ข้อมูลพื้นฐานของ กศน.ตำบลนาขอม
ความเป็นมา
กระทรวงศึกษาธิการ โดยกรมการศึกษานอกโรงเรียนได้ประกาศจัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน พร้อมกันทั่วประเทศจำนวน 789 แห่ง โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 ประกอบกับระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษา ในสถานศึกษาสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน พ.ศ.2536 เป็นสถานศึกษาในราชการบริหารส่วนกลางสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน พ.ศ. 2536 ข้อ 6 ในส่วนของอำเภอไพศาลี มีชื่อว่า “ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอไพศาลี” เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2536 เป็นสถานศึกษาในราชการบริหารส่วนกลางสังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครสวรรค์ กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ
ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลนาขอม จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2540 โดยความเห็นชอบจากชุมชน ผู้นำชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอมเห็นสมควรให้ใช้อาคารของสมาคมเกษตรกรตำบลนาขอมหลังเก่า ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 บ้านเขาใหญ่ ตำบลนาขอม อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนภายใต้การสนับสนุนและส่งเสริมจากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอไพศาลี
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจากศูนย์การเรียนชุมชนตำบลนาขอมเป็น กศน.ตำบล และได้เปิด กศน.ตำบลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2553 ระยะเวลาในการดำเนินงานจนถึงปัจจุบัน 22 ปี ปัจจุบันมี นายมานพ มีอยู่ เป็นครู กศน.ตำบล
ที่ตั้ง
ชื่อสถานศึกษา : กศน.ตำบลนาขอม
ที่อยู่ : หมู่ 3 ตำบลนาขอม อำเภอไพศาลี จังหวัด นครสวรรค์
เบอร์โทรศัพท์ :062-0266669
E-mailติดต่อ E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. Face book กศน.ตำบลนาขอม
สังกัด : ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอไพศาลี
สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครสวรรค์
บทบาทหน้าที่ภารกิจ กศน.ตำบล
กศน.ตำบล มีบทบาทสำคัญในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน โดยมีหัวหน้า กศน.ตำบล เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน กศน.ตําบล ดังนี้
1. บทบาทหน้าที่ของหัวหน้า กศน. ตําบล
1. การวางแผน
1.1 จัดทำฐานข้อมูลชุมชน
1.2 จัดทำแผนพัฒนา กศน. ตำบล
1.3 จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
2. การจัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
2.1 จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ ดังนี้
- การส่งเสริมการรู้หนังสือ
- การศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- การศึกษาต่อเนื่อง
2.2 จัดและส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย
- ส่งเสริมการอ่าน
- จัดและพัฒนาแหล่งเรียนรู้
- บริการข่าวสารข้อมูล และสื่อทุกประเภท
- จัดและส่งเสริมกิจกรรมห้องสมุดประชาชนตำบล ห้องสมุดชุมชน มุมหนังสือบ้าน
3. บริการการเรียนรู้ในชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย
3.1 ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) ร่วมกับ (สอศ.)
3.2 ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับ (สคบ.)
3.3 ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ร่วมกับ (กระทรวงไอซีที)
3.4 มุมวิทยาศาสตร์เพื่อชีิวิต ร่วมกับ (สสวท.)
3.5 หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ร่วมกับโรงพยาบาล สถานีอนามัย
3.6 ธนาคารเคลื่อนที่
3.7 การป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย
3.8 อำเภอเคลื่อนที่ ร่วมกับอำเภอ