อาคารอเนกประสงค์ หมู่ 1 บ้านลาดทิพรส ต.ลาดทิพรส อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ 60260 063-9451651 063-9451651 ratchatapannil@gmail.com จันทร์-ศุกร์ เวลา 09:00 น.- 15:00 น.
ครู กศน.ตำบลลาดทิพรส

 IMG 0003

 นายรัชชตะ ปานนิล

ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลลาดทิพรส

 เบอร์โทร 063-9451651

 

แพลตฟอร์ม กศน.นครสวรรค์


จำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์
065479
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ผู้เข้าชมทั้งหมด
51
93
551
64168
1643
3975
65479

Your IP: 192.168.1.1
2024-05-18 10:58

พระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕

 
พระราชบัญญัติ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
พ.ศ. ๒๕๔๕

(พระปรมาภิไธย) ภูมิพลอดุลยเดช ปร.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๕
เป็นปีที่ ๕๗ ในรัชกาลปัจจุบัน

              พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า 

              โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น

              พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

              จีงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
 
.......................................................................................................................
................................................................................................................................................
 

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๕"

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป แต่จะใช้บังคับแก่ การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทใดและเมื่อใด ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
              การดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้นายกรัฐมนตรีรับฟัง
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

มาตรา 4 เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้แก่การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทใดแล้ว ให้ยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทนั้น ดังต่อไปนี้

(๑) พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๑
(๒) พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๘๒
(๓) พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๕
(๔) พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๔๙๘
(๕) พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๗
(๖) พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๓
(๗) พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘
(๘) พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พุทธศักราช ๒๔๘๒
(๙) พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๕
(๑๐) พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๔๙๖
(๑๑) พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๐๑
(๑๒) พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๑
(๑๓) พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๑๗
(๑๔) พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๑๗
(๑๕) พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๒๓
(๑๖) พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๓๘
(๑๗) พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๑

             ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทอื่น เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ แก่การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ประเภทอื่นนั้น ก่อน ให้กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ประเภทอื่น ซึ่งถูกยกเลิกไปตามวรรคหนึ่ง ยังคงให้ใช้บังคับแก่การเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งยังมิได้มีพระราชกฤษฎีกา ให้ใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้

              เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ แก่การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเภทใดแล้ว บรรดาบทกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งใด ที่ขัดหรือแย้ง กับบทบัญญัติ แห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้แทน

              มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้

"องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" หมายความว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง
"สภาท้องถิ่น" หมายความว่า สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด สภาเทศบาล สภาองค์การบริหารส่วนตำบล สภากรุงเทพมหานคร สภาเมืองพัทยา และสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
"ผู้บริหารท้องถิ่น" หมายความรวมถึง คณะผู้บริหารท้องถิ่น
"หัวหน้าพนักงานส่วนท้องถิ่น" หมายความว่า ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปลัดเทศบาล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดกรุงเทพมหานคร ปลัดเมืองพัทยา และหัวหน้าพนักงานหรือหัวหน้าข้าราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
"คณะกรรมการการเลือกตั้ง" หมายความว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
"คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด" หมายความว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
"นายอำเภอ" หมายความรวมถึง ผู้อำนวยการเขตและปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
"เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย" หมายความว่า ข้าราชการตำรวจหรือข้าราชการพลเรือน หรือข้าราชการทหาร หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือสมาชิกอาสารักษาดินแดนหรือ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ที่ได้รับแต่งตั้ง ให้ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำที่เลือกตั้ง
"ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง" หมายความว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
"ผู้สมัคร" หมายความว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
"ผู้ได้รับเลือกตั้ง" หมายความว่า ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
"การเลือกตั้ง" หมายความว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
"วันเลือกตั้ง" หมายความว่า วันที่กำหนดให้เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
"เขตเลือกตั้ง" หมายความว่า ท้องที่ที่กำหนดเป็นเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
"หน่วยเลือกตั้ง" หมายความว่า ท้องถิ่นที่กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำการลงคะแนนเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้งใด ที่เลือกตั้งหนึ่ง
"ที่เลือกตั้ง" หมายความว่า สถานที่ที่กำหนดให้ทำการลงคะแนนเลือกตั้ง และให้หมายความรวม ถึงบริเวณที่กำหนดขึ้นโดยรอบที่เลือกตั้ง
"จังหวัด" หมายความรวมถึง กรุงเทพมหานคร
"อำเภอ" หมายความรวมถึง เขตและกิ่งอำเภอ
"ตำบล" หมายความรวมถึง แขวง
"ศาลากลางจังหวัด" หมายความรวมถึง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
"ที่ว่าการอำเภอ" หมายความรวมถึง สำนักงานเขตและที่ว่าการกิ่งอำเภอ
"เทศบาล" หมายความรวมถึง เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ

มาตรา 5 ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ ระเบียบ ข้อกำหนด หรือคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

 

หมวด ๑
บททั่วไป


มาตรา 6 ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง ผู้สมัครได้ไม่เกินจำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้ง
การเลือกตั้ง ให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ

มาตรา 7 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้งภายในสี่สิบห้าวัน นับแต่วันที่สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นดำรงตำแหน่งครบวาระ หรือภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่ง เพราะเหตุอื่นใดนอกจากครบวาระ เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาท้องถิ่นจะเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
คณะกรรมการการเลือกตั้ง อาจมีคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาให้มีการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่งได้ตามความจำเป็นเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ โดยต้องระบุเหตุผลการมีคำสั่งดังกล่าวด้วย
ในการจัดให้มีการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการจัดการเลือกตั้ง

มาตรา 8 เมื่อมีกรณีที่ต้องมีการเลือกตั้ง ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา ๑๙ ประกาศให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งอย่างน้อยต้องมีเรื่อง
ดังต่อไปนี้

(๑) วันเลือกตั้ง
(๒) วันรับสมัครเลือกตั้ง ซึ่งต้องให้มีการเริ่มรับสมัครไม่เกินสิบวันนับแต่วันประกาศให้มีการเลือกตั้ง และต้องกำหนดวันรับสมัครไม่น้อยกว่าห้าวัน
(๓) สถานที่รับสมัครเลือกตั้ง
(๔) จำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่นที่จะมีการเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้ง
(๕) จำนวนเขตเลือกตั้ง ซึ่งต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับอำเภอหรือตำบลหรือเขตท้องที่ที่อยู่ภายในเขตเลือกตั้ง
(๖) หลักฐานการสมัครรับเลือกตั้ง

              การกำหนดตาม (๑) (๒) (๔) และ (๕) ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดก่อน
              ประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้ปิดไว้ ณ ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น และสถานที่อื่นตามที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นสมควร

มาตรา 9 ให้ผู้อำนวยการทะเบียนกลางตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร มีหน้าที่จัดทำบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้ง จากทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งให้ถูกต้องตามความจริง

มาตรา 10 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งทั้งหมด เว้นแต่ค่าใช้จ่ายของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
              ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดมีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้คณะรัฐมนตรี พิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นตามความจำเป็น

มาตรา 11 เพื่อให้การดำเนินการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัตินี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สุจริต และเที่ยงธรรม นอกจากอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับ วิธีการและระยะเวลา ในการดำเนินการในเรื่องใด ๆ ได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ระเบียบดังกล่าวต้องไม่มีผลเป็นการตัดสิทธิหรือลงโทษบุคคลใด และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

มาตรา 12 ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจออกประกาศ ให้ย่นหรือขยายระยะเวลา หรืองดเว้นการดำเนินการที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ตามที่บัญญัติในพระราชบัญญัตินี้ เฉพาะในการเลือกตั้งนั้น เพื่อให้เหมาะสมแก่การดำเนินการเลือกตั้งใหม่ ให้เป็นไปโดยรวดเร็ว สุจริต และเที่ยงธรรมได้

 

หมวด ๒
เขตเลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้ง และที่เลือกตั้ง


มาตรา 13 การกำหนดเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(๑) การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้ถือเขตเป็นเขตเลือกตั้ง ถ้าเขตใดมีจำนวนราษฎร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง เกินหนึ่งแสนคน ให้แบ่งเขตนั้นออกเป็นเขตเลือกตั้ง โดยถือเกณฑ์จำนวนราษฎร หนึ่งแสนคน เศษของหนึ่งแสนถ้าเกินห้าหมื่น ให้เพิ่มเขตเลือกตั้งในเขตนั้นได้อีกหนึ่งเขตเลือกตั้ง
(๒) การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ถือเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง ในกรณีที่อำเภอใดมีสมาชิก ได้เกินกว่าหนึ่งคนให้แบ่งเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง เท่ากับจำนวนสมาชิกที่จะพึงมีในอำเภอนั้น
(๓) การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบล ให้แบ่งเขตเทศบาลเป็นสองเขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเมือง ให้แบ่งเขตเทศบาลเป็นสามเขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนคร หรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยา ให้แบ่งเขตเทศบาลหรือเขตเมืองพัทยาเป็นสี่เขตเลือกตั้ง และต้องมีจำนวน สมาชิกสภาเทศบาลเท่ากันทุกเขตเลือกตั้ง
(๔) การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ให้ถือเขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง
(๕) การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ให้ถือเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเขตเลือกตั้ง เว้นแต่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 14 ในการแบ่งเขตเลือกตั้ง ต้องพยายามจัดให้มีจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้ง ใกล้เคียงกันมากที่สุดและต้องแบ่งพื้นที่ ของแต่ละเขตเลือกตั้งให้ติดต่อกัน ในเขตเทศบาลหรือเขตชุมชนหนาแน่นอาจกำหนดให้ใช้แนวถนน ตรอกหรือซอย คลอง หรือแม่น้ำเป็นแนวเขต ของเขตเลือกตั้งได้ สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร มิให้นำพื้นที่เพียงบางส่วนของเขตหนึ่งไปรวมกับเขตอื่น

มาตรา 15 เพื่อประโยชน์ในการแบ่งเขตเลือกตั้งตามมาตรา ๑๔ ให้ผู้อำนวยการทะเบียนกลาง ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร มีหน้าที่แจ้งรายละเอียดของจำนวนราษฎรเป็นรายจังหวัด รายอำเภอ รายเทศบาล รายองค์การบริหารส่วนตำบล รายตำบล และรายหมู่บ้าน ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางประกาศจำนวนราษฎรทั้งประเทศ

           ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด เขตอำเภอ เขตเทศบาล เขตองค์การบริหารส่วนตำบล เขตตำบล หรือเขตหมู่บ้าน ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่แจ้งการเปลี่ยนแปลงให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

มาตรา 16 การกำหนดเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น ให้ใช้เขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเขตเลือกตั้ง

มาตรา 17 ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งที่จะพึงมี ในแต่ละเขตเลือกตั้ง
           การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่ายี่สิบวัน โดยให้ทำเป็นประกาศปิดไว้ ณ ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น และสถานที่อื่นที่เห็นสมควร รวมทั้งให้จัดทำแผนที่สังเขปแสดงเขตของหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งไว้ด้วย
           การเปลี่ยนแปลงเขตของหน่วยเลือกตั้งหรือที่เลือกตั้ง ให้กระทำได้โดยประกาศก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบวัน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน จะประกาศเปลี่ยนแปลงก่อนวันเลือกตั้งน้อยกว่าสิบวันก็ได้ และให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 18 การกำหนดหน่วยเลือกตั้งตามมาตรา ๑๗ ให้คำนึงถึงความสะดวกในการเดินทางมาใช้สิทธิเลือกตั้งของราษฎร ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(๑) ให้ใช้เขตหมู่บ้านเป็นเขตของหน่วยเลือกตั้ง ในกรณีที่หมู่บ้านใดมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนน้อย จะให้รวมหมู่บ้าน ตั้งแต่สองหมู่บ้าน ขึ้นไป เป็นหน่วยเลือกตั้งเดียวกันก็ได้ สำหรับในเขตเทศบาล เขตกรุงเทพมหานคร หรือเขตชุมชนหนาแน่น อาจกำหนดให้ใช้แนวถนน ตรอกหรือซอย คลอง หรือแม่น้ำเป็นแนวเขตของหน่วยเลือกตั้งก็ได้
(๒) ให้ถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน่วยเลือกตั้งละแปดร้อยคนเป็นประมาณ แต่ถ้าเห็นว่าไม่เป็นการสะดวก หรือไม่ปลอดภัย ในการไปลงคะแนนเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จะกำหนดหน่วยเลือกตั้งเพิ่มขึ้น โดยให้มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง น้อยกว่าจำนวน ดังกล่าวก็ได้

           ที่เลือกตั้งตามมาตรา ๑๗ ต้องเป็นสถานที่ที่ประชาชนเข้าออกได้สะดวก และมีป้ายหรือเครื่องหมายอื่นใด เพื่อแสดงขอบเขต บริเวณของที่เลือกตั้งตามลักษณะของท้องที่และภูมิประเทศไว้ด้วย และเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวก แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือเพื่อความปลอดภัยของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะกำหนดที่เลือกตั้งนอกเขต ของหน่วยเลือกตั้งก็ได้ แต่ต้องอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับหน่วยเลือกตั้งนั้น

 

หมวด ๓
การดำเนินการเลือกตั้ง


มาตรา 19 เมื่อมีกรณีที่ต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดแต่งตั้ง
หัวหน้าพนักงานส่วนท้องถิ่น เป็นผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยหัวหน้าพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้น และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่าสี่คนแต่ไม่เกินหกคน เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดให้มีการเลือกตั้ง ตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบ ข้อกำหนด คำสั่ง หรือการมอบหมายของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด

           การสรรหา การแต่งตั้ง ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตาม
ระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

มาตรา 20 ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) รับสมัครเลือกตั้ง
(๒) กำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้ง
(๓) แต่งตั้งและจัดอบรมเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง
(๔) ตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และดำเนินการเพิ่มชื่อ หรือถอนชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
(๕) ดำเนินการเกี่ยวกับการลงคะแนนเลือกตั้ง การนับคะแนนเลือกตั้ง และการประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้ง
(๖) จัดให้มีหีบบัตรเลือกตั้งและวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการเลือกตั้ง
(๗) ดำเนินการอื่นอันจำเป็นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง

            เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ใดตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดอาจแต่งตั้ง หรือมอบหมายให้คณะบุคคล หรือบุคคลใดเป็นผู้ช่วยเหลือ ในการปฏิบัติหน้าที่ได้ตามระเบียบ ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

มาตรา 21 คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) เสนอแนะและให้ความเห็นชอบในการกำหนดหน่วยเลือกตั้ง ที่เลือกตั้ง และการแต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๒) ตรวจสอบและให้ความเห็นชอบในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และการเพิ่มชื่อหรือถอนชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
(๓) กำกับดูแล และอำนวยการการเลือกตั้ง การลงคะแนนเลือกตั้ง การนับคะแนนเลือกตั้ง และการประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้ง
(๔) กำหนดสถานที่รวบรวมผลคะแนน และรวบรวมผลคะแนนของทุกหน่วยเลือกตั้งและรายงานผลการเลือกตั้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
(๕) ปฏิบัติการใดตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น หรือตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมอบหมาย
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด มีอำนาจแต่งตั้ง หรือมอบหมายให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะบุคคลหรือบุคคลใดเป็นผู้ช่วยเหลือ ในการปฏิบัติงานในการเลือกตั้งได้ตามสมควร

มาตรา 22 เพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง อาจมีคำสั่งให้นายอำเภอดำเนินการในเรื่องใด ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัตินี้ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

            ในกรณีที่นายอำเภอได้รับคำสั่งให้ดำเนินการในเรื่องใดตามวรรคหนึ่ง ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัตินี้ในเรื่องนั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ

มาตรา 23 ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่ายี่สิบวัน ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่งตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง ดังต่อไปนี้

(๑) ผู้อำนวยการประจำหน่วยเลือกตั้งหนึ่งคน
(๒) คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจำนวนเจ็ดคน ประกอบด้วย ประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอีกหกคน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการลงคะแนนเลือกตั้งและ
การนับคะแนนเลือกตั้ง ในที่เลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้ง

            ในการประชุมเพื่อวินิจฉัยปัญหาในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ต้องมีกรรมการอยู่ในการประชุมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่ และการลงมติให้ใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ ในกรณีที่คะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานออกเสียงชี้ขาด
            ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่งตั้ง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำที่เลือกตั้ง อย่างน้อยที่เลือกตั้งละสองคน
            
หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการประจำหน่วยเลือกตั้ง คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำที่เลือกตั้งให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

มาตรา 24 ในวันเลือกตั้ง ถ้าถึงเวลาเปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง แล้วมีกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง มาปฏิบัติหน้าที่ไม่ครบเจ็ดคน ให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง เท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น แต่งตั้งผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น เป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง จนครบเจ็ดคนไปพลางก่อนจนกว่ากรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ที่ได้รับแต่งตั้งไว้แล้วจะมาปฏิบัติหน้าที่ เว้นแต่ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง สำรองไว้ ให้ผู้นั้นเป็น
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน

มาตรา 25 เมื่อมีการเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น จัดให้พนักงานส่วนท้องถิ่นช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ ของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
            ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด มีพนักงานส่วนท้องถิ่นไม่เพียงพอใน การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น หรือคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจร้องขอ ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อมีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในจังหวัดนั้น ให้ช่วยเหลือในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเลือกตั้งได้
            
ให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างซึ่งได้รับคำสั่งตามวรรคสอง มีหน้าที่ปฏิบัติตามที่ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมอบหมาย

มาตรา 26 นอกจากหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมายหรือสั่งการ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยในการเลือกตั้ง
ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอ จัดให้มีเจ้าหน้าที่ รักษาความปลอดภัยประจำที่เลือกตั้ง ตามที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร้องขอ

มาตรา 27 ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้พบการกระทำความผิด แจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจหรือเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ในการเลือกตั้ง หรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำที่เลือกตั้ง
             ถ้าผู้พบการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง หรือเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในการเลือกตั้ง หรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ประจำที่เลือกตั้งให้ดำเนินการกล่าวโทษ หรือดำเนินการตามอำนาจหน้าที่
             
ในกรณีที่เจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ในการเลือกตั้ง หรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำที่เลือกตั้ง พบการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในวันเลือกตั้ง หรือได้รับแจ้งโดยมีพยานหลักฐานอันน่าเชื่อถือ และผู้กระทำความผิดยังปรากฏตัว อยู่ในบริเวณที่เลือกตั้ง ให้เจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย หรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ประจำที่เลือกตั้ง มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวผู้กระทำความผิด ส่งพนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป โดยให้ถือว่าเป็นกรณีพบการกระทำความผิดซึ่งหน้า

มาตรา 28 ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ผู้สมัคร ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือผู้มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยในการเลือกตั้ง ตามมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง แจ้งต่อพนักงานสอบสวน ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือในกรณีที่พนักงานสอบสวนทราบถึง การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนทันที โดยไม่ต้องมีผู้มาร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ

มาตรา 29 ในกรณีที่มีข้อเท็จจริงปรากฏแก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ กระทำการใด ๆ โดยมิชอบด้วยอำนาจหน้าที่ อันเป็นการกลั่นแกล้งผู้สมัครใด ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจ หรือมอบหมายให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สั่งให้ยุติหรือระงับการกระทำนั้นได้

มาตรา 30 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้อำนวยการประจำหน่วยเลือกตั้ง กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ ตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 31 ค่าตอบแทนของกรรมการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นายอำเภอ กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดตามบัญชีค่าตอบแทน หรือมาตรฐานกลางในการจ่ายค่าตอบแทน ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดไว้ โดยคำนึงถึงอำนาจหน้าที่ความ
รับผิดชอบ และความแตกต่างของปริมาณงาน ในการดำเนินการเลือกตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ละประเภทหรือแต่ละแห่ง

มาตรา 32 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดพิมพ์ ควบคุมการพิมพ์ และจัดส่งบัตรเลือกตั้ง และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รับผิดชอบในค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง

 

หมวด ๔
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง


มาตรา 33 บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

(๑) มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑ มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
(๓) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้ว เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันเลือกตั้ง และ
(๔) คุณสมบัติอื่นที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด

            ในกรณีที่มีการย้ายทะเบียนบ้านออกจากเขตเลือกตั้งหนึ่ง ไปยังอีกเขตเลือกตั้งหนึ่งภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกัน อันทำให้บุคคลมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันน้อยกว่าหนึ่งปี นับถึงวันเลือกตั้ง ให้บุคคลนั้นมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครั้งสุดท้าย เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปี

มาตรา 34 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

(๑) วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๒) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(๓) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(๔) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
(๕) มีลักษณะอื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด

มาตรา 35 ผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๓๓ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๔มีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เว้นแต่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งได้แจ้งเหตุ ดังต่อไปนี้ต่อผู้อำนวยการ
การเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งก็ได้

(๑) เจ็บป่วย ไม่ว่าถึงขนาดต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือไม่
(๒) มีร่างกายทุพพลภาพจนไม่สะดวกในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
(๓) มีอายุเกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(๔) ไม่อยู่ในภูมิลำเนาในเวลาเลือกตั้ง
(๕) เหตุอื่นที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

            การแจ้งเหตุตามวรรคหนึ่ง ให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งรับผิดชอบ ในการจัดให้มีการเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน โดยจะจัดส่งหนังสือแจ้งเหตุนั้น ทางไปรษณีย์ก็ได้ ในการนี้ ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บันทึกเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ไว้ในบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และเก็บหนังสือแจ้งเหตุนั้นไว้เป็นหลักฐาน

            การแจ้งเหตุตามวรรคสอง ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้นั้น ที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันเลือกตั้ง

มาตรา 36 ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยมิได้แจ้งเหตุตามมาตรา ๓๕ วรรคหนึ่ง ให้ผู้นั้นทำหนังสือแจ้งเหตุดังกล่าวต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในเจ็ดวันนับแต่วันเลือกตั้ง และให้นำความในมาตรา ๓๕ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เมื่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้รับหนังสือแจ้งเหตุตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ทำการตรวจสอบหลักฐานการลงคะแนนเลือกตั้ง ถ้าพบว่ามีผู้มาแสดงตนและลงคะแนนเลือกตั้ง แทนผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รายงานต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อพิจารณาว่าจะสมควรมีคำสั่งให้เพิกถอนผลการเลือกตั้งหรือไม่

มาตรา 37 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยมิได้แจ้งเหตุตามมาตรา ๓๕ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๓๖ วรรคหนึ่ง ให้ผู้นั้นเสียสิทธิดังต่อไปนี้

(๑) สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
(๒) สิทธิร้องคัดค้านการเลือกกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
(๓) สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
(๔) สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
(๕) สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
(๖) สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียง เพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

      การเสียสิทธิตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดเวลาตั้งแต่วันเลือกตั้งครั้งที่ผู้นั้น ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจนถึงวันเลือกตั้ง ครั้งที่ผู้นั้นไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

มาตรา 38 เมื่อได้มีประกาศให้มีการเลือกตั้งแล้ว ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ของแต่ละหน่วยเลือกตั้งจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ตามมาตรา ๙ ให้ถูกต้องตามความจริง และประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ไว้โดยเปิดเผย ณ ศาลากลางจังหวัด หรือที่ว่าการอำเภอที่ตั้งอยู่ในเขต
เลือกตั้งนั้น ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ที่เลือกตั้งหรือบริเวณใกล้เคียงกับที่เลือกตั้ง และสถานที่อื่นที่เห็นสมควรก่อนวันเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่ายี่สิบวัน และแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้เจ้าบ้านทราบก่อนวันเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
           ในกรณีที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่าการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีความผิดพลาด หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการย้ายบุคคลใด เข้ามาในทะเบียนบ้าน เพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้งโดยมิชอบ ไม่ว่าจะพบเหตุดังกล่าวก่อน หรือหลังการประกาศบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครอ งส่วนท้องถิ่น รายงานต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยเร็ว ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เห็นว่ากรณีดังกล่าวเป็นความจริง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีคำสั่งให้แก้ไขหรือถอนชื่อบุคคลนั้น ออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้

มาตรา 39 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือเจ้าบ้านผู้ใดเห็นว่า ตนหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของตน ไม่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้แจ้งเป็นหนังสือต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนวันเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่าสิบวัน
            เมื่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้รับหนังสือตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้รีบตรวจสอบหลักฐาน ถ้าเห็นว่าผู้แจ้ง หรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการเพิ่มชื่อผู้นั้น ลงในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเร็ว และแจ้งให้ผู้แจ้งและเจ้าบ้านทราบ แต่ถ้าเห็นว่าบุคคลผู้แจ้ง หรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเป็นผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รายงานต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้แจ้งหรือเจ้าบ้านทราบภายในสามวัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เห็นว่าผู้แจ้งหรือผู้มีชื่อ อยู่ในทะเบียนบ้านเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้มีคำสั่งเพิ่มชื่อผู้นั้นลงในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และให้แจ้งไปยัง ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยเร็ว ในการนี้ ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ปฏิบัติตามคำสั่ง ของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแจ้งให้ผู้แจ้งและเจ้าบ้านทราบโดยเร็ว

มาตรา 40 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดเห็นว่าผู้มีชื่อปรากฏอยู่ในบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ได้ประกาศตามมาตรา ๓๘ วรรคหนึ่ง เป็นผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ให้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อ
ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบวัน เพื่อให้ถอนชื่อผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้งผู้นั้น ออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
            เมื่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เป็นผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ให้มีคำสั่งถอนชื่อผู้นั้น ออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และแจ้งให้ผู้ยื่นคำร้องและเจ้าบ้านทราบ ถ้าผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นว่า ผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้รายงานต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ยื่นคำร้องทราบภายใน สามวันนับแต่วัน ได้รับคำร้อง ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นว่า ผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เป็นผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ให้มีคำสั่งถอนชื่อผู้นั้นออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และให้นำความในมาตรา ๓๙ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
            ถ้าเจ้าบ้านผู้ใดเห็นว่าบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ปรากฏชื่อบุคคลอื่นซึ่งมิได้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของตน เมื่อเจ้าบ้านหรือผู้ซึ่งเจ้าบ้านมอบหมาย นำหลักฐานทะเบียนบ้านมาแสดงให้เห็นว่า ไม่มีชื่อบุคคลนั้นอยู่ในทะเบียนบ้าน ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง แล้วแต่กรณี มีคำสั่งถอนชื่อบุคคลนั้น ออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และแจ้งให้เจ้าบ้านหรือผู้ซึ่งเจ้าบ้านมอบหมายทราบโดยเร็ว
            
กรณีตามวรรคสองหรือวรรคสาม ถ้าผู้ที่ถูกถอนชื่อออกจากบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และยื่นคำร้องคัดค้านการถูกถอนชื่อ ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ววินิจฉัยโดยเร็ว คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นที่สุด

มาตรา 41 ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลใด และคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้รับแจ้งคำพิพากษานั้นแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง แจ้งผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้บันทึกไว้ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

มาตรา 42 ในกรณีที่มีการถอนชื่อบุคคลใดออกจากบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามมาตรา ๓๘ วรรคสอง หรือมาตรา ๔๐ วรรคสองหรือวรรคสาม หรือเพิ่มชื่อบุคคลใดลงในบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามมาตรา ๓๙ วรรคสอง หรือในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลใดตามมาตรา ๔๑ ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แจ้งต่อผู้อำนวยการทะเบียนกลางตามกฎหมาย ว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เพื่อแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามมาตรา ๙ ให้ถูกต้องด้วย

มาตรา 43 ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินการย้ายบุคคลเข้ามาในทะเบียนบ้าน เพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้งโดยมิชอบ
            กรณีดังต่อไปนี้ให้สันนิษฐานว่าเป็นการย้ายบุคคล เข้ามา ในทะเบียนบ้านเพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้ง โดยมิชอบด้วย เว้นแต่คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการย้ายโดยมีเหตุผลอันสมควร

(๑) การย้ายบุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ซึ่งไม่มีชื่อสกุลเดียวกับเจ้าบ้านเข้ามาในทะเบียนบ้าน เพื่อให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิเลือกตั้ง ที่จะมีขึ้นภายในสองปีนับแต่วันที่ย้ายเข้ามา ในทะเบียนบ้าน
(๒) การย้ายบุคคลเข้ามาในทะเบียนบ้านโดยบุคคลนั้นมิได้อยู่อาศัยจริง
(๓) การย้ายบุคคลเข้ามาในทะเบียนบ้านโดยมิได้รับความยินยอมจากเจ้าบ้าน

 

หมวด ๕
ผู้สมัคร การสมัครรับเลือกตั้ง และตัวแทนผู้สมัคร


มาตรา 44 บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง

(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(๓) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง หรือได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือน และที่ดินหรือกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นเวลาติดต่อกันสามปีนับถึงปีที่สมัครรับเลือกตั้ง และ
(๔) คุณสมบัติอื่นที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด

มาตรา 45 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง

(๑) ติดยาเสพติดให้โทษ
(๒) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๓) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา ๓๔ (๑) (๒) หรือ (๔)
(๔) ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายศาล
(๕) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป และ
ได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
(๖) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะ
ได้รับโทษหรือไม่ โดยได้พ้นโทษหรือต้องคำพิพากษามายังไม่ถึงห้าปี นับถึงวันเลือกตั้ง แล้วแต่กรณี
(๗) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริต และประพฤติมิชอบในวงราชการ
(๘) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
(๙) เคยถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียง เพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี มายังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันเลือกตั้ง
(๑๐) อยู่ในระหว่างเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นตามมาตรา ๓๗ หรือตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
(๑๑) เคยถูกคณะกรรมการการเลือกตั้ง สั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง มายังไม่ถึงหนึ่งปีนับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีคำสั่งอันเนื่องมาจากการกระทำการโดยไม่สุจริต ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับเลือกตั้ง หรือได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่สุจริต
(๑๒) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๑๓) เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา หรือเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกัน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
(๑๔) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
(๑๕) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
(๑๖) เป็นกรรมการการเลือกตั้ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
(๑๗) ลักษณะอื่นที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด

มาตรา 46 ในการสมัครรับเลือกตั้ง ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัคร ต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การยื่นใบสมัครตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้สมัครยื่นหลักฐานการสมัคร พร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมการสมัคร ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 47 เมื่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับใบสมัครแล้ว ให้บันทึกการรับสมัครไว้เป็นหลักฐาน และออกใบรับให้แก่ผู้สมัครในวันนั้น และให้ตรวจสอบหลักฐานการสมัคร คุณสมบัติของผู้สมัคร และสอบสวนว่าผู้สมัครมีสิทธิ ที่จะสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ ให้เสร็จสิ้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันปิดการรับสมัคร ถ้าผู้สมัครมีสิทธิที่จะสมัครรับเลือกตั้งได้ ให้ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้โดยเปิดเผย ณ ศาลากลางจังหวัด หรือที่ว่าการอำเภอที่ตั้งอยู่ในเขตเลือกตั้งนั้น ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ที่เลือกตั้งหรือบริเวณใกล้เคียงกับที่เลือกตั้งและสถานที่อื่นที่เห็นสมควร
            ประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้มีชื่อผู้สมัคร รูปถ่ายผู้สมัคร และหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร ที่จะใช้ในการลงคะแนนเลือกตั้ง ตามแบบที่ คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

มาตรา 48 เมื่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ออกใบรับให้แก่ผู้สมัครตามมาตรา ๔๗ วรรคหนึ่งแล้ว ผู้สมัครจะถอนการสมัครมิได้ และให้ค่าธรรมเนียมการสมัคร ตกเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น

มาตรา 49 ผู้สมัครผู้ใดไม่มีชื่อในประกาศตามมาตรา ๔๗ ให้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ภายในสามวันนับแต่วันที่ประกาศรายชื่อ ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ในการนี้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำวินิจฉัยโดยเร็ว และให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามคำวินิจฉัยนั้น
            เพื่อประโยชน์และความสะดวกรวดเร็ว ในการรับคำร้องและวินิจฉัยกรณีตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง อาจมอบอำนาจ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ดำเนินการแทนได้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 50 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดเห็นว่าผู้สมัครผู้ใดไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้นั้นมีสิทธิยื่นคำร้อง ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ก่อนวันเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่ายี่สิบวันเพื่อให้ถอนชื่อ ผู้ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งผู้นั้น และให้นำความในมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 51 ให้กำหนดหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร เรียงตามลำดับก่อนหลังในการมายื่นใบสมัคร ถ้ามีผู้สมัครมาพร้อมกันหลายคน และไม่อาจตกลงกันได้ให้ใช้วิธีจับสลากระหว่างผู้สมัคร ที่มาพร้อมกัน
            
เมื่อได้กำหนดหมายเลขประจำตัวผู้สมัครตามวรรคหนึ่งแล้ว จะเปลี่ยนแปลงหมายเลขประจำตัวผู้สมัครไม่ได้ ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ
            หลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร และการจับสลาก ให้เป็นไปตามที่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง กำหนด

มาตรา 52 ผู้สมัครผู้ใดประสงค์จะส่งตัวแทนไปประจำอยู่ ณ ที่เลือกตั้ง ให้ยื่นหนังสือแต่งตั้งตัวแทนของตน ต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน โดยให้แต่งตั้งได้แห่งละหนึ่งคน

มาตรา 53 ตัวแทนผู้สมัครต้องอยู่ในที่ซึ่งจัดไว้ ณ ที่เลือกตั้งซึ่งสามารถมองเห็นการปฏิบัติงานได้ และห้ามมิให้ปฏิบัติหน้าที่ เป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง หรือจับต้องบัตรเลือกตั้ง หรือกล่าวโต้ตอบกับกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง หรือระหว่างกันเอง โดยประการ ที่จะเป็นอุปสรรคแก่การเลือกตั้ง
            ตัวแทนผู้สมัครอาจร้องทักท้วงในเมื่อเห็นว่ากรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งปฏิบัติการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ในกรณีเช่นนี้ ให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจดบันทึกคำทักท้วงนั้นไว้
            ถ้าตัวแทนผู้สมัครกระทำการอันจะเป็นอุปสรรคแก่การเลือกตั้ง และกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ได้ตักเตือนแล้ว แต่ยังขัดขืน คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งมีอำนาจสั่ง ให้ตัวแทนผู้สมัครออกไปจากที่เลือกตั้ง

 

หมวด ๖
ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งและวิธีการหาเสียงเลือกตั้ง


มาตรา 54 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ประกาศกำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
             ห้ามมิให้ผู้สมัครใช้จ่ายในการเลือกตั้ง เกินจำนวนเงินค่าใช้จ่ายที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง จำนวนเงินค่าใช้จ่ายดังกล่าว ให้รวมถึงบรรดาเงินที่บุคคลอื่นได้จ่าย หรือรับว่าจะจ่ายแทน และทรัพย์สินที่บุคคลอื่นได้นำมาให้ใช้ หรือยกให้โดยไม่คิดค่าตอบแทน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้ง ของผู้สมัครโดยผู้สมัครรับรู้หรือยินยอม ในกรณีที่นำทรัพย์สินมาให้ใช้ ให้คำนวณตามอัตราค่าเช่า หรือค่าตอบแทนตามปกติในท้องที่นั้น
             บรรดาเงินที่บุคคลอื่นได้ใช้จ่าย ในการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งให้ผู้สมัคร และผู้สมัครได้รับทราบถึงการกระทำดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าเป็นจำนวนเงินค่าใช้จ่ายที่ผู้สมัครรับรู้ หรือยินยอมตามวรรคสอง เว้นแต่ผู้สมัครจะได้แจ้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัดว่าไม่ยินยอมให้มีการกระทำเช่นว่านั้น ภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการกระทำดังกล่าว ในการนี้ให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเพื่อมิให้มีการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง โดยบุคคลดังกล่าว อีกต่อไป

มาตรา 55 ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง ผู้สมัครต้องยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายในการเลือกตั้ง ซึ่งรับรองความถูกต้อง พร้อมทั้งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน ตามความจริงต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
             เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ได้รับบัญชีรายรับและรายจ่ายตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ปิดประกาศไว้ ณ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น และสถานที่อื่นที่เห็นสมควร
             รายละเอียดและวิธีการจัดทำ และรับรองความถูกต้องของบัญชีรายรับ และรายจ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 56 ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด มีเหตุอันควรสงสัยหรือได้รับแจ้ง โดยมีหลักฐานอันสมควรว่า ผู้สมัครผู้ใดใช้จ่ายในการเลือกตั้ง เกินจำนวนเงินค่าใช้จ่าย ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดประกาศกำหนด ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ทำการสอบหาข้อ
เท็จจริงโดยเร็ว ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเห็นว่า ผู้สมัครผู้นั้นใช้จ่ายในการเลือกตั้ง เกินจำนวนเงินค่าใช้จ่าย ที่กำหนดดังกล่าว ให้แจ้งพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย พร้อมทั้งรายงานต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง และถ้าผู้สมัครผู้ใดได้รับเลือกตั้ง หากคณะกรรมการการเลือกตั้ง เห็นด้วยกับความเห็นดังกล่าว ให้มีคำสั่งเพิกถอนผลการเลือกตั้งของ
ผู้ได้รับเลือกตั้งผู้นั้น และให้ดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ สำหรับตำแหน่งที่ว่าง แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ผู้นั้น ได้กระทำไปในหน้าที่ก่อนวันประกาศ ให้มีการเลือกตั้งใหม่
             ในกรณีที่ผู้สมัครผู้ใดไม่ยื่นบัญชี รายรับและรายจ่ายตามมาตรา ๕๕ วรรคหนึ่งเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีคำสั่งเพิกถอนผลการเลือกตั้ง ของผู้ได้รับเลือกตั้งผู้นั้น และให้ดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ สำหรับตำแหน่งที่ว่าง
             กรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอมีเหตุอันควรสงสัย และมีหลักฐาน ที่น่าเชื่อได้ว่าผู้สมัครผู้ใด ใช้จ่ายในการเลือกตั้ง เกินจำนวนเงินค่าใช้จ่าย ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดประกาศกำหนด ให้แจ้งคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด เพื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งต่อไป

มาตรา 57 เมื่อมีการประกาศให้มีการเลือกตั้ง ในกรณีอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระการดำรงตำแหน่ง ของสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือ ผู้ใดกระทำการ เพื่อจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ตนเอง หรือผู้สมัครอื่น หรือให้งดเว้นการลงคะแนนเลือกตั้ง ให้แก่ผู้สมัครใดด้วยวิธีการดังนี้

(๑) จัดทำ ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด
(๒) ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าโดยทางตรง หรือทางอ้อมแก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด สถาบันการศึกษา สถานสงเคราะห์ หรือสถาบันอื่นใดที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
(๓) ทำการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งด้วยการจัดให้มีมหรสพหรือการรื่นเริงต่าง ๆ
(๔) เลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยงผู้ใด
(๕) หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้าย หรือจูงใจให้เข้าใจผิดในเรื่องใดอันเกี่ยวกับผู้สมัครใด

             กรณีตามวรรคหนึ่ง หากเป็นการเลือกตั้งอันเนื่องมาจากการครบวาระ การดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นห้ามมิให้กระทำภายในหกสิบวันก่อน วันครบวาระการดำรงตำแหน่งจนถึงวันเลือกตั้ง
             
การประกาศนโยบาย หรือการดำเนินการตามแนวทาง ในการแก้ไขปัญหาตามอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่น ด้วยวิธีการใช้จ่าย จากเงินงบประมาณ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มิให้ถือว่าเป็นกรณีตาม (๑) หรือ (๒)
             เพื่อให้การหาเสียงเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศ เพื่อแนะนำวิธีการหรือลักษณะ ต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 58 ห้ามมิให้ผู้สมัครจัดยานพาหนะนำผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปยังที่เลือกตั้ง เพื่อการเลือกตั้งหรือนำกลับจากที่เลือกตั้ง หรือจัดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ไปยังที่เลือกตั้งหรือกลับจากที่เลือกตั้ง โดยไม่ต้องเสียค่าโดยสารหรือค่าจ้างซึ่งต้องเสียตามปกติ
             ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง เพื่อจูงใจหรือควบคุมให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ไปลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครผู้ใด
             บทบัญญัติในวรรคสอง มิให้ใช้บังคับแก่การที่หน่วยงานของรัฐจัดยานพาหนะ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

