน กศน. และตามที่กฎหมาย กำหนด

  ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการวางแผน

สภาพทั่วไปตำบลท่าน้ำอ้อย

          ลักษณะทางภูมิศาสตร์

พื้นที่ของเทศบาลตำบลท่าน้ำอ้อย โดยทั่วไป เป็นที่ราบเรียบและที่ราบเชิงเขาบางส่วน มีเนินสูงอยู่ติดกับทางหลวงหมายเลข 32 ตอนบางปะอิน-พยุหะคีรี ด้านตะวันออกบริเวณที่ราบจะเป็น ที่ลุ่มแม่น้ำ สภาพดิน เป็นดินเนื้อละเอียดปนดินเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะกับการปลูกข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง และยาสูบ มีแหล่งน้ำสำคัญ คือ แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญในด้านชลประทาน สามารถส่งน้ำช่วงเหลือเกษตรกรรมในพื้นที่ เทศบาลและพื้นที่โดยรอบได้บางส่วน

          แผนที่ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

 image066

          ด้านทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลพยุหะ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เริ่มต้นที่หลักเขตที่ 1 ของเทศบาลตำบลท่าน้ำอ้อย – ม่วงหัก อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ไปทางทิศตะวันออกตามแนวเขตเทศบาลตำบลท่าน้ำอ้อย – ม่วงหัก หลักเขตที่ 2 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตามแนวคันนา ถึงบริเวณเนินฝอยทองบริเวณพิกัด PT270058 จากแนวคันนาต่อไปทางทิศตะวันออกถึงจุดกึ่งกลางสาธารณะ

          ด้านทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยมี แนวเขตเริ่มต้นจากจุดกึ่งกลางทางสาธารณะที่ต้นไม้ใหญ่บริเวณบ้านหางน้ำหนองแขมบริเวณพิกัด PT314031 ไปทางทิศชัยนาท ไปทางทิศใต้ผ่านทุ่งนาบริเวณพิกัดที่ PS311979 ไปถึงบริเวณพิกัดที่ PS280995 ตำบลท่าฉนวน อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท

          ด้านทิศใต้ ติดต่อกับตำบลท่าฉนวน อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท โดยมีแนวเขต เริ่มต้นจากจุดกึ่งกลางทางสาธารณะบริเวณพิกัด PS280995 ไปทางทิศตะวันตกตามแนวกึ่งกลางร่องน้ำสาธารณะไปทาง       ทิศตะวันตกบริเวณพิกัด   PT 235018 ไปตามทิศตะวันตกถึงถนนสายพหลโยธินบริเวณพิกัด PT 233018 ไปตามแนวถนนคลองชลประทางถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือโรงสูบน้ำที่ 1 โครงการท่าฉนวน – วัดโคก           บริเวณพิกัด ที่ PT212039

          ด้านทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลท่าฉนวน อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท โดยมีแนวเขตเริ่มต้นบริเวณโรงสูบน้ำ ที่ 1 โครงการท่าฉนวน – วัดโคกบริเวณพิกัดที่ PT 212039 ไปตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยาถึง หลักเขตที่ 1ของเทศบาล   ตำบลท่าน้ำอ้อย – ม่วงหัก

ข้อมูลด้านประชากร

          จำนวนประชากรจำแนกตามเพศและเขตพื้นที่ตำบลท่าน้ำอ้อย

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนครัวเรือน

จำนวนประชากร(คน)

จำนวนครัวเรือนในพื้นที่

ชาย

หญิง

รวม

เขต อบต.

เขตเทศบาล

1

บ้านท่ายายล่า

106

152

143

295

-

106

2

บ้านคลองบ้านเหล็ก

44

57

69

126

-

44

3

บ้านท่าดาน

63

76

83

159

-

63

4

บ้านทุ่งอ้ายดอก

96

147

148

295

-

96

5

บ้านท่าน้ำอ้อย

142

104

132

236

-

142

6

บ้านท่าตาทอง

43

66

79

145

-

43

7

บ้านท่าลานเตียน

43

51

47

98

-

43

8

บ้านเขาไม้เดน

131

146

192

338

-

131

 

รวม

668

799

893

1,692

-

668

ตำบลท่าน้ำอ้อย มีครัวเรือนอาศัยอยู่ จำนวน 1,692 ครัวเรือน อยู่ในเขตพื้นที่การปกครองเทศบาลตำบลทั้งหมดมีประชากรทั้งสิ้น 839 คน แยกเป็นประชากรชาย จำนวน 668 คนคิดเป็นร้อยละ 74.80 และประชากรหญิง จำนวน 799 คน คิดเป็นร้อยละ 89.47 ความหนาแน่นเฉลี่ย 94 คน/ตารางกิโลเมตร

จำนวนประชากรจำแนกตามช่วงอายุ

ช่วงอายุ (ปี)

จำนวน (คน)

ร้อยละของประชากรทั้งหมด (คน)

0   - 5

45

2.66

6   - 14

142

8.39

15   - 39

435

25.71

40   - 59

538

31.80

60   - 69

291

17.20

70   - 79

149

8.81

80   - 89

84

4.96

90   ปีขึ้นไป

4

0.24

รวม

1,692

100

          จากตารางจำนวนประชากรจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า ประชากรส่วนใหญ่ อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 40 – 59 ปี จำนวน 538 คน คิดเป็นร้อยละ 31.80 ลองลงมา อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 15 – 39 ปี จำนวน 435 คน คิดเป็นร้อยละ 25.71 ช่วงอายุระหว่าง 60 – 69 ปี จำนวน 291 คน คิดเป็นร้อยละ 17.20 ช่วงอายุระหว่าง 70 – 79 ปี จำนวน 149 คน คิดเป็นร้อยละ 8.81 ในช่วงอายุระหว่าง 6 – 14 มีจำนวน 142 คน         คิดเป็นร้อยละ 8.39 ในช่วงอายุระหว่าง 80 – 89 ปี จำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 4.96 ในช่วงอายุระหว่าง 0 – 5 ปี มีจำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 2.66 และอายุ 90 ปีขึ้นไป มีจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 0.24 ตามลำดับ

จำนวนผู้พิการจำแนกตามประเภทความพิการ

ประเภทผู้พิการ

จำนวนผู้พิการ (คน)

คิดเป็นร้อยละ

ชาย

หญิง

รวม

-ทางสมอง

-

-

-

-

-ทางสายตา

6

4

10

11.63

-ทางร่ายกาย

23

32

55

63.95

-พิการซ้ำซ้อน

-

-

-

-

-การได้ยิน

4

2

6

6.98

-จิตใจ/พฤติกรรม

3

4

7

8.14

-สติปัญญาการรับรู้

2

6

8

9.30

         

กลุ่มผู้พิการ เป็นกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในการที่จะเข้ารับบริการทางการศึกษาหรือเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้อยกว่าคนปกติทั่วไป อันเนื่องมาจากข้อจำกัดทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญาหรือความสามารถในการเรียนรู้ จากตารางข้อมูลจำนวนคนพิการในพื้นที่ตำบลท่าน้ำอ้อย จำแนกประเภทความพิการ ส่วนใหญ่       มีความพิการทางด้านร่างกาย จำนวน 55 คน ทางสายตา จำนวน 10 คน สติปัญญาการรับรู้ 8 คน              ทางด้านจิตใจ จำนวน 7 คน และการได้ยิน จำนวน 6 คน 

ข้อมูลด้านสังคม

ประชากรตำบลท่าน้ำอ้อยมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย อุปนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี ตั้งหมู่บ้านอยู่เป็นกลุ่ม มีความสัมพันธ์กันแบบเครือญาติ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีวัดเป็นศูนย์รวมของคนในสังคม ผู้คนมีความสามัคคียึดมั่นในวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น และวัฒนธรรมประเพณี

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

          อาชีพของประชาชนในตำบล

ด้านการประกอบอาชีพ ประชาชนในเขตเทศบาลส่วนใหญ่จะมีอาชีพเกษตรกรรม/เลี้ยงสัตว์และรับจ้างทั่วไป

          สถานการณ์แรงงาน

          ส่วนใหญ่จะรับจ้างและทำการเกษตร ไปเช้าเย็นกลับ มีแรงงานหลากหลายในแต่ละช่วงอายุ จำนวนหน่วยธุรกิจที่สำคัญของตำบลท่าน้ำอ้อย

ด้านการพาณิชยกรรมและบริการ มีร้านค้าและสถานบริการ ดังนี้

  • คลังน้ำมัน จำนวน 3        แห่ง
  • สถานีบริการน้ำมัน จำนวน 9        แห่ง
  • ร้านจำหน่ายก๊าซ จำนวน 3        แห่ง
  • ตลาดสดชั่วคราว จำนวน 1        แห่ง
  • ร้านค้าทั่วไป จำนวน 68        แห่ง
  • ร้านอาหาร จำนวน 17        แห่ง

ด้านการอุตสาหกรรม มีการดำเนินงานต่าง ๆ ดังนี้

  • ฟาร์มเลี้ยงไก่ จำนวน 2        แห่ง
  • ลานตากข้าว จำนวน 6        แห่ง
  • โรงงานผลิตหน่อไม้อัด จำนวน 1        แห่ง
  • โรงสีข้าว จำนวน 5        แห่ง
  • โรงงานผลิตปลาร้า จำนวน 2        แห่ง
  • โรงงานอุตสาหกรรม (บริษัท แดรี่พลัส จำกัด)   จำนวน 1        แห่ง

          กลุ่มอาชีพเศรษฐกิจชุมชน

  • กลุ่มประดิษฐ์จากผ้า
  • กลุ่มการทำขนม

ข้อมูลด้านการศึกษา

ตำบลท่าน้ำอ้อย มีสถานศึกษารวมทั้งหมด 5 แห่ง มีครูจำนวน 20 คน และมีนักเรียน               จำนวน 271 คน เป็นอัตราส่วนครู/อาจารย์ ต่อนักเรียน ประมาณ 1/13 คน ในแต่ละสถานศึกษาที่อยู่          ในเขตตำบลท่าน้ำอ้อย มีจำนวนนักเรียน นักศึกษา ดังนี้

1) โรงเรียนอนุบาลพยุหะคีรี (วัดพระปรางค์เหลือง) จำนวนนักเรียน  154 คน

2) โรงเรียนบ้านเขาไม้เดน                             จำนวนนักเรียน  22 คน

3) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาลพยุหะคีรี (วัดพระปรางค์เหลือง) จำนวนนักเรียน 20 คน

4) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านเขาไม้เดน        จำนวนนักเรียน 14 คน

5) กศน.ตำบล            1 แห่ง                     จำนวนนักเรียน 61  คน

ระดับการศึกษาของประชาชนในตำบล

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำแนกตามการศึกษาสูงสุด

หมายเหตุ

ไม่รู้หนังสือ

ต่ำกว่าประถม

ประถม

ม.ต้น

รวม

1

บ้านท่ายายล่า

5

15

119

44

183

 

2

บ้านคลองบ้านเหล็ก

2

8

61

10

81

 

3

บ้านท่าด่าน

5

6

70

14

95

 

4

บ้านทุ่งอ้ายดอก

14

9

161

54

238

 

5

บ้านท่าน้ำอ้อย

2

22

87

28

139

 

6

บ้านท่าตาทอง

5

10

70

16

101

 

7

บ้านท่าลานเตียน

4

2

52

14

72

 

8

บ้านเขาไม้เดน

10

12

231

20

273

 

รวม

47

84

851

200

1,242

 

คิดเป็นร้อยละ

4.78

7.60

70.52

17.10

100

 

         

จากตารางข้อมูลระดับการศึกษาของประชาชนในตำบลท่าน้ำอ้อย พบว่า จำแนกตามการศึกษาสูงสุดระดับประถม จำนวน 851 คน คิดเป็นร้อยละ 70.52 ลองลงมา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 200 คน คิดเป็นร้อยละ 17.10 ระดับต่ำกว่าประถมศึกษา จำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 7.60 และไม่รู้หนังสือ จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 4.78

กศน.ตำบลท่าน้ำอ้อย ในรอบปีที่ผ่านมามีจำนวนนักศึกษาทั้งหมด 54 คน แยกตามระดับ ดังนี้

ภาคเรียนที่ 2/2562

                   -ระดับประถมศึกษา                          จำนวน - คน

                   -ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น          จำนวน 19 คน

                   -ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย                 จำนวน 35 คน

          ในการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ภาคเรียนที่ 2/2562   มีนักศึกษาจำนวนที่ลงทะเบียนเรียน ทั้งหมด 54 คน มีนักศึกษาคงอยู่ จำนวน 54 คน มีผู้เข้า จำนวน 22 คน และมีผู้จบหลักสูตรทั้งหมด 9 คน คิดเป็นร้อยละ 23.33 แยกตามระดับ ดังนี้                                                                                                                                                                                                                          

                   - ระดับประถมศึกษา                 จำนวน - คน     จบหลักสูตร จำนวน - คน

                   - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 11 คน   จบหลักสูตร จำนวน 6 คน

                   - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย       จำนวน 12 คน   จบหลักสูตร จำนวน 8 คน

ภาคเรียนที่ 1/2563

-ระดับประถมศึกษา                          จำนวน - คน

                   -ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น          จำนวน 18 คน

                   -ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย                 จำนวน 30 คน

          ในการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ภาคเรียนที่ 1/2563          มีนักศึกษาจำนวนที่ลงทะเบียนเรียน ทั้งหมด 48 คน มีนักศึกษาคงอยู่ จำนวน 48 คน มีผู้เข้าสอบ         จำนวน 22 คน และมีผู้จบหลักสูตรทั้งหมด 2 คน คิดเป็นร้อยละ 9.09 แยกตามระดับ ดังนี้

                   -ระดับประถมศึกษา                 จำนวน - คน   จบหลักสูตรจำนวน - คน

                   -ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 1 คน    จบหลักสูตรจำนวน 1 คน

                   -ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย       จำนวน 1 คน    จบหลักสูตรจำนวน 1 คน

     จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า มีจำนวนผู้จบหลักสูตรค่อนข้างน้อย เนื่องจากมีภาระต้องทำงานจึงมาสอบไม่ได้

