วิสัยทัศน์
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโกรกพระ จะเป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและมีทักษะที่จำเป็นในโลกศตวรรษที่ 21
พันธกิจ
1. จัดและส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อยกระดับการศึกษาและสมรรถนะในการเรียนรู้และการแก้ปัญหา พัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิตและสังคม
2. ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่าย
3. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน โดยการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของคนในชุมชนและส่งเสริมบทบาทของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และศูนย์การเรียนในรูปแบบต่าง ๆ
4. ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
5. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้สามารถจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จ
เป้าประสงค์ |
ตัวชี้วัดความสำเร็จ |
1. ประชาชนได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง ครอบคลุม และเป็นธรรม |
1. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายต่างๆที่ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ครอบคลุมและเป็นธรรม 2. ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับบริการที่มีความพึงพอใจต่อการให้บริการของสถานศึกษา |
2. ประชาชนได้รับการยกระดับการศึกษา สร้างเสริมและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นพลเมืองดีและน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน |
ร้อยละ 80 ของผู้เรียน/ผู้รับบริการที่มีผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมายการเรียนรู้แต่ละหลักสูตรหรือกิจกรรมการเรียนรู้ สามารถสร้างเสริมและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นพลเมืองดีและน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน |
3. ชุมชนและภาคีเครือข่ายส่งเสริม สนับสนุนและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย |
ร้อยละ 100 ของชุมชนและภาคีเครือข่ายที่เพิ่มขึ้นในการเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย |
4.พัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่มีอยู่อย่างทั่วถึงและเพิ่มโอกาสและช่องทางการศึกษาการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่มีคุณภาพและสนองตอบความต้องการของประชาชน |
ร้อยละ100 ของแหล่งเรียนรู้ได้รับการพัฒนาได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพและสนองตอบความต้องการของประชาชน ร้อยละ 80 ของผู้เรียน/ผู้รับบริการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของสถานศึกษา |
5.สถานศึกษานำเทคโนโลยีทางการศึกษา เทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการจัดการเรียนรู้และเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ให้กับประชาชน และนำการสื่อสารมาใช้ในการบริหารองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ |
1. ร้อยละ 100 สถานศึกษานำเทคโนโลยีทางการศึกษา เทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการจัดการเรียนรู้และเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ให้กับประชาชน 2. ร้อยละ 80 ของผู้รับบริการที่มีความพึงพอใจต่อการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เทคโนโลยีดิจิทัล และการสื่อสารของสถานศึกษา |
6. สถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการที่เป็นไปตามหลักธรรมภิบาล สามารถจัดบริการตอบสนองกับสภาพและความต้องการของผู้เรียนและผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
ร้อยละ 100 ของสถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการที่เป็นไปตามหลักธรรมภิบาล สามารถจัดบริการตอบสนองกับสภาพและความต้องการของผู้เรียนและผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ |