ผู้บริหารสถานศึกษา

 

86192

นางสาวชรินทร์ทิพย์  โชติสี

ครู รักษาการในตำแหน่ง  

ผู้อำนวยการ สกร.ระดับอำเภอชุมแสง

สื่อสารสนเทศออนไลน์

nks logo

ระบบสารสนเทศ กศน.

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

018369
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
อาทิตย์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ผู้เข้าชมทั้งหมด
34
31
94
18105
358
562
18369

Your IP: 192.168.1.1
2025-05-14 14:14

โครงสร้างบุคลากร กศน.อำเภอชุมแสง

 

 

 

 

 

รับสมัครสักศึกษาประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564

paper add edu

 

FACEBOOK กศน.อำเภอชุมแสง

 

ดาวน์โหลดใบสมัคร

 

 

 

 


129739499 835874930496595 568258196196991348 n 

               กระทรวงศึกษาธิการ โดยกรมการศึกษานอกโรงเรียนได้ประกาศจัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน พร้อมกันทั่วประเทศจำนวน 789 แห่ง โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 ประกอบกับระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน พ.ศ. 2536 เป็นสถานศึกษาในราชการบริหารส่วนกลางสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน พ.ศ. 2536 ข้อ 6 ในส่วนของอำเภอชุมแสง มีชื่อว่า “ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอชุมแสง” เป็นสถานศึกษาในราชการบริหารส่วนกลางสังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครสวรรค์ กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ

 129480352 128081772288856 8111366252816912173 n

             สถานที่ปฏิบัติงาน เดิมใช้ที่อาคารเอนกประสงค์ วัดแสงธรรมสุทธาราม ถนนแสงราษฎรใต้ ตำบลชุมแสง อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ต่อมาเมื่อ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 ขึ้น และประกาศเปลี่ยนแปลงชื่อสถานศึกษาเป็น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอชุมแสง เรียกชื่อย่อว่า “กศน.อำเภอชุมแสง” สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ จนถึงปัจจุบัน

 

 

 

 

 

โลโก้

กศน.อำเภอชุมแสง  จังหวัดนครสวรรค์

วิสัยทัศน์

    ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอชุมแสง จะเป็นองค์กรหลักในการจัดการศึกษา  ให้ผู้ที่พลาดโอกาสทางการศึกษา มีความรู้ มีอาชีพ มีคุณธรรม บนพื้นฐานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

พันธกิจ

1. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพและทั่วถึง

2. จัดและส่งเสริมการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำเพื่อพัฒนาสมรรถนะของประชาชนและชุมชนให้สามารถสร้างรายได้ สร้างสรรค์ และแข่งขันด้านอาชีพได้อย่างยั่งยืน

3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต และการศึกษาเพื่อการมีงานทำ

4.  พัฒนาและส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ

5. พัฒนาบุคลากร และระบบการบริหารจัดการให้สามารถดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาเพื่อการมีงานทำของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

เป้าประสงค์

1.ประชาชนผู้ด้อยโอกาส พลาด และขาดโอกาสทางการศึกษา รวมทั้งประชาชนกลุ่มเป้าหมายพิเศษได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่องและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง เป็นไปตามสภาพ ปัญหาและความต้องการของแต่ละกลุ่ม

2.ประชาชนได้รับการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยมี กศน.ตำบลศูนย์การเรียนรู้ชุมชนและแหล่งการเรียนรู้อื่นในชุมชนเป็นกลไกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และสิ่งแวดล้อม

3. ประชาชนได้รับโอกาสในการเรียนรู้และมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถคิด วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่าง สร้างสรรค์

4. ประชาชนได้รับการสร้างและส่งเสริมให้มีนิสัยรักการอ่านเพื่อการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

5. ชุมชนและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ร่วมจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งการขับเคลื่อนกิจกรรมการเรียนรู้ของชุมชน

6. หน่วยงานและสถานศึกษาพัฒนา เทคโนโลยีทางการศึกษา เทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการยกระดับ คุณภาพในการจัดการเรียนรู้และเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ให้กับประชาชน    

7. หน่วยงานและสถานศึกษาพัฒนาสื่อและการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา คุณภาพชีวิต ที่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงบริบทด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งตามความต้องการของประชาชนและชุมชนในรูปแบบที่หลากหลาย

8. หน่วยงานและสถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการที่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล

9. บุคลากรของหน่วยงานและสถานศึกษาได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

แผนที่การเดินทาง

Copyright © 2020 by ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอชุมแสง. All rights reserved.