ปัญหาและความต้องการทางการศึกษาของประชาชนที่จำแนกตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย

          ด้านการรู้หนังสือ ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านอาชีพ ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษาตามอัธยาศัย

กลุ่มเป้าหมาย

ปัญหา

ความต้องการ

แนวทางการแก้ไข

ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1. นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่า 2.00

2. ครูมีภาระงานอื่นหลายด้าน จึงทำให้กระบวนการจัดการเรียนการสอน ไม่บรรลุไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

3. หลักสูตรรายวิชาในการจัดการเรียนการสอนมาก

1. นักศึกษาต้องการมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูง เพื่อใช้ประกอบการศึกษาต่อและการมีงานทำ

2. ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้เหมาะสมกับสภาพผู้เรียน

3. ปรับโครงสร้างหลักสูตรให้เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอน

1. จัดสอนเสริมเติมเต็มความรู้

2. ครูใช้เทคโนโลยีมาช่วยในกระบวนการสอน เช่นการจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบ                google classroom

3. บูรณาการแผนการสอนให้เหมาะสมต่อสภาพผู้เรียน

ด้านอาชีพ

1. ในการจัดกิจกรรมตรงกับฤดูกาลเพาะปลูก และเก็บเกี่ยวผลผลิต

1. จัดกิจกรรมภายหลังฤดูกาลปลูกและเก็บเกี่ยว

1. วางแผนการจัดกิจกรรมตามความต้องการของผู้เรียน

ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต

1. วิทยากรให้ความรู้ยังไม่เชี่ยวชาญ ในเรื่องที่สอน

1. ให้หน่วยงานที่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆมาสอน

1. ติดต่อประสานงานภาคีเครือข่ายมาให้ความรู้

ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน

1. หลักสูตรไม่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน

1. ประชาชนต้องการเรียนรู้เรื่องใกล้ตัว และสามารถนำไปใช้ได้จริงในการดำเนินชีวิต

1. จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้รับบริการ

ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1. ผู้รับบริการไม่นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

1. ศึกษาดูงานในพื้นที่เชิงประจักษ์

1. เน้นย้ำและปลูกจิตสำนึกในเรื่องที่ยังขาดอยู่และติดตามอย่างสม่ำเสมอ

ด้านการศึกษาตามอัธยาศัย

1. ประชาชนส่วนใหญ่ไม่สนใจอ่านหนังสือ

2. ความทันสมัยของเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากเกินไป

1. ขยายพื้นที่การให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

1. ส่งเสริมการรักการอ่านผ่านสมาร์ทโฟน


ตารางวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข

สภาพปัญหา/ความต้องการ

สาเหตุของปัญหา

แนวทางแก้ไข

1. ด้านเศรษฐกิจ

1. รายได้ไม่เพียงพอเลี้ยงชีพ

1. ราคาผลผลิตตกต่ำ

1. ส่งเสริมให้ประชาชนมีอาชีพที่สามารถเลี้ยงตนเองได้

2. ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค

2. ด้านสังคม

1. ปัญหาความยากจน

2. ครอบครัวแตกแยก พ่อแม่แยกทาง

1. ส่งเสริมอาชีพ ชี้แนะแนวทางช่องทางประกอบอาชีพ

2. อบรมการศึกษาต่อเนื่อง ทักษะการใช้ชีวิต

3. ด้านการศึกษา

1. หลักสูตรไม่เอื้อต่อการเรียนรู้

2. ครูไม่มีความเชี่ยวชาญ

1. พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร

2. ครูต้องได้รับการอบรมกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้


ตารางวิเคราะห์การประเมินผลและปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา

ผลการประเมินปัญหาและอุปสรรค

แนวทางการพัฒนา

ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1. นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ

1. จัดโครงการสอนเสริมเติมความรู้ให้กับนักศึกษา

ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต

1. วิทยากรให้ความรู้ยังไม่เชี่ยวชาญ ในเรื่องที่สอน

1. ติดต่อประสานงานภาคีเครือข่ายมาให้ความรู้

ด้านอาชีพ

1. 1. ในการจัดกิจกรรมตรงกับฤดูกาลเพาะปลูก และเก็บเกี่ยวผลผลิต

1. วางแผนการจัดกิจกรรมตามความต้องการของผู้เรียน

ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน

1. หลักสูตรไม่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน

1. จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้รับบริการ

ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1. ผู้รับบริการไม่นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

1. เน้นย้ำและปลูกจิตสำนึกในเรื่องที่ยังขาดอยู่และติดตามอย่างสม่ำเสมอ

ด้านการศึกษาตามอัธยาศัย

1. ประชาชนส่วนใหญ่ไม่สนใจอ่านหนังสือ

2. ความทันสมัยของเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากเกินไป

1. ส่งเสริมการรักการอ่านผ่านสมาร์ทโฟน

Super User