กศน.ตำบลสระทะเล หมู่ที่ 3 ต.สระทะเล อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 60130 080-3420235 NFE.sathale@gmail.com จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.
ครู กศน.ตำบลสระทะเล

รูปพนักงานราชการ อานนท์

นายอานนท์   สอนทอง

ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลสระทะเล

 

แพลตฟอร์ม กศน.นครสวรรค์

จำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์
111461
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ผู้เข้าชมทั้งหมด
7
69
843
110193
2129
2793
111461

Your IP: 192.168.1.1
2024-04-28 03:54

องค์ความรู้และการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

นางมิน มีมุข    ด้านการจักสาน     สาขา การส่งเสริมอาชีพ

4

ประวัติชีวิตและผลงาน

          ชื่อ นางมิน มีมุข อายุ 85 ปี      เกิดวันที่ - เดือน- พ.ศ. 2475    ที่อยู่ บ้านเลขที่ 35 หมู่ 10 ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญ

          เป็นปราชญ์ชุมชน มีความรู้และเชี่ยวชาญในเรื่องการจักสานจากไม้ไผ่ เช่น กระบุง ตะกร้า ตะแกรงกระด้ง โดยนำองค์ความรู้ที่บรรพบุรุษสอนสืบทอดต่อมา ประยุกต์ในการจักสานรูปแบบต่างๆ ซึ่งใช้วัสดุไม้ไผ่ในท้องถิ่น

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ปราชญ์ชุมชน จะต้องผู้ที่ประกอบสัมมาชีพ จนมีความรู้ความชำนาญในการประกอบอาชีพ หรือมีความเชี่ยวชาญในอาชีพนั้นๆ ประสบความสำเร็จและมีความมั่นคงในอาชีพเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน พร้อมมีจิตอาสาที่จะถ่ายทอดและขยายผลไปยังบุคคลอื่นๆ ในชุมชน

วิธีการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การปฏิบัติ

         เป็นปราชญ์ชุมชน มีความรู้และเชี่ยวชาญในเรื่องการจักสานจากไม้ไผ่ เช่น กระบุง ตะกร้า ตะแกรงกระด้ง โดยนำองค์ความรู้ที่บรรพบุรุษสอนสืบทอดต่อมา ประยุกต์ในการจักสานรูปแบบต่างๆ ซึ่งใช้วัสดุไม้ไผ่ในท้องถิ่น

         - การสานกระบุง/ตะกร้า ประโยชน์ เก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่ว

         - การสานตะแกรง ประโยชน์ ในการตากปลา ตากเมล็ดพันธุ์ต่างๆ

         - การสานกระด้ง ประโยชน์ ใช้สำหรับฟัดข้าว เมล็ดพันธุ์พืช

 ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน

         สามารถถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้ที่สนใจ คำนึงถึงการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม มีการประกอบอาชีพโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

มีส่วนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

          โดยการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้ที่สนใจ ร่วมกับหน่วยงานเครือข่าย เช่น พัฒนาชุมชน กศน.ตำบลสระทะเล

 

องค์ความรู้และการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

นายคฑาวุธ มีมุข   ด้าน ศิลปกรรม   สาขา การแสดงการละเล่นพื้นบ้านการเต้นกำรำเคียว

                         

  บย

 

ประวัติชีวิตและผลงาน

          ชื่อ นายคฑาวุฒิ มีมุข      ที่อยู่ บ้านเลขที่ - หมู่ที่ 2 ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์  โทรศัพท์ 084-8108686

องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญ

          การแสดงเต้นกำรำเคียว เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่เก่าแก่แบบหนึ่งของชาวชนบทในภาคกลางของไทย  แถบจังหวัดนครสวรรค์ ที่อำเภอพยุหะคีรี ซึ่งแต่เดิมประชาชนส่วนมากยึดอาชีพการทำนาเป็นหลักและด้วยนิสัยรักสนุก  ประกอบกับการเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนของไทยด้วย จึงได้เกิดการเต้นกำรำเคียวขึ้น ซึ่งในเนื้อเพลงแต่ละตอนจะสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านอย่าง ชัดเจน ลักษณะการรำไม่อ่อนช้อยเช่นการรำไทยทั่ว ๆ ไป จะถือเอาความสนุกเป็นใหญ่ จะมีทั้ง “เต้น” และ “รำ” ควบคู่กันไป ส่วนมือทั้งสองของผู้รำข้างหนึ่งจะถือเคียว อีกข้างหนึ่งถือต้นข้าวที่เกี่ยวแล้ว จึงได้ชื่อว่า “ เต้นกำรำเคียว”

จจปัจจัยแห่งความสำเร็จ

   1. ความรักในอาชีพการเกษตร

   2. ความตั้งใจ อดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค

   3. ต้องการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีของตำบลสระทะเล

 

วิธีการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การปฏิบัติ

          การถ่ายทอดความรู้มีหลายรูปแบบ เช่น มีการนำประชาชน นักเรียน และนักศึกษา มาศึกษาดูงาน โดยตนเองถ่ายทอดความรู้ด้วยการพาไปดูสถานที่จริง

จจ

 

ลักษณะการแสดง

          จะแบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง สำหรับฝ่ายชายเรียกว่า “พ่อเพลง” ฝ่ายหญิงจะเรียกว่า “แม่เพลง” เริ่มด้วยพ่อเพลงร้องชักชวนแม่เพลงให้ออกมาเต้นกำรำเคียวโดยร้องเพลงและเต้น ออกไปรำล่อฝ่ายหญิง และแม่เพลงก็ร้องและรำแก้กันไป ซึ่งพ่อเพลงนี้อาจเปลี่ยนไปหลายๆ คน ช่วยกันร้องจนกว่าจะจบเพลง ส่วนผู้ที่ไม่ได้เป็นพ่อเพลงแม่ก็ต้องเป็น “ลูกคู่” ปรบมือและร้องเฮ้ เฮ้ว ให้จังหวะ

โอกาสที่แสดง

        การเต้นกำรำเคียวจะเล่นกันในฤดูเกี่ยวข้าว ซึ่งเมื่อถึงฤดูเกี่ยวข้าวชาวนามักมีการเอาแรงกันโดยต่างฝ่ายต่างไปช่วยกัน เกี่ยวข้าวจะไม่มีการว่าจ้างกัน ขณะที่มีการเกี่ยวข้าวนั้น เขามักจะมีการร้องเพลงเกี่ยวข้าวกันไปด้วย โดยร้องแก้กันระหว่างฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และเมื่อหยุดพักการเกี่ยวข้าว ประมาณตะวันบ่ายคล้อยแล้วการเต้นกำรำเคียวจึงเริ่มเล่น

การแต่งกาย 

         ฝ่ายชายจะนุ่งกางเกงขาก๊วยและเสื้อกุยเฮงสีดำ มีผ้าขาวม้าคาดพุง สวมงอบและไม่สวมรองเท้า ฝ่ายหญิงจะนุ่งโจงกระเบนและเสื้อแขนกระบอกสีดำทั้งชุดเช่นกัน ทัดดอกไม้ที่หูขวาและไม่สวมรองเท้าผู้แสดงทุกคนต้องถือเคียวในมือขวาและถือ รวงข้าวในมือซ้ายด้วย

สถานที่เล่น 

         เล่นกันในท้องนาที่เกี่ยวข้าว หรือลานดินกว้างๆ ในท้องนา ปัจจุบันมีผู้สนใจการแสดงชนิดนี้มากขึ้นจึงนำมา

ดนตรีที่ใช้

        ตามแบบฉบับของชาวบ้านเดิม ไม่มีดนตรีประกอบ เพียงแต่ลูกคู่ทุกคนจะตบมือ และร้องเฮ้ เฮ้วให้จังหวะ แต่เมื่อกรมศิลปากรนำไปดัดแปลง ก็ใช้ระนาดเป็นเสียงดนตรีประกอบในท่าเดินเข้า -ออก

อุปกรณ์ในการเล่น 
         เคียวเกี่ยวข้าวคนละ 1 เล่ม พร้อมกับกำรวงข้าวคนละ 1 กำ 

วิธีเล่น 

         ในการเล่นจะแบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายชายและฝ่ายหญิง แต่ละฝ่ายจะยืนอยู่คนละครึ่งวงกลม แต่ละคนถือเคียวเกี่ยวข้าวไว้ด้วยมือขวา ส่วนมือซ้ายกำรวงข้าวไว้ เมื่อการเล่นเริ่มต้นขึ้น ฝ่ายชายที่เป็นพ่อเพลง จะเป็นผู้เต้นออกไปกลางวง ตามจังหวะปรบมือของลูกคู่ พ่อเพลงจะร้องชักชวนแม่เพลงก่อน เพื่อให้ออกมาเพลงแรกคือ เพลงมา สำหรับลูกคู่ที่เป็นชาย จะนำเคียวและรวงข้าวมาเหน็บไว้ข้างหลัง เพื่อตบมือให้จังหวะ ส่วนลูกคู่ฝ่ายหญิงยังคงถือเคียว และรวงข้าวเหมือนเดิม แล้วเดินตามกันไปเป็นวงกลม สำหรับพ่อเพลงและแม่เพลงนั้น จะเปลี่ยนกันหลายคนก็ได้ นอกนั้นก็เป็นลูกคู่คอยร้องรับ

         นอกจากนี้ยังมีการรำร่อ หรือเรียกว่า “รำกำ” กล่าวคือ เมื่อพ่อเพลงเดินเข้าไปใกล้แม่เพลง ก็หาทางเข้าใกล้ฝ่ายหญิงให้มากที่สุด เมื่อสบโอกาสก็ใช้ด้ามเคียวหรือข้อศอก กระทุ้งให้ถูกตัวฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงจะใช้เคียวและรวงข้าวปัดป้อง ถ้าหากพ่อเพลงเข้าไปผิดท่า ก็อาจถูกรวงข้าวฟาด การร่อกำนี้ พ่อเพลงที่เต้นเก่งๆ จะทำได้น่าดูมาก เพราะท่าทางสวยงามเป็นที่สนุกสนานครื้นเครง ในขณะที่ร้องพ่อเพลงจะแสดงท่าทางให้สอดคล้องกับเนื้อเพลงด้วย ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 11 บท

ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน

         การเป็นวิทยากรถ่ายทอดการอนุรักษ์ศิลปกรรม การแสดงการละเล่นพื้นบ้านการเต้นกำรำเคียวแสดงถึงความเป็นความเป็นวัฒนธรรมการทำการเกษตรของบรรพบุรุษในครั้งอดีต

มีส่วนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

         โดยการเป็นวิทยากรถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้ที่สนใจ อนุรักษ์ศิลปกรรม การแสดงการละเล่นพื้นบ้านการเต้นกำรำเคียว