วันที่ 4 เมษายน 2567 ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอไพศาลี นำโดยนางสาวจันทววรณ พันมูล ครูชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอไพศาลี
การประกวดแข่งขันวิทยาศาตร์ในภูมิปัญญาไทย สำหรับผู้สูงวัย
“เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ”
ประเภท สิ่งประดิษฐ์เพื่อช่วยเสริมคุณภาพชีวิตด้านการประกอบอาชีพสำหรับผู้สูงวัย
ระดับพื้นที่ เขตภาคเหนือตอนล่าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
ประวัติสถานศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ โดยกรมการศึกษานอกโรงเรียนได้ประกาศจัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน พร้อมกันทั่วประเทศจำนวน 789 แห่ง โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 ประกอบกับระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน พ.ศ. 2536 เป็นสถานศึกษาในราชการบริหารส่วนกลางสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน พ.ศ. 2536 ข้อ 6 ในส่วนของอำเภอไพศาลี มีชื่อว่า “ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอไพศาลี” เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2536 เป็นสถานศึกษาในราชการบริหารส่วนกลางสังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครสวรรค์ กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ
สถานที่ปฏิบัติงาน เดิมใช้ที่ว่าการอำเภอไพศาลี เป็นสถานที่ปฏิบัติงานจนถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2537 ต่อมาย้ายสถานที่ปฏิบัติงานมาใช้อาคารของพัฒนาชุมชน หมู่ที่ 8 ตำบลไพศาลี อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ และต่อมาปีงบประมาณ 2546 ได้ย้ายสถานที่ปฏิบัติงานมาใช้อาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอไพศาลี (หลังเก่า) และใช้เป็นสำนักงานของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอไพศาลี ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช 2551 ขึ้น และประกาศเปลี่ยนแปลงชื่อสถานศึกษาเป็นศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอไพศาลี เรียกชื่อย่อว่า“กศน.อำเภอไพศาลี” สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ จนถึงปัจจุบัน
: ภาพปัจจุบัน :
วิสัยทัศน์
คนไทยได้รับโอกาสการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพสามารถดำรงชีวิตอย่างเหมาะสมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโลกศตวรรษที่ ๒๑
พันธกิจ
1. จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพ
2. จัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้
3. จัดและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ให้รู้จักตนเองในการดำรงชีวิต บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน ร่วมกันจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
5. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อ เทคโนโลยี เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิต
6. พัฒนาบุคลากร และระบบบริหารจัดการให้สามารถดำเนินการจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยได้อย่างมีคุณภาพ ตามมาตรฐานสถานศึกษา
อัตลักษณ์
มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง
เอกลักษณ์
สร้างสรรค์นวัตกรรม เป็นผู้นำทางสังคม
เป้าประสงค์
1. ครูและบุคลากรมีความรู้ มีทักษะในการจัดกระบวนการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพและการเรียนรู้ตลอดชีวิตภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีทักษะที่จำเป็นในโลกศตวรรษที่ 21
3.หน่วยงานและสถานศึกษาจัดทำหลักสูตร รูปแบบการจัดการเรียนรู้ สื่อและนวัตกรรม การวัดผลและประเมินผล ให้สอดคล้องกับบริบทในแต่ละพื้นที่ เพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่งของประชาชน
4.ส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษานำเทคโนโลยีทางการศึกษาและเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้ประชาชนใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
5. ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายจัดส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
6. มีระบบการบริหารจัดการ เพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีประสิทธิภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล