ทิศทางการทำงานของสถานศึกษา
ปรัชญา : เสริมความรู้ สร้างคนดี มีวิถีชีวิตพอเพียง
วิสัยทัศน์ : กศน.อำเภอตาคลี มุ่งเน้นการศึกษาตลอดชีวิต ให้คนคิดเป็น เน้นชุมชนเป็นฐาน ดำรงตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ
1. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาครู บุคลากรทุกตำแหน่งให้มีความรู้ มีทักษะในการจัดกระบวนการ จัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ
2. ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพและการ เรียนรู้ตลอดชีวิตภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีทักษะที่จําเป็นในโลกศตวรรษที่ 21
3. ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตร รูปแบบการจัดการเรียนรู้ สื่อและนวัตกรรม การ วิจัย การวัดผลและประเมินผล ให้สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่
4. ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษานําเทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายจัดส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย
6. พัฒนาระบบการบริหารจัดการ เพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีประสิทธิภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล
อัตลักษณ์ : อาชีพพอเพียง
เอกลักษณ์ : อาชีพเสริม เพิ่มรายได้
ประวัติความเป็นมาของ กศน.อำเภอตาคลี
จังหวัดนครสวรรค์มีเขตพื้นที่การปกครองแบ่งออกเป็นอำเภอทั้งหมด 15 อำเภอ อำเภอ ตาคลีเป็นหนึ่งในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีประวัติและตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เรื่องพระสังข์ อันเป็นที่มาของประวัติอำเภอตาคลีชื่อของอำเภอตาคลีกล่าวกันว่าเพี้ยนมาจากคำว่า "ตีคลี" หรือ "เดาะคลี"
ตำนานเมืองพระสังข์ในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเรื่องสังข์ทองส่วนหนึ่งเป็นตำนานของอำเภอตาคลี ความว่านางจันทร์เทวี มเหสีท้าวยศวิมลคลอดโอรสเป็นหอยสังข์ โหรทำนายว่าจะเป็นกาลกินีจึงถูกขับไล่ออกจากเมืองและถูกจับถ่วงน้ำ พระยานาคได้ช่วยชีวิตไว้และ ส่งพระสังข์ไปอยู่กับนางพันธุรัตน์ ต่อมาพระสังข์ทราบว่าแม่เลี้ยงของตนเป็นยักษ์ จึงคิดหลบหนีเพื่อสืบหานางจันทร์เทวีแม่ที่แท้จริง พระสังข์ได้ชุบตัวในบ่อทองแล้วสรวมรูปเงาะ ใส่เกือกแก้ว ถือไม้เท้าวิเศษแล้วเหาะหนีไปครั้นเมื่อนางยักษ์กลับจากหาอาหารไม่พบพระสังข์จึงเหาะตามหาและมาทันพระสังข์ที่เขาหน่อ อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ พระสังข์หนีขึ้นไปบนยอดเขาแล้วอธิษฐานว่า"ด้วยบุญญาบารมีของข้าพเจ้า ถ้าจะมีโอกาสกลับไปพบแม่ที่แท้จริงของตนแล้วก็ขออย่าให้นางยักษ์ขึ้นไปบนยอดเขาได้ นางยักษ์ได้แต่ร้องไห้รำพึงรำพันถึงความรักของตนที่มี ต่อพระสังข์อ้อนวอนให้พระสังข์ลงมาหาแต่ นางยักษ์ก็ต้องสิ้นหวังก่อนตายนางบอกพระสังข์ว่า "แม่คงต้องตายอย่างแน่นอนถ้าหากลูกไม่กลับไปอยู่กับแม่แม่ขอลาตาย แต่ก่อนตายแม่ขอให้ลูกท่องมนต์วิชาเรียกเนื้อ เรียกปลา แม่จะเขียนไว้ที่ก้อนหินเชิงเขาหน่อ ลูกรักของแม่จะได้มีวิชาติดตัวไปในอนาคต" เมื่อนางยักษ์เขียนเสร็จก็สิ้นใจตาย ปัจจุบันยังมีร่อยรอยขีดเขียนอยู่ที่เชิงเขาหน่อเป็นหลักฐานแต่ไม่มีใครอ่านออกและศพนางยักษ์พันธุรัตน์ก็กลายเป็นภูเขาหินเรียกว่าเขานางพันธุรัตเมื่อพระสังข์เรียนวิชาเสร็จแล้วก็เหาะมาถึงเมืองสามล ท้าวสามล มีลูกสาว 7 คน ซึ่งในขณะนั้นเป็น เวลาที่ลูกสาวทั้ง 7 จะเลือกคู่ครองและลูกสาวทั้งหกของท้าวสามลก็เลือกคู่ครองเป็นเจ้าชาย เหลือแต่ลูกสาวคนที่ 7 คือ นางรจนาไม่สนใจที่จะเลือกเจ้าชาย แต่กลับเสี่ยงพวงมาลัยเลือกชายคนหนึ่งที่มีรูปร่างหน้าตาขี้เหร่ ผมหยิก ตัวดำ ชอบดอกไม้สีแดงเหมือนคนบ้าใบ้ หรือที่เรียกว่าเจ้าเงาะ เพราะนางรจนาได้เห็นรูปทองข้างในของเจ้าเงาะ ท้าวสามลโกธรมากจึงขับไล่ให้ทั้งคู่ไปอยู่กระท่อมปลายนา เจ้าเงาะถูกกลั่นแกล้งให้ไป หาเนื้อ หาปลา แข่งขันกับหกเขยและทุกครั้งที่แข่งขันเจ้าเงาะก็ชนะทุกครั้ง พระอินทร์เห็นว่าถึงเวลาที่พระสังข์หรือเจ้าเงาะจะต้องครองเมือง จึงแปลงตัวยกทัพมาตีเมืองสามล และท้าพนันตีคลีกัน ท้าวสามลส่งหกเขยไปตีคลี สู้กับเทวดาปรากฏว่าว่าเขยทั้งหก ตีคลีแพ้ ฝ่ายเจ้าเงาะถอดรูปออกเห็นรูปร่างภายในอันงดงามและสวมเครื่องทรงออกไปตีคลีจนชนะเทวดา สถานที่ตีคลี มีลักษณะเป็นลานกว้าง บริเวณนั้นไม่มีต้นไม้ขึ้น เรียกว่า “ลานตีคลี" ซึ่งยังปรากฏอยู่บนเขาตีคลี ในขณะที่ตีคลีอยู่นั้น มีลูกคลีลูกหนึ่งถูกตีอย่างแรงลอยออกไป ทิศตะวันออกของลานตีคลีปะทะเขาทะลุเป็นรูโหว่ ที่เขาช่องลมซึ่งอยู่ในตำบลช่องแค อำเภอตาคลี ตามเส้นทางราดยางจากโรงงานปูนซีเมนต์ โพนทอง-ช่องแค ใกล้กับโรงเรียนวัดเขาผา จุดที่เห็นชัด คือ จุดที่ห่างจากโรงเรียนวัดเขาฝาประมาณ 2 กิโลเมตร หลังจากที่พระสังข์ตีคลีชนะ ท้าวสามลจึงให้พระสังข์ครองเมือง ชาวบ้านของอำเภอตาคลีมีความเชื่อในตำนานที่เล่าขานกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงลูกหลาน ปัจจุบันจะพบเห็นได้จากการที่นำเอาชื่อของบุคคลที่สำคัญในตำนานที่เล่าขานกันมาตั้งชื่อถนนและชื่อซอยต่างๆ ในเมืองตาคลี เช่น ถนนพระสังข์ ถนนยศวิมล ถนนบ้านไร่ปลายนา ซอยพันธุรัตน์ ซอยลูกคลี ซอยไม้คลี ซอยสนามคลี นอกจากนี้ธงประจำอำเภอตาคลีก็ใช้เครื่องหมายรูปพระสังข์ทองทรงม้าเดาะคลีอยู่เหนือเมฆ และสัญลักษณ์ประจำเทศบาลตำบลตาคลี ก็เป็นสัญลักษณ์พระสังข์ทรงม้าเดาะคลีเช่นกัน
สภาพทั่วไปของอำเภอ
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
อำเภอตาคลี [ตา-คลี] เป็นอำเภอหนึ่งตั้งอยู่ทางใต้สุดของจังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่ 854 ตารางกิโลเมตร ชื่ออำเภอมีที่มาจากลานตีคลี สถานที่แห่งหนึ่งในบทละครเรื่องสังข์ทอง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นอำเภอที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของจังหวัดนครสวรรค์ รองจากอำเภอเมืองนครสวรรค์
พื้นที่อำเภอตาคลีมีลักษณะเป็นที่ราบ และมีภูเขาจำนวนไม่น้อย จึงมีป่าไม้มากมาย รวมทั้งกองบิน 4 ที่ยังมีต้นไม้หลากสายพันธุ์ที่ยังคงรักษาไว้ แต่ที่มีการอนุรักษ์คือ วนอุทยานถ้ำเพชร-ถ้ำทอง เส้นทางน้ำที่สำคัญ ที่ไหลผ่านอำเภอตาคลี คือ คลองชลประทานชัยนาท-ป่าสัก
อำเภอตาคลี อยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครสวรรค์ ประมาณ 80 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 180 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 854 ตารางกิโลเมตร
อำเภอตาคลีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
แผนที่อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
สภาพทางภูมิอากาศ มี 3 ฤดูกาล
ฤดูร้อน เดือนมีนาคม - เดือนมิถุนายน
ฤดูฝน เดือนกรกฎาคม - เดือนตุลาคม
ฤดูหนาว เดือนพฤศจิกายน- เดือนกุมภาพันธ์
ข้อมูลด้านสังคม
ประชากรส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ มีวิถีชีวิตแบบญาติพี่น้อง เอื้อเฟื้อกันเสมอ และร่วมกันรักษาประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ หลากหลาย เช่น
เทศกาลและประเพณี
ราวเดือนเมษายนของทุกปี
ศาสนสถาน
ประเภทศาสนสถาน |
แห่ง |
วัดพุทธ สำนักสงฆ์ |
63 |
มัสยิด |
1 |
โบสถ์คริสต์ |
2 |
อื่น ๆ |
- |
ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
อาชีพของประชาชนในอำเภอตาคลี อาชีพหลักของประชาชนในอำเภอตาคลี ได้แก่ เกษตรกรรม เช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย สวนผลไม้ (มะม่วง) ค้าขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร รวมไปถึงการเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น โคเนื้อ สุกร ไก่พื้นเมือง ไก่เนื้อ เป็ดเทศ นอกจากนี้ ยังมีโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานน้ำตาล โรงงานผลิตเยื่อกระดาษ เป็นต้น…
ธนาคารในอำเภอตาคลีมี 9 แห่ง ได้แก่
สถานการณ์แรงงาน
แรงงานของประชาชนในอำเภอตาคลี แรงงานส่วนใหญ่ของประชาชนในอำเภอตาคลี ได้แก่ เกษตรกร และรองลงมา คือรับจ้างทั่วไป
จำนวนหน่วยธุรกิจที่สำคัญของอำเภอตาคลี
-
กลุ่มอาชีพเศรษฐกิจชุมชน
-กลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ในชีวิตประจำวัน หมู่9 บ้านเขาน้อย ต.ตาคลี
-กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานจากก้านลานและไม้ไผ่ หมู่11 บ้านสันติสุข ต.จันเสน
-กลุ่มผลิตภัณฑ์จากผ้าทอ หมู่1 ตำบลจันเสน
-กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องละคร หมู่2 บ้านตลาดหนองโพ ตำบลหนองโพ
-กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ชุมชน หมู่4 บ้านหนองสร้อยทอง ตำบลสร้อยทอง
-กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ชุมชน หมู่2 บ้านโคกกร่าง ตำบลสร้อยทอง
-กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแปรรูปหมูฝอยหวาน หมู่1 บ้านทุ่งทะเลทราย ตำบลสร้อยทอง
-กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ชุมชนเลี้ยงแพะ แกะตาคลี หมู่2 บ้านโคกกร่าง ตำบลสร้อยทอง