มาตรา 59 ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้มีสัญชาติไทยเข้ามีส่วนช่วยเหลือในการเลือกตั้ง หรือกระทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์แก่การเลือกตั้ง โดยประการที่อาจเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ ผู้สมัคร ทั้งนี้ เว้นแต่การกระทำนั้นเป็นการช่วยราชการ ตามที่ทางราชการร้องขอ หรือเป็นการประกอบอาชีพตามปกติโดยสุจริตของผู้นั้น

มาตรา 60 ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่กระทำการใด ๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัคร เว้นแต่เป็นการกระทำ ตามอำนาจหน้าที่ ในกรณีมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า มีการฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยุติ ระงับ หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขการกระทำดังกล่าว              ในกรณีจำเป็นให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น พ้นจากหน้าที่เป็นการชั่วคราว หรือสั่งให้ประจำกระทรวง ทบวง กรม ศาลากลางจังหวัด หรือที่ว่าการอำเภอ หรือห้ามเข้าเขตเลือกตั้งจนกว่า จะมีการประกาศผล การนับคะแนนได้
             เพื่อประโยชน์และความสะดวกรวดเร็ว ในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามวรรคสอง คณะกรรมการการเลือกตั้ง อาจมอบอำนาจให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดดำเนินการแทนได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 61 ห้ามมิให้ผู้ใดทำการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง โดยวิธีการใด ๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัคร นับตั้งแต่เวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกาของวันก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวันจนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง

มาตรา 62 เมื่อได้มีประกาศให้มีการเลือกตั้งตามมาตรา ๘ ในเขตเลือกตั้งใดแล้ว มิให้นำกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง มาใช้บังคับแก่การโฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง
             การโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งต้องไม่กระทำโดยวิธีทา พ่น หรือระบายสีซึ่งข้อความ ภาพ หรือรูปรอยใด ๆ หรือโดยวิธีการปิดประกาศ ณ ที่รั้ว กำแพง ผนัง อาคาร สะพาน เสาไฟฟ้า หรือต้นไม้ บรรดาซึ่งเป็นทรัพย์สินของทางราชการ หรือ ณ บริเวณที่เจ้าของ หรือผู้ครอบครองทรัพย์สิน มิได้อนุญาต เว้นแต่เป็นการปิดประกาศ ณ สถานที่ที่กำหนดตามมาตรา ๖๓
             ในกรณีที่มีการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง อันเป็นการฝ่าฝืนวรรคสอง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมาย ว่าด้วยการรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง มีอำนาจหน้าที่ทำลาย ปกปิด ลบ หรือล้างข้อความ ภาพ หรือรูปรอยดังกล่าว แต่ในกรณีที่มิใช่ทรัพย์สินของทางราชการ เจ้าพนักงานท้องถิ่น จะมีอำนาจดังกล่าวเมื่อได้รับคำร้องขอ จากเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สิน

มาตรา 63 เมื่อได้มีประกาศให้มีการเลือกตั้งตามมาตรา ๘ ในเขตเลือกตั้งใดแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วย การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง กำหนดสถานที่เพื่อปิดประกาศ โฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง ไว้ตามความจำเป็น

มาตรา 64 เมื่อได้มีประกาศกำหนดที่เลือกตั้งตามมาตรา ๑๗ แล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดนำสิ่งพิมพ์ แผ่นประกาศ หรือสิ่งอื่นใด มาปิดหรือแสดงไว้ภายในที่เลือกตั้ง เว้นแต่เป็นการดำเนินการ ตามคำสั่งของผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวก แก่ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามระเบียบ ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
             ในกรณีที่มีสิ่งพิมพ์ แผ่นประกาศ หรือสิ่งอื่นใด ปิดหรือแสดงไว้ภายในที่เลือกตั้งอยู่ก่อน หรือในวันเลือกตั้งอันเป็นการฝ่าฝืน วรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งทำลาย ปกปิด หรือนำออกไปไว้นอกที่เลือกตั้ง

 

หมวด ๗
การลงคะแนนเลือกตั้ง


มาตรา 65 หีบบัตรเลือกตั้ง ให้มีลักษณะตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด ซึ่งต้องกำหนดให้สามารถมองเห็นภายในได้ง่าย

มาตรา 66 บัตรเลือกตั้ง ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด ซึ่งต้องกำหนดให้มีช่องทำเครื่องหมาย สำหรับผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งด้วย

มาตรา 67 ในวันเลือกตั้งให้เปิดการลงคะแนนเลือกตั้งตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกา

มาตรา 68 ก่อนเริ่มเปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง นับจำนวนบัตรเลือกตั้งทั้งหมด ของหน่วยเลือกตั้งนั้น และปิดประกาศจำนวนบัตรเลือกตั้ง ไว้ในที่เปิดเผย และเมื่อถึงเวลาเปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง เปิดหีบบัตรเลือกตั้งให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่ ณ ที่เลือกตั้งนั้นเห็นว่าเป็นหีบบัตรเลือกตั้งเปล่า และให้ปิดหีบบัตรเลือกตั้งตามวิธีการ ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด แล้วให้บันทึกการดำเนินการดังกล่าว โดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่าสองคน ซึ่งอยู่ในที่เลือกตั้งในขณะนั้นลงลายมือชื่อ ในบันทึกนั้นด้วย เว้นแต่ไม่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อยู่ในขณะนั้น

มาตรา 69 ในระหว่างเวลาเปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง ไปแสดงตนต่อกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือแสดงบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการ ที่มีรูปถ่ายอันแสดงตน ได้ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
            บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุแล้วให้ใช้แสดงตนตามวรรคหนึ่งได้
            เมื่อกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ตรวจสอบชื่อในบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแล้ว ให้อ่านชื่อและที่อยู่ของผู้นั้นดัง ๆ ถ้าไม่มีผู้ใดทักท้วงให้จดหมายเลขบัตร และสถานที่ออกบัตร และให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วมือในบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นหลักฐาน ตามวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด แล้วให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง มอบบัตรเลือกตั้งให้แก่ผู้นั้น เพื่อไปลงคะแนนเลือกตั้ง
            ในกรณีที่มีผู้ทักท้วงหรือกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง สงสัยว่าผู้ซึ่งมาแสดงตนนั้น มิใช่ผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง บันทึกการทักท้วง หรือข้อสงสัยไว้เป็นหลักฐาน และให้ทำการสอบสวนและวินิจฉัยว่าผู้ถูกทักท้วง หรือผู้ถูกสงสัยเป็นผู้มีชื่อ ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือไม่ แล้วให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง บันทึกคำวินิจฉัยและลงลายมือชื่อไว้

มาตรา 70 ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งได้แจ้งเหตุตามมาตรา ๓๕ วรรคสอง มาแสดงตนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง บันทึกการใช้สิทธิเลือกตั้ง ไว้ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

มาตรา 71 การลงคะแนนเลือกตั้งให้ทำเครื่องหมายกากบาทลงในบัตรเลือกตั้ง
            ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดให้มีการอำนวยความสะดวก หรือช่วยเหลือในการลงคะแนนเลือกตั้งของคนพิการ

มาตรา 72 ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง ให้ทำเครื่องหมายในช่องไม่ลงคะแนนเลือกตั้ง ในบัตรเลือกตั้ง

มาตรา 73 เมื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำเครื่องหมายลงในบัตรเลือกตั้งแล้ว ให้พับบัตรเลือกตั้งเพื่อมิให้ผู้อื่นทราบได้ว่า ลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครใด แล้วให้นำบัตรเลือกตั้งนั้น ใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้งด้วยตนเอง ต่อหน้ากรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง และให้นำความในมาตรา ๗๑ วรรคสอง มาใช้บังคับกับการนำบัตรเลือกตั้ง ใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้งของคนพิการด้วยโดยอนุโลม

มาตรา 74 ในระหว่างเวลาเปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ต้องมิให้ผู้ใดเข้าไปในที่เลือกตั้ง เว้นแต่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง หรือผู้ที่เข้าไปเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้ง

มาตรา 75 ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิเลือกตั้ง หรือไม่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งนั้น ลงคะแนนเลือกตั้งหรือพยายามลงคะแนนเลือกตั้ง

มาตรา 76 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้บัตรที่มิใช่บัตรเลือกตั้ง ซึ่งกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งมอบให้ตามมาตรา ๖๙ วรรคสาม ลงคะแนนเลือกตั้ง
            ห้ามมิให้ผู้ใดนำบัตรเลือกตั้ง ออกไปจากที่เลือกตั้ง เว้นแต่เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่

มาตรา 77 ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการใด ๆ เพื่อเป็นที่สังเกตไว้ที่บัตรเลือกตั้ง เว้นแต่เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่

มาตรา 78 ห้ามมิให้ผู้ใดนำบัตรเลือกตั้งใส่ในหีบบัตรเลือกตั้ง เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา ๗๓

มาตรา 79 ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการใด ๆ ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อแสดงว่ามีผู้มาแสดงตน เพื่อลงคะแนนเลือกตั้งโดยผิดจากความจริง
            ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้บัตรเลือกตั้งมีจำนวนผิดจากความจริง

มาตรา 80 ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการใด ๆ โดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อขัดขวางหรือหน่วงเหนี่ยว มิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไป ณ ที่เลือกตั้ง หรือเข้าไป ณ ที่ลงคะแนนเลือกตั้ง หรือมิให้ไปถึง ณ ที่ดังกล่าวภายในกำหนดเวลาเปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง

มาตรา 81 ห้ามมิให้ผู้ใดจ่าย แจก หรือให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อจูงใจ มิให้ไปลงคะแนนเลือกตั้ง หรือกระทำการใด ๆ เพื่อมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปลงคะแนนเลือกตั้ง
            ผู้ใดมีบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้อื่นตั้งแต่สองคนขึ้นไปไว้ใน ความครอบครองโดยไม่มีเหตุอันสมควร ในระหว่างวันประกาศให้มีการเลือกตั้ง ถึงวันถัดจากวันเลือกตั้ง ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการตามวรรคหนึ่ง

มาตรา 82 ห้ามมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดเรียก รับ หรือยอมจะรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เพื่อลงคะแนนเลือกตั้ง หรืองดเว้นไม่ลงคะแนนเลือกตั้ง ให้แก่ผู้สมัครใด

มาตรา 83 ในกรณีที่การลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งใด ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากเกิดจลาจล อุทกภัย อัคคีภัย หรือเหตุสุดวิสัยอย่างอื่น ถ้าเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนวันเลือกตั้ง ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดที่เลือกตั้งใหม่ในตำบลเดียวกัน ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถ ไปลงคะแนนเลือกตั้งได้โดยสะดวก แต่ถ้าไม่อาจกำหนด ที่เลือกตั้งใหม่ ในตำบลเดียวกัน และไม่เป็นการสะดวกที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จะไปลงคะแนนเลือกตั้งในตำบลอื่น ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกาศงดการลงคะแนนเลือกตั้ง ในหน่วยเลือกตั้งนั้น แล้วรายงานต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัดและคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยเร็ว
            ในกรณีที่เหตุตามวรรคหนึ่งเกิดขึ้นในวันเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ประกาศงดการลงคะแนนเลือกตั้ง ในหน่วยเลือกตั้งนั้น แล้วรายงานต่อ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัด และคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยเร็ว
            เมื่อได้มีประกาศงดการลงคะแนนเลือกตั้ง ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้ว ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด จัดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ ในหน่วยเลือกตั้งนั้นภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่สามารถจัดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งได้ ในการนี้ให้ประกาศวันลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าสามวัน และรายงานต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยเร็ว

มาตรา 84 ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้ง ในหน่วยเลือกตั้งใด จะมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด รายงานต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง และให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจประกาศงดการลงคะแนนเลือกตั้ง ในหน่วยเลือกตั้งนั้น
            เมื่อได้มีประกาศงดการลงคะแนนเลือกตั้งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด จัดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ ในหน่วยเลือกตั้งนั้น ภายในยี่สิบเอ็ดวัน นับแต่วันที่ประกาศงดการลงคะแนนเลือกตั้ง ในการนี้ให้ประกาศวันลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าสามวัน

มาตรา 85 เมื่อถึงกำหนดเวลาปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ประกาศปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง และงดจ่ายบัตรเลือกตั้ง แล้วให้ทำเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้งที่เหลืออยู่ เพื่อให้เป็นบัตรเลือกตั้งที่ใช้ลงคะแนนเลือกตั้ง ไม่ได้ตามวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด และกรณีที่ผู้มาแสดงตนขอใช้สิทธิตามมาตรา ๖๙ เหลืออยู่ ในที่เลือกตั้งแต่ยัง ไม่ได้รับบัตรเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจ่ายบัตรเลือกตั้ง ให้แก่ผู้มาแสดงตนนั้น และเมื่อได้ทำการลงคะแนน เลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ปิดช่องใส่บัตรเลือกตั้งของหีบบัตรเลือกตั้ง
            ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง จัดทำรายการเกี่ยวกับจำนวนบัตรเลือกตั้งทั้งหมด จำนวนผู้มาแสดงตน และรับบัตรเลือกตั้ง และจำนวนบัตรเลือกตั้งที่เหลือ แล้วให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งทุกคนลงลายมือชื่อไว้ และประกาศให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่ ณ ที่เลือกตั้งทราบ

มาตรา 86 นับแต่เวลาที่ได้ปิดหีบบัตรเลือกตั้งเพื่อการลงคะแนนเลือกตั้งตาม มาตรา ๖๘ จนถึงเวลาที่ได้เปิดหีบบัตรเลือกตั้ง เพื่อการนับคะแนนเลือกตั้ง ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายเปิด ทำลาย ทำให้เสียหาย ทำให้เปลี่ยนสภาพ ทำให้ไร้ประโยชน์หรือนำไปซึ่งหีบบัตรเลือกตั้ง บัตรเลือกตั้ง หรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการเลือกตั้ง

 

หมวด ๘
การนับคะแนนเลือกตั้งและการประกาศผลการเลือกตั้ง


มาตรา 87 เมื่อเสร็จสิ้นการลงคะแนนเลือกตั้งแล้ว ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งดำเนินการนับคะแนนเลือกตั้ง ของแต่ละหน่วยเลือกตั้ง โดยให้กระทำ ณ ที่เลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้ง และให้กระทำโดยเปิดเผย และห้ามมิให้เลื่อน หรือประวิงเวลาการนับคะแนน

มาตรา 88 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ออกระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการและรายละเอียดในการนับคะแนนเลือกตั้ง ของคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง

มาตรา 89 ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการใด ๆ เพื่อให้บัตรเลือกตั้งที่อยู่ในสถานที่ นับคะแนนเลือกตั้งมีจำนวนผิดจากความจริง

มาตรา 90 ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง นับคะแนนสำหรับบัตรเลือกตั้ง ที่ได้ทำเครื่องหมายในช่องไม่ลงคะแนนเลือกตั้ง และให้ประกาศจำนวนบัตรดังกล่าวด้วย
                ในการนับคะแนนเลือกตั้ง หากคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง วินิจฉัยด้วยเสียงข้างมาก ว่าบัตรเลือกตั้งใด เป็นบัตรเสีย ให้แยกบัตรเสียออกไว้ต่างหาก และห้ามมิให้นับบัตรเสียเป็นคะแนนเลือกตั้ง ไม่ว่ากรณีใด บัตรเลือกตั้งต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นบัตรเสีย

(๑) บัตรปลอม
(๒) บัตรที่มิได้ทำเครื่องหมายใด ๆ
(๓) บัตรที่ไม่อาจทราบได้ว่าลงคะแนนเลือกตั้งให้กับผู้สมัครคนใด
(๔) บัตรที่ทำเครื่องหมายเป็นที่สังเกตตามมาตรา ๗๗
(๕) บัตรที่มีลักษณะตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนด

                ให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งสลักหลังในบัตรเสียว่า "เสีย" และให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งลงลายมือชื่อกำกับไว้ไม่น้อยกว่าสามคน

มาตรา 91 ห้ามมิให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจงใจนับบัตรเลือกตั้ง อ่านบัตรเลือกตั้ง นับคะแนนเลือกตั้งหรือรวมคะแนนเลือกตั้ง ให้ผิดจากความจริง หรือกระทำการใดโดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายให้บัตรเลือกตั้งชำรุด เสียหายหรือให้เป็นบัตรเสีย หรือกระทำการใดแก่บัตรเสีย เพื่อให้เป็นบัตรเลือกตั้งที่ใช้ได้ หรือทำรายงานการเลือกตั้งผิดจากความจริง

มาตรา 92 เมื่อมีการรวมผลการนับคะแนน ณ ที่หน่วยเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ประกาศผล การนับคะแนนเลือกตั้งของหน่วยเลือกตั้งนั้น จำนวนบัตรเลือกตั้งที่มีอยู่ทั้งหมด จำนวนบัตรเลือกตั้งที่ใช้ และจำนวนบัตรเลือกตั้ง ที่เหลือจากการลงคะแนนเลือกตั้ง ทั้งนี้ ให้กระทำโดยเปิดเผย และรายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้ง ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยทันที เพื่อรวบรวมผลการนับคะแนน ของทุกหน่วยเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น แล้วให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้ง ของเขตเลือกตั้ง และรายงานแสดงผลการนับคะแนนต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดโดยเร็ว
                การประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้ง การรายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้ง วิธีการและระยะเวลาการเก็บรักษา บัตรเลือกตั้ง และเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง กำหนดโดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 93 ถ้าการนับคะแนน ณ หน่วยเลือกตั้งใด ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากเกิดจลาจล อุทกภัย อัคคีภัย หรือเหตุสุดวิสัยอย่างอื่น ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ประกาศงดการนับคะแนนสำหรับหน่วยเลือกตั้งนั้น แล้วรายงานต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด และคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยเร็ว เพื่อให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกำหนดวัน และสถานที่นับคะแนน ต่อไปโดยต้องไม่เกินสามวัน นับแต่เหตุดังกล่าวสิ้นสุดลง

มาตรา 94 ในกรณีที่ผลการนับคะแนนเลือกตั้ง ไม่ตรงกับรายงานการใช้สิทธิเลือกตั้ง ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดให้มีการนับคะแนนเลือกตั้งใหม่ ถ้ายังไม่ตรงกันอีกให้รายงาน ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด เพื่อเสนอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง พิจารณาว่าจะสมควรมีคำสั่งให้มี การเลือกตั้งใหม่ หรือไม่

มาตรา 95 เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ได้รับรายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้งตามมาตรา ๙๒ แล้วเห็นว่า การเลือกตั้ง และการนับคะแนนเลือกตั้ง เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้รายงานต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อประกาศผลการเลือกตั้ง
                ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเห็นว่า ได้มีการทุจริตในการเลือกตั้ง หรือการนับคะแนนเลือกตั้ง หรือมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้ง หรือการนับคะแนนเลือกตั้ง มิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม หรือมีการฝ่าฝืนมาตรา ๕๗ ให้รายงานต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นด้วยกับรายงานดังกล่าว ให้มีคำสั่งให้ นับคะแนนเลือกตั้งใหม่ หรือให้มีการเลือกตั้งใหม่ เว้นแต่การทุจริต หรือความไม่สุจริตหรือไม่เที่ยงธรรมดังกล่าว หรือการฝ่าฝืน มาตรา ๕๗ มิได้เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับเลือกตั้ง หรือมิได้เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้นั้นได้รับเลือกตั้ง
                บทบัญญัติตามวรรคสองไม่เป็นการตัดอำนาจ ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่จะดำเนินการสืบสวนสอบสวน หรือมีคำสั่งตามอำนาจหน้าที่ของตน ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง

มาตรา 96 ก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสืบสวนสอบสวนแล้วเห็นว่า มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครผู้ใดกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืน พระราชบัญญัตินี้ หรือมีพฤติการณ์ที่เชื่อได้ว่า ผู้สมัครผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำ สนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลอื่นกระทำการดังกล่าว หรือรู้ว่ามีการกระทำดังกล่าวแล้ว ไม่ดำเนินการ เพื่อระงับการกระทำนั้นถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเห็นว่า การกระทำนั้นน่า จะมีผลให้การเลือกตั้ง มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด รายงานผลการสืบสวนสอบสวน ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อพิจารณาสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัครที่กระทำการเช่นนั้นทุกรายเป็นเวลาหนึ่งปี โดยให้มีผลนับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่ง
                ในการสืบสวนสอบสวนตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด อาจตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อช่วยดำเนินการเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนได้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด และให้คณะอนุกรรมการ ได้รับค่าตอบแทน ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
                ในกรณีที่ปรากฏต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่ง ไม่ว่าเป็นการกระทำของผู้ใด ถ้าเห็นว่าผู้สมัครผู้ใดจะได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัดมีอำนาจสั่งให้ผู้สมัคร ผู้นั้นระงับหรือดำเนินการใด เพื่อแก้ไขความไม่สุจริตและเที่ยงธรรมนั้นภายในเวลาที่กำหนด ในกรณีที่ผู้สมัครผู้นั้นไม่ดำเนินการตามคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้สันนิษฐานว่าผู้สมัครผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำนั้น
                มติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามมาตรานี้ ต้องมีคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์
เมื่อมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครคนใดแล้ว ให้พิจารณาดำเนินการให้มีการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้สมัครผู้นั้นด้วย
                ในกรณีที่มีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามมาตรานี้ ภายหลังวันลงคะแนนและผู้สมัครที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ที่ได้คะแนนเลือกตั้ง ในลำดับที่ได้รับการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ และให้นำความในมาตรา ๙๕ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 97 เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว หากภายหลังมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดกระทำการใด ๆ โดยไม่สุจริตเพื่อให้ตนเองได้รับเลือกตั้ง หรือการเลือกตั้งหรือการนับคะแนนเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้งใดมิได้เป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรมหรือมีการฝ่าฝืนมาตรา ๕๗ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้นั้น มีกำหนดเวลาหนึ่งปี หรือมีคำสั่งให้เลือกตั้งใหม่ หรือนับคะแนนใหม่ แต่ต้องสั่งภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง เว้นแต่ความไม่สุจริตหรือไม่เที่ยงธรรมดังกล่าว หรือการฝ่าฝืนมาตรา ๕๗ มิได้เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับเลือกตั้ง หรือมิได้เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้นั้นได้รับเลือกตั้ง
                ให้นำความในมาตรา ๙๖ มาใช้บังคับกับการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งตามมาตรานี้โดยอนุโลม

มาตรา 98 ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีคำสั่งให้นับคะแนนเลือกตั้งใหม่ และปรากฏผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลง ผู้ได้รับเลือกตั้ง หรือในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ให้ผู้ได้รับเลือกตั้งเดิม พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้งใหม่ หรือวันที่มีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ แล้วแต่กรณี แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ผู้นั้น ได้กระทำไปในหน้าที่ก่อนวันประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้งใหม่ หรือวันที่มีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่
                ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจสั่งระงับการกระทำใด ๆ ของผู้ได้รับเลือกตั้งที่อาจมีผลกระทบต่อการนับคะแนน เลือกตั้งใหม่ได้ ให้ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น จากการนับคะแนนเลือกตั้งใหม่หรือการเลือกตั้งใหม่ ดำรงตำแหน่ง เท่าวาระที่เหลืออยู่ ของผู้ได้รับเลือกตั้งเดิม ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง

มาตรา 99 ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา ๕๖ หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัคร รับเลือกตั้งผู้ใด ตามมาตรา ๙๖ หรือมาตรา ๙๗ ให้ผู้ซึ่งกระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๕๖ หรือผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนั้น ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ตามจำนวนที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด ซึ่งต้องไม่เกินค่าใช้จ่ายในการให้มีการเลือกตั้งใหม่
                ค่าเสียหายที่ได้รับชดใช้ตามวรรคหนึ่ง ให้ตกเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการเลือกตั้งใหม่นั้น

มาตรา 100 ในกรณีที่มีผู้สมัครเป็นผู้บริหารท้องถิ่นเท่ากับจำนวนผู้บริหาร ท้องถิ่นที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น หรือในกรณีที่มี ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นน้อยกว่า หรือเท่ากับจำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น ผู้สมัครจะได้รับ เลือกตั้งต่อเมื่อ ได้คะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้งนั้น ในกรณีที่ผู้สมัครได้คะแนน เลือกตั้ง น้อยกว่าร้อยละสิบ ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้งนั้น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ประกาศ ให้มีการเลือกตั้งใหม่ หรือให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่ยังขาดอยู่ในเขตเลือกตั้งนั้น
                ในกรณีที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นน้อยกว่าจำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่นที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น และมิได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่ยังขาดอยู่ตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดประกาศ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นเพิ่มเติม เพื่อให้ได้สมาชิกสภาท้องถิ่นครบจำนวน

มาตรา 101 ภายใต้บังคับมาตรา ๑๐๐ การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น ให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนเลือกตั้งมากที่สุด เป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น ในเขตเลือกตั้งที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น ได้หนึ่งคน ให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนเลือกตั้ง มากที่สุด เป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง แต่ในเขตเลือกตั้งที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น ได้มากกว่าหนึ่งคน ให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนน เลือกตั้งมากที่สุดเรียงตามลำดับลงมาในเขตเลือกตั้งนั้น เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งตามจำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่จะพึงมี ในเขตเลือกตั้งนั้น
                ในกรณีที่มีผู้สมัครได้คะแนนเลือกตั้งเท่ากัน อันเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลำดับผู้ได้รับเลือกตั้ง ได้ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้สมัครที่ได้คะแนนเลือกตั้งเท่ากัน จับสลากเพื่อให้ได้ผู้ได้รับเลือกตั้งครบจำนวน ที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น ซึ่งต้องกระทำต่อหน้าผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ตามวิธีการ ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศกำหนด

 

หมวด ๙
การคัดค้านการเลือกตั้ง


มาตรา 102 เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการเลือกตั้ง ของเขตเลือกตั้งใดแล้ว หากผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบคน ผู้สมัคร ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอในเขตเลือกตั้งนั้น เห็นว่าการเลือกตั้ง หรือการนับคะแนนเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น เป็นไปโดยทุจริตหรือไม่เที่ยงธรรม หรือไม่ถูกต้อง ให้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง
               เพื่อประโยชน์ในการคัดค้านการเลือกตั้ง หรือการนับคะแนนเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง อาจกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคัดค้านการเลือกตั้ง หรือการนับคะแนนเลือกตั้งได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 103 เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้รับคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง และพิจารณาแล้วเห็นว่าการเลือกตั้ง หรือการนับคะแนนเลือกตั้ง มิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม หรือมีกรณีการฝ่าฝืนบทบัญญัติ แห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือมีกรณีที่เชื่อได้ว่ามีการฝ่าฝืนมาตรา ๕๗ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีคำสั่งให้นับคะแนนเลือกตั้งใหม่ หรือให้มีการเลือกตั้งใหม่ เว้นแต่ความไม่สุจริตหรือไม่เที่ยงธรรม หรือการฝ่าฝืนดังกล่าวมิได้เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับเลือกตั้ง หรือมิได้เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้นั้นได้รับเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้าน
                ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาคำร้องคัดค้านตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จ ภายในสามสิบวันนับแต่วัน ที่ได้รับคำร้องคัดค้าน ในกรณีจำเป็นอาจขยายระยะเวลาได้ไม่เกินสองครั้งครั้งละไม่เกินสามสิบวัน ให้นำมาตรา ๙๘ มาใช้บังคับกับกรณี ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีคำสั่งให้นับคะแนนเลือกตั้งใหม่ หรือให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม

มาตรา 104 การพิจารณาคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการ ไต่สวนและแสวงหาหลักฐานทั้งปวง เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                ในการพิจารณาตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจสั่งให้หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานดังกล่าว เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือบุคคลใด มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงหรือมาให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสาร หลักฐาน หรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณา และมีอำนาจขอให้ศาลส่งเอกสาร หลักฐานและพยานหลักฐานอื่น ที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาได้

 

หมวด ๑๐
การควบคุมการเลือกตั้ง


มาตรา 105 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจหน้าที่ควบคุม และดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้ง ให้เป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรม

มาตรา 106 คณะกรรมการการเลือกตั้ง อาจมอบหมายให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ดำเนินการควบคุมดูแลการเลือกตั้ง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
                ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ผู้ได้รับมอบหมาย ตามวรรคหนึ่งให้ชัดเจน โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐผู้ได้รับมอบหมาย ต้องดำเนินการภายใต้การกำกับดูแล ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
               เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการการเลือกตั้งจะแต่งตั้งบุคคลอื่น เพื่อช่วยเหลือใน การปฏิบัติหน้าที่ด้วยก็ได้ การมอบอำนาจตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นเหตุให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง พ้นจากหน้าที่ความรับผิดชอบ ตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่า การดำเนินการหรือการสั่งการใด ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัด หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐผู้ได้รับมอบหมาย มิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจสั่งยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข การดำเนินการหรือการสั่งการนั้นได้
               ในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ให้กรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐผู้ได้รับมอบหมาย มีอำนาจเข้าไปในที่เลือกตั้ง

มาตรา 107 ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐผู้ได้รับมอบหมายตามมาตรา ๑๐๖ เห็นว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทำการไปในทางที่อาจเกิดความเสียหาย แก่การจัดการเลือกตั้ง หรืออาจทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม หรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำตักเตือนที่ได้ให้ไว้ ให้รายงานต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในกรณีจำเป็น คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัด หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐผู้ได้รับมอบหมาย อาจมีคำสั่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยุติหรือระงับการกระทำดังกล่าวไว้ชั่วคราวได้
               เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้รับรายงานตามวรรคหนึ่งแล้ว ถ้าเห็นด้วยกับรายงานดังกล่าว หรือเมื่อเหตุตามวรรคหนึ่ง ปรากฏแก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น หรือผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้นั้น พ้นจากหน้าที่ความรับผิดชอบ และแต่งตั้งบุคคลอื่น ปฏิบัติหน้าที่แทน
               ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง แต่งตั้งบุคคลอื่นปฏิบัติหน้าที่แทน คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น หรือผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามวรรคสอง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งมอบเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับ การเลือกตั้ง และอำนวยความสะดวกแก่บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้ง และให้บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับ คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จนกว่าการเลือกตั้งจะเสร็จสิ้น

มาตรา 108 ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีคำสั่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ้นจากหน้าที่ความรับผิดชอบตามมาตรา ๑๐๗ วรรคสอง ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นสมควร ให้มีการดำเนินการทางวินัยด้วย ให้แจ้งต่อผู้บังคับบัญชาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เพื่อดำเนินการทางวินัย ในการนี้ ให้ใช้ข้อเท็จจริงที่ได้รับจาก คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหลัก ในการพิจารณาดำเนินการทางวินัย

 

หมวด ๑๑
บทกำหนดโทษ


มาตรา 109 ผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างผู้ใดขัดขวาง หน่วงเหนี่ยว หรือไม่ให้ความสะดวก โดยไม่มีเหตุอันสมควรในการไปใช้สิทธิ เลือกตั้ง ของผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกจ้าง แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 110 เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง หรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำที่เลือกตั้งผู้ใด ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๗ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
             ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น ดำเนินการทางวินัยด้วย

มาตรา 111 ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่น ของรัฐผู้ใด ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งสั่งตามมาตรา ๒๙ ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 112 ผู้ใดแจ้งเหตุตามมาตรา ๓๕ วรรคสองหรือมาตรา ๓๖ วรรคหนึ่ง อันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 113 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 114 ผู้ใดกระทำการอันเป็นเท็จ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าผู้สมัครผู้ใด กระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง มีกำหนดห้าปี
             ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการกลั่นแกล้งให้ผู้สมัครนั้น ถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง หรือเพื่อไม่ให้มีการประกาศผล การเลือกตั้ง ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง มีกำหนดสิบปี
             ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการแจ้ง หรือให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดยี่สิบปี
             ถ้าการกระทำตามวรรคสอง หรือวรรคสามเป็นการกระทำ หรือก่อให้ผู้อื่นกระทำ สนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจของหัวหน้า พรรคการเมือง ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้น กระทำการอันอาจเป็นภัย ต่อความมั่นคงของรัฐ ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง

มาตรา 115 กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด กรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมาย ให้ดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ตามพระราชบัญญัตินี้ จงใจไม่ปฏิบัติตามหน้าที่หรือกระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่เพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัคร หรือกระทำการหรือละเว้น กระทำการโดยทุจริต หรือประพฤติมิชอบในการปฏิบัติหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง มีกำหนดสิบปี
             ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งกระทำการตามหน้าที่โดยสุจริต ย่อมได้รับความคุ้มครองไม่ต้องรับผิด ทั้งทางแพ่งหรือทางอาญา

มาตรา 116 ผู้สมัครผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๕๔ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนบาท หรือปรับเป็นจำนวนสามเท่าของจำนวนเงิน ที่เกินจำนวนที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ประกาศกำหนด แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่ากัน หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดห้าปี

มาตรา 117 ผู้สมัครผู้ใดไม่ยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายในการเลือกตั้ง ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือยื่นหลักฐานไม่ถูกต้องครบถ้วน ตามความจริงตามมาตรา ๕๕ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดห้าปี
             ถ้าข้อความในบัญชีรายรับ และรายจ่ายที่ได้ยื่นไว้ตามมาตรา ๕๕ วรรคหนึ่ง เป็นเท็จ ผู้ได้รับเลือกตั้งต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดห้าปี

มาตรา 118 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๕๗ มาตรา ๖๐ มาตรา ๗๕ มาตรา ๘๙ หรือ มาตรา ๙๑ ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาท ถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี

มาตรา 119 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๕๘ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดห้าปี

มาตรา 120 ผู้ซึ่งมิได้มีสัญชาติไทยผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๕๙ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาท ถึงสองแสนบาท

มาตรา 121 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๑ หรือมาตรา ๖๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 122 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๒ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือปรับแห่งละ หนึ่งพันบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่ากัน หรือทั้งจำทั้งปรับ
             ค่าปรับตามวรรคหนึ่ง ให้นำส่งเป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ความผิดได้เกิดขึ้น เพื่อใช้ในการแก้ไข ความเสียหายที่เกิดขึ้น

มาตรา 123 ผู้ใดจงใจกระทำด้วยประการใด ๆ ให้บัตรเลือกตั้งชำรุด หรือเสียหายหรือให้เป็นบัตรเสีย หรือกระทำด้วยประการใด ๆ แก่บัตรเสียเพื่อให้เป็นบัตรเลือกตั้ง ที่ใช้ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และให้ศาลสั่ง
เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง มีกำหนดห้าปี
             ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี

มาตรา 124 ในระหว่างเวลาเปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง จนถึงเวลาปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งผู้ใด เปิดเผยให้ผู้อื่นทราบว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใด มาลงคะแนนเลือกตั้ง หรือยังไม่มาลงคะแนนเลือกตั้ง เพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษ แก่ผู้สมัคร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 125 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๗๖ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๘๖ หรือจงใจขัดขวางมิให้มีการส่งหีบบัตรเลือกตั้ง หรือกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อให้การส่งหีบบัตรเลือกตั้งล่าช้า ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง มีกำหนดสิบปี

มาตรา 126 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๗๖ วรรคสอง มาตรา ๗๗ มาตรา ๗๘ มาตรา ๗๙ หรือมาตรา ๘๐ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดห้าปี

มาตรา 127 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๘๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี

มาตรา 128 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๘๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
             ในกรณีที่ผู้ฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่งเป็นผู้รับหรือยอมจะรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ถ้าได้แจ้งถึงการกระทำดังกล่าว ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือผู้ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมายก่อน หรือในวันเลือกตั้ง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

มาตรา 129 คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นผู้ใด ฝ่าฝืนมาตรา ๑๐๗ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 130 ผู้ใดขาย จำหน่าย จ่ายแจก หรือจัดเลี้ยงสุราทุกชนิดในเขตเลือกตั้ง ในระหว่างเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกาของวันก่อนวันเลือกตั้ง หนึ่งวัน จนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 131 ผู้ใดเล่นหรือจัดให้มีการเล่นการพนันขันต่อใด ๆ เกี่ยวกับผลของการเลือกตั้ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดห้าปี

มาตรา 132 ผู้ใดบังคับ ขู่เข็ญ ขัดขวาง หน่วงเหนี่ยว หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำให้ผู้อื่นเสียสิทธิ หรือไม่สามารถ ไปสมัครเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นได้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดห้าปี

มาตรา 133 สมาชิกสภาท้องถิ่นผู้ใดได้รับเลือกจากสมาชิกสภาท้องถิ่นด้วยกัน ให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่น ตามกฎหมาย ว่าด้วยการจัดตั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรม เนื่องจากมีหลักฐานเชื่อได้ว่าตนเองได้กระทำ หรือก่อให้ผู้อื่นกระทำ สนับสนุนหรือยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้ผู้อื่นกระทำการให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวนเป็นเงินได้ แก่สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้ใด เพื่อจูงใจให้สมาชิกสภาท้องถิ่นผู้นั้น ลงคะแนนเสียงเลือกตนเป็นผู้บริหารท้องถิ่น หรืองดเว้นการลงคะแนนเสียง เพื่อให้ตนได้รับเลือกเป็นผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นผู้ใดเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเพื่อลงคะแนนหรือ
งดเว้นการลงคะแนนเลือกผู้บริหารท้องถิ่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีและปรับ ตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี

มาตรา 134 ผู้ใดกระทำ หรือก่อให้ผู้อื่นกระทำ หรือสนับสนุนการให้ สัญญาว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด เพื่อจูงใจให้สมาชิกสภาท้องถิ่นลงคะแนนเสียง หรืองดเว้นการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่นเป็นผู้บริหารท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือกลั่นแกล้งไม่ว่าด้วยประการใด ๆ เพื่อมิให้สมาชิกสภาท้องถิ่น ได้รับเลือกเป็นผู้บริหารท้องถิ่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี

มาตรา 135 ในกรณีที่ปรากฏว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เกิดขึ้นในเขตเลือกตั้งใด ให้ถือว่าคณะกรรมการ การเลือกตั้ง หรือผู้สมัครในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

 

บทเฉพาะกาล


มาตรา 136 ในกรณีที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ แก่การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทใดแล้ว ให้บรรดาบทบัญญัติตามพระราชบัญญัตินี้ ยังไม่ใช้บังคับกับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ในประเภทนั้นที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

(๑) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ที่ยังมีสมาชิกสภาท้องถิ่นดำรงตำแหน่งอยู่ ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นนั้น ยังคงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุด การดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาท้องถิ่นนั้นทั้งคณะ
(๒) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดที่มีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง และยังมีผู้บริหารท้องถิ่นดำรงตำแหน่งอยู่ ให้ผู้บริหารท้องถิ่นนั้นดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่า จะสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารท้องถิ่นผู้นั้น
(๓) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดได้มีประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น เป็นการทั่วไปอยู่แล้วก่อนพระราชกฤษฎีกา ใช้บังคับและยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ที่ได้รับเลือกตั้งคงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าการดำรงตำแหน่งจะสิ้นสุดลง
(๔) ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด มีการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง สำหรับสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่ยังคงอยู่ในวาระตาม (๑) หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งทั่วไปตาม (๓) โดยให้ดำรงตำแหน่ง ต่อไปได้เช่นเดียวกับผู้ที่ตนดำรงตำแหน่งแทน ในระหว่างที่ยังไม่นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีลักษณะตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติของกฎหมาย ว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นที่ถูกยกเลิกโดยพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง มาใช้บังคับกับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นนั้นต่อไป จนกว่าจะสิ้นเหตุตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) แล้วแต่กรณี และให้นำบทบัญญัตินี้มาใช้กับ การเลือกตั้งทั่วไปในครั้งถัดไป

                ในกรณีที่ยังคงใช้บทบัญญัติของกฎหมาย ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นที่ถูกยกเลิก โดยพระราชกฤษฎีกาให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งตามกฎหมายดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในการนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจสั่งเปลี่ยนแปลง หรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่นั้นแทนก็ได้

มาตรา 137 ในกรณีที่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ แก่การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทใดแล้ว ถ้าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดในประเภทนั้น ยังมีสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ดำรงตำแหน่งอยู่ แต่มีวาระการดำรงตำแหน่งเหลือ ไม่ถึงหกสิบวัน ให้เริ่มนับระยะเวลาตามมาตรา ๕๗ วรรคสอง ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับเป็นต้นไป

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พันตำรวจโท ทักษิณ  ชินวัตร

นายกรัฐมนตรี

 
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๐๗ ก วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๕

ครู กศน.ตำบล