กศน.ตำบลสระทะเล หมู่ที่ 3 ต.สระทะเล อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 60130 080-3420235 NFE.sathale@gmail.com จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.
ครู กศน.ตำบลสระทะเล

รูปพนักงานราชการ อานนท์

นายอานนท์   สอนทอง

ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลสระทะเล

 

แพลตฟอร์ม กศน.นครสวรรค์

จำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์
111482
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ผู้เข้าชมทั้งหมด
28
69
864
110193
2150
2793
111482

Your IP: 192.168.1.1
2024-04-28 16:32

วัดสระทะเล

ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

11111

ประวัติความเป็นมาของแหล่งเรียนรู้

         วัดสระทะเล ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2357 ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 42 หมู่ที่ 3 บ้านสระทะเล ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ หมู่บ้านสระทะเล เดิมชื่อหนองทะเล เพราะอยู่ข้างหนองน้ำ ต่อมาหลวงพ่อเทศได้เดินทางมาที่หมู่บ้านและขอตั้งวัดด้านทิศใต้ของหนองน้ำ และทำหนองน้ำให้เป็นสระเนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ จึงเปลี่ยนชื่อจากหนองทะเล เป็นสระทะเลซึ่งเป็นที่มาของวัดสระทะเล โดยหลวงพ่อเทศเป็นผู้สร้างวัดสระทะเล ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2432

         ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่สำคัญที่เป็นแหล่งยึดเหนียวจิตใจของชาวบ้านในตำบลสระทะเล ซึ่งภายในวัดร่มรื่นและยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือหลวงพ่อเทศ ที่ชาวบ้านต่างให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก หลวงพ่อเทศ เป็นเกจิยุคเก่าซึ่งนับเป็นอาจารย์องค์หนึ่งของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ ซึ่งหลวงพ่อเทศมีความเก่งด้านอาคมขลัง ทางน้ำมนต์ มีวาจาสิทธิ์ เชี่ยวชาญเรื่องวิปัสสนากรรมฐาน

การบริหารและการปกครอง

          มีเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันคือ พระอธิการจำเนียร สิริธมโม

ที่ดินที่ตั้งวัด

      มี่เนื้อที่ 60 ไร่ 1 งาน 78 ตารางวา

          ทิศเหนือ         จดที่ดินเอกชน

          ทิศใต้            จดทางสาธารณะประโยชน์

          ทิศตะวันออก   จดที่ดินเอกชน และทางสาธารณะประโยชน์

          ทิศตะวันออก   จดที่ดินเอกชน

องค์ความรู้ในแหล่งเรียนรู้         

               เหรียญหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล ปร 2495 เนื้ออัลปาก้า เลี่ยมจับขอบเงินโบราณ หายากมาก หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ เป็นพระอาจารย์ผู้ถ่ายทอดวิชาทำมีดให้หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพและหลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว หลวงพ่อเทศเป็นศิษย์หลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว อำเภอพยุหะคีรี ซึ่งหลวงพ่อขำ วัดเขาแก้วเป็นศิษย์สืบทอดพุทธาคมมาจากหลวงพ่อเฒ่ารอด ปรมาจารย์ผู้สร้างวัดหนองโพ  แต่ท่านไม่ได้สร้างเหรียญ ทึกเหรียญจึงสร้างภายหลังท่านมรณะทั้งสิ้น แต่เรื่องความขลังขนาด เหรียญปั๊มรูปเสมา ทางวัดสระทะเลได้สร้างเหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อเทศขึ้นจำนวนหนึ่ง แล้วนำไปให้หลวงพ่อเดิมปลุกเสกเพื่อให้เกิดความขลัง เมื่อเอาเหรียญทั้งหมดห่อผ้าขาววางไว้บนพานนำไปถวายท่าน หลวงพ่อเดิมรับมาแล้วไม่ได้แก้ห่อออก ท่านกลับยกขึ้นเหนือศีรษะท่านแล้วส่งคืน กำชับว่า”ของดีแล้ว ไม่ต้องปลุกเสกเลยดีอยู่ในตัว”ทั้งๆที่กรรมการวัดก็ไม่ได้บอกท่านว่าเป็นหลวงพ่อเทศ กรรมการวัดไม่เชื่อนำกลับไปลองยิง ปรากฏว่า ปืนด้านหมด

 

จุดเริ่มต้นหรือแนวคิดของแหล่งเรียนรู้

                   ในชุมชนต่างๆ มีภูมิปัญญาอยู่หลายด้านและบางแห่งเคยเป็นเมืองเก่ามาก่อน จึงมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมายที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ชนรุ่นหลัง ได้ศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ สามารถเป็นแหล่งการเรียนรู้ได้ดี 
                  แหล่งการเรียนรู้ที่ดี และมีความหลากหลายในด้านการศึกษาหาความรู้ เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี บุคคลสำคัญในท้องถิ่น และภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้ ทั้งในระบบ / นอกระบบการศึกษา และตามอัธยาศัย จากแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น สามารถนำมาจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น โดยไม่ทำให้จุดประสงค์และคาบเวลาเรียนเปลี่ยนแปลงไปจากที่กำหนดไว้ในหลักสูตร เริ่มจากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ นำมากำหนดเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ กำหนดเนื้อหาสาระ จัดแนวทางในการจัดกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล และนำมาจัดทำเป็นแผนการสอนและนำหลักสูตรไปใช้ทั้งนี้เพื่อให้ 
     (1) นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องราวของตนเอง จากแหล่งการเรียนรู้จริงในท้องถิ่น เกิดความรักความภาคภูมิใจ และสามารถมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและพัฒนาท้องถิ่นของตนได้ 
     (2) นำข้อมูลพื้นฐานจากแหล่งการเรียนรู้มาจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่นให้นักเรียนมีประสบการณ์ตรง จากแหล่งการเรียนรู้และสามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้มาใช้ในชีวิตจริง 
     (3) ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น และสามารถนำทักษะกระบวนการเรียนรู้ และ ประสบการณ์การเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ ทำให้เป็นผู้ใฝ่รู้ และเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 

แหล่งเรียนรู้ : เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล

หมู่ที่ 4 บ้านวังตะแบก ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

เศรฐกิจ

ประวัติความเป็นมาของแหล่งเรียนรู้

                 ตามที่ สำนักงาน กศน.ร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) จะดำเนินการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล เพื่อขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ประชาชน โดยสร้างความร่วมมือจัดตั้งหมู่บ้านการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท สนับสนุนแนวทางการเผยแพร่องค์ความรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ผ่านกลไกทางการศึกษาของ กศน. ให้บุคลากร นักศึกษา กศน. ตลอดจนประชาชนได้ตระหนักรู้ เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเห็นความสำคัญของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
                สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครสวรรค์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคนด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงตั้งศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล เป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงานด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล โดยในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลนี้ กศน.ตำบลดำเนินการสำรวจรวบรวมแหล่งเรียนรู้ ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาที่ประสบความสำเร็จในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต มาจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล

 

องค์ความรู้ในแหล่งเรียนรู้

      เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

       - การเพาะเห็ดฟางในตระกร้า

       - การปลูกผักปลอดสารพิษ

       - การปลูกมะนาวในวงบ่อ

       - การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ   

       - การทำปุ๋ยดิน

จุดเริ่มต้นหรือแนวคิดของแหล่งเรียนรู้

              ในชุมชนต่างๆ มีภูมิปัญญาอยู่หลายด้านและบางแห่งเคยเป็นเมืองเก่ามาก่อน จึงมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมายที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ชนรุ่นหลัง ได้ศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ สามารถเป็นแหล่งการเรียนรู้ได้ดี 
      แหล่งการเรียนรู้ที่ดี และมีความหลากหลายในด้านการศึกษาหาความรู้ เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี บุคคลสำคัญในท้องถิ่น และภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้ ทั้งในระบบ / นอกระบบการศึกษา และตามอัธยาศัย จากแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น สามารถนำมาจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น โดยไม่ทำให้จุดประสงค์และคาบเวลาเรียนเปลี่ยนแปลงไปจากที่กำหนดไว้ในหลักสูตร เริ่มจากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ นำมากำหนดเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ กำหนดเนื้อหาสาระ จัดแนวทางในการจัดกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล และนำมาจัดทำเป็นแผนการสอนและนำหลักสูตรไปใช้ทั้งนี้เพื่อให้ 
     (1) นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องราวของตนเอง จากแหล่งการเรียนรู้จริงในท้องถิ่น เกิดความรักความภาคภูมิใจ และสามารถมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและพัฒนาท้องถิ่นของตนได้ 
     (2) นำข้อมูลพื้นฐานจากแหล่งการเรียนรู้มาจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่นให้นักเรียนมีประสบการณ์ตรง จากแหล่งการเรียนรู้และสามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้มาใช้ในชีวิตจริง 
     (3) ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น และสามารถนำทักษะกระบวนการเรียนรู้ และ ประสบการณ์การเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ ทำให้เป็นผู้ใฝ่รู้ และเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต