สภาพทั่วไปตำบลหัวถนน
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง ตำบลหัวถนน เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ มีอาณาเขตติดต่อ
กับตำบลต่าง ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลท่าตะโกและตำบลวังมหากร อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโกและตำบลอุดมธัญญา อำเภอตากฟ้า
จังหวัดนครสวรรค์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลทำนบ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลวังมหากร อำเภอท่าตะโก ตำบลเขากะลา อำเภอพยุหะคีรี
และตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
เนื้อที่ตำบลหัวถนน มีเนื้อที่ประมาณ 73 ตารางกิโลเมตร หรือ 44,317 ไร่
ภูมิประเทศตำบลหัวถนน มีลักษณะสภาพภูมิประเทศ พื้นที่ครึ่งหนึ่งของตำบลทางซีกเหนือเป็นที่ลาบลุ่มท้องกระทะ เวลามีน้ำท่วมขังแล้วแห้งยาก อีกครึ่งหนึ่งของตำบลทางซีกใต้เป็นที่ราบสูงภูเขาลาดมาทางทิศเหนือ มีกลุ่มเทือกเขาตะแบงและกลุ่มเทือกเขาขาดอยู่ทางทิศใต้ และทิศตะวันตกของตำบล
แผนที่อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
แผนที่ตำบลหัวถนน อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
ข้อมูลด้านประชากร
จำนวนประชากรจำแนกตามเพศและเขตพื้นที่ตำบลหัวถนน
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนครัวเรือน |
จำนวนประชากร(คน) |
จำนวนครัวเรือนในพื้นที่ |
|||
ชาย |
หญิง |
รวม |
เขต อบต. |
เขตเทศบาล |
|||
1 |
บ้านหัวถนนเหนือ |
242 |
443 |
465 |
908 |
||
2 |
บ้านหัวถนนใต้ |
178 |
247 |
237 |
484 |
||
3 |
บ้านไดตามุ่ย |
78 |
119 |
134 |
253 |
||
4 |
บ้านหนองเนิน |
201 |
338 |
425 |
763 |
||
5 |
บ้านเขาค้างคาว |
147 |
197 |
206 |
403 |
||
6 |
บ้านหัวถนนกลาง |
260 |
378 |
418 |
796 |
||
7 |
บ้านหนองสองห้อง |
145 |
233 |
209 |
442 |
||
8 |
บ้านเขาขาด |
150 |
218 |
220 |
438 |
||
9 |
บ้านใหม่เขาขาด |
138 |
287 |
283 |
570 |
||
10 |
บ้านหัวถนนพัฒนา |
211 |
425 |
406 |
831 |
||
รวม |
2,495 |
3660 |
4,256 |
7916 |
ตำบลหัวถนน มีครัวเรือนอาศัยอยู่ จำนวน 2,495 ครัวเรือน อยู่ในเขตพื้นที่การปกครองเทศบาลตำบลทั้งหมดมีประชากรทั้งสิ้น 7,916 คน แยกเป็นประชากรชาย จำนวน 3,660 คน คิดเป็นร้อยละ 46.24 และประชากรหญิง จำนวน 4,256 คน คิดเป็นร้อยละ 53.76 ความหนาแน่นเฉลี่ย........คน/ตารางกิโลเมตร
จำนวนประชากรจำแนกตามช่วงอายุ
ช่วงอายุ (ปี) |
จำนวน (คน) |
ร้อยละของประชากรทั้งหมด (คน) |
0 - 5 |
418 |
5.28 |
6 - 14 |
709 |
8.96 |
15 - 39 |
2384 |
30.12 |
40 - 59 |
2662 |
33.63 |
60 - 69 |
873 |
11.03 |
70 - 79 |
509 |
6.43 |
80 - 89 |
296 |
3.74 |
90 ปีขึ้นไป |
65 |
0.82 |
รวม |
7916 |
100.00 |
จากตารางจำนวนประชากรจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า ประชากรในตำบลหัวถนน ส่วนใหญ่ จะอยู่ในช่วงอายุ 40-59 ปี ซึ่งเป็นวัยแรงงาน รองลงมาจะอยู่ในช่วงอายุ 15-39 ปี จะเป็นวัยเด็ก และวัยรุ่น จนถึงวัยกำลังทำงาน รองลงมาจะอยู่ในช่วงอายุ 60-69 ปี จะเป็นวัยผู้ใหญ่ไปจนถึงวัยผู้สูงอายุ
จำนวนผู้พิการจำแนกตามประเภทความพิการ
ประเภทผู้พิการ |
จำนวนผู้พิการ (คน) |
คิดเป็นร้อยละ |
||
ชาย |
หญิง |
รวม |
||
-ทางสมอง |
||||
-ทางสายตา |
||||
-ทางร่ายกาย |
||||
-พิการซ้ำซ้อน |
||||
รวมทั้งหมด |
65 |
43 |
108 |
1.39 |
กลุ่มผู้พิการ เป็นกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในการที่จะเข้ารับบริการทางการศึกษาหรือเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้อยกว่าคนปกติทั่วไป อันเนื่องมาจากข้อจำกัดทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญาหรือความสามารถในการเรียนรู้ จากตารางข้อมูลจำนวนคนพิการในพื้นที่ตำบลหัวถนน จำแนกประเภทความพิการ ส่วนใหญ่มีความพิการ
ข้อมูลด้านสังคม
การศึกษาโรงเรียนระดับอนุบาล ศูนย์เด็กเล็ก 1 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวถนน
โรงเรียนระดับประถมศึกษา ถึงขยายโอกาส รัฐบาล 5 แห่ง
- โรงเรียนบ้านหัวถนนเหนือ
- โรงเรียนบ้านหัวถนนใต้
- โรงเรียนบ้านหนองสองห้อง
- โรงเรียนบ้านเขาค้างคาว
- โรงเรียนบ้านหนองเนิน
การศึกษาตลอดชีวิต 1 แห่ง
- กศน. ตำบลหัวถนน
การสาธารณสุข มีรพ.สต.ประจำตำบล จำนวน 2 แห่ง
- รพ.สต. บ้านหัวถนนใต้ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านหัวถนนใต้ ตำบลหัวถนน อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
- รพ.สต.บ้านเขาขาด ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 บ้านเขาขาด ตำบลหัวถนน อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ป้อมจุดตรวจตำบลหัวถนน จำนวน 1 แห่ง
- อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนตำบลหัวถนน (อปพร) จำนวน 125 คน
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
ประชากรตำบลหัวถนนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประชากรใช้วัดเป็นศูนย์รวมในการประกอบพิธีกรรม งานบุญและงานประเพณีต่างๆ วัดและสำนักสงฆ์ที่ตั้งอยู่ในตำบล 8 แห่ง ดังนี้
ชื่อวัดและสำนักสงฆ์ |
สถานที่ตั้ง |
วัดหัวถนนเหนือ |
หมู่ที่ 1 ตำบลหัวถนน |
วัดหัวถนนใต้ |
หมู่ที่ 2 ตำบลหัวถนน |
วัดไดตามุ่ย |
หมู่ที่ 3 ตำบลหัวถนน |
วัดหนองเนิน |
หมู่ที่ 4 ตำบลหัวถนน |
วัดเขาค้างคาว |
หมู่ที่ 5 ตำบลหัวถนน |
วัดหัวถนนกลาง |
หมู่ที่ 6 ตำบลหัวถนน |
วัดหนองสองห้อง |
หมู่ที่ 7 ตำบลหัวถนน |
วัดเขาขาดวนาราม |
หมู่ที่ 8 ตำบลหัวถนน |
ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
ประชากรตำบลหัวถนนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนา รองลงมาประกอบอาชีพรับจ้าง เลี้ยงสัตว์ และค้าขาย
อาชีพของประชาชนในตำบล
อาชีพหลักจะเป็นการเกษตรกรรม อาชีพรองลงมาจะเป็นการรับจ้างทั่วไป เลี้ยงสัตว์ และค้าขาย
สถานการณ์แรงงาน
ส่วนมากประชาชนในตำบลหัวถนน จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมส่วนใหญ่ พอหมดหน้าทำนา ก็จะไปหารับจ้างทั่วไปแทน รวมไปถึงการประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ และค้าขาย
ส่วนวัยแรงงาน จะหางานทำในตัวจังหวัด หรือในเขตเมือง ฉะนั้นประชาชนที่อยู่ในตำบลส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่ และวัยเด็ก
จำนวนหน่วยธุรกิจที่สำคัญของตำบลหัวถนน
ข้าว ผัก ผ้าทอ เครื่องจักรสาน ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เป็นต้น
กลุ่มอาชีพเศรษฐกิจชุมชน
กลุ่มทำปลาส้ม กลุ่มการเพาะเห็ด กลุ่มการทำปลาร้า กลุ่มทอผ้า กลุ่มการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร กลุ่มเครื่องจักรสาน เป็นต้น
ข้อมูลด้านการศึกษา
ตำบลหัวถนน มีสถานศึกษารวมทั้งหมด 7 แห่ง มีครูจำนวน 30 คน และมีนักเรียนจำนวน 647 คน ในแต่ละสถานศึกษาที่อยู่ในเขตตำบลหัวถนน มีจำนวนนักเรียน นักศึกษา ดังนี้
1) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวนนักเรียน 21 คน
2) โรงเรียนบ้านหัวถนนเหนือ จำนวนนักเรียน 218 คน
3) โรงเรียนบ้านหัวถนนใต้ จำนวนนักเรียน 179 คน
4 ) โรงเรียนบ้านหนองสองห้อง จำนวนนักเรียน 19 คน
5) โรงเรียนบ้านเขาค้างคาว จำนวนนักเรียน 84 คน
6) โรงเรียนบ้านหนองเนิน จำนวนนักเรียน 59 คน
7) กศน.ตำบล จำนวนนักเรียน 64 คน
ปัญหาและความต้องการทางการศึกษาของประชาชนที่จำแนกตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย
ด้านการรู้หนังสือ ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านอาชีพ ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษาตามอัธยาศัย
กลุ่มเป้าหมาย |
ปัญหาและความต้องการ |
แนวทางการแก้ไข |
นักศึกษา |
ส่วนมาทำงานต่างจังหวัด |
ให้ผู้เรียน เรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์หรือให้ทำรายงานตามรายวิชาที่ลงทะเบียน |
กลุ่มสตรี/แม่บ้าน/ประชาชนทั่วไป |
ไม่ค่อยมีเวลาเรียนมากนัก |
ให้ผู้เรียน เรียนรู้จากวิทยากรบางส่วน แล้วนำไปฝึกปฏิบัติเอง ทำการติดตาม/ประเมินผล ว่าสามารถทำได้ หรือไม่ได้ |
ผู้สูงอายุ |
ไม่สนใจร่วมกิจกรรม |
ให้ผู้เรียน เรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองอยากเรียน แล้วร่วมกันหากิจกรรมที่สนใจ มาจัดกิจกรรมให้ทำกัน |
ตารางวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข
สภาพปัญหา/ความต้องการ |
สาเหตุของปัญหา |
แนวทางแก้ไข |
1.ด้านเศรษฐกิจ |
ครอบครัวยากจน |
หางานอาชีพเสริมให้ทำ |
2.ด้านสังคม |
มีปัญหาในครอบครัว |
หางานอาชีพเสริมให้ทำ |
3.ด้านการศึกษา |
จบการศึกษาแค่ระดับบังคับ |
พลักดันให้เรียนต่อ จบสูงๆ |
ตารางวิเคราะห์การประเมินผลและปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา
ผลการประเมินปัญหาและอุปสรรค |
แนวทางการพัฒนา |
ประชาชนส่วนใหญ่ ยังไม่ให้ความสำคัญ ในเรื่องการศึกษาเท่าไหร่นัก ส่วนมาจะไปด้านการทำมาหากิน ด้านอาชีพ |
ส่งเสริมให้มีการศึกษา และอาชีพควบคู่กันไป เพื่อนำไปต่อยอดในครอบครัว ชุมชน และเพิ่มรายได้ต่อไป |