ข้อมูลพื้นฐานของ กศน.ตำบลลาดทิพรส
ความเป็นมา
ตำบลลาดทิพรส แต่เดิมนั้นเป็นเพียงหมู่บ้านที่ขึ้นตรงกับตำบลจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ต่อมาเมื่อประชากรของตำบลจันเสนมีมากขึ้นจึงได้รับการยกระดับจากทางการแยกออกมาตั้งเป็นตำบลใหม่ ตั้งชื่อตำบลตามชื่อเดิมของหมู่บ้าน คือบ้านลาดทิพรส หมู่ที่ 5 ตำบลจันเสน (เดิม) เป็นชื่อตำบล “ลาดทิพรส” ซึ่งแบ่งการปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2530 ได้มีการแบ่งการปกครองจาก ๖ หมู่บ้าน เป็น ๙หมู่บ้าน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2547 ได้มีการแบ่งการปกครองจาก ๙หมู่บ้าน เป็น 11 หมู่บ้าน และเมื่อปี พ.ศ. 2550 ได้มีการแบ่งการปกครองจาก ๑๑หมู่บ้าน เป็น 13 หมู่บ้าน จนถึงปัจจุบัน
ที่ตั้ง
ลักษณะที่ตั้งและอาณาเขต
ตำบลลาดทิพรส ตั้งอยู่ในเขตอำเภอตาคลีจังหวัดนครสวรรค์ห่างจากที่ว่าการอำเภอตาคลีประมาณ 35 กิโลเมตรมีพื้นที่ทั้งหมด 65.045 ตารางกิโลเมตร ประมาณ 40,653 ไร่
ตำบลลาดทิพรส มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ต.ห้วยหอม อ.ตาคลี ต.ลำพยนต์ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ต.บ่อทอง อ.หนองม่วง ต.หนองกระเบียน อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี
- ทิศใต้ติดต่อกับ ต.ชอนม่วง ต.หนองกระเบียน อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี ต.จันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
- ทิศตะวันตกติดต่อกับ ต.จันเสน ต.ห้วยหอม อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
กศน.ตำบลลาดทิพรส ใช้อาคารร่วมกับอาคารเอนกประสงค์หมู่บ้าน หมู่ที่ ๑ บ้านลาดทิพรส ต.ลาดทิพรส อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
หมายเลขโทรศัพท์. ๐๖๓-๙๔๕๑๖๕๑
หมายเลขโทรสาร -
E-Mail. This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
บทบาทหน้าที่ภารกิจ กศน.ตำบล
กศน.ตำบลจะมีการปรับบทบาทภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและบริบทของพื้นที่ ตลอดจนรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนมากขึ้น ภายใต้การขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4 ศูนย์การเรียนรู้ ได้แก่
1) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ เป็นศูนย์กลางการส่งเสริม จัดกระบวนการการเรียนรู้ และหน่วยประสานงานแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายในชุมชน ดำเนินงานร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาจักร (กอ.รมน.)
2) ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.) เพื่อสร้างการเรียรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยเฉพาะสิทธิและหน้าที่ในระบอบประชาธิปไตยบูรณาการความร่วมมือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
3) ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ซึ่งบริหารจัดการฐานข้อมูลที่จำเป็นสำหรับ กศน. และชุมชน เพื่อให้มีความรู้และรับรู้ที่เท่าทันปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกยุคดิจิทัล
4) ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีคุณภาพที่สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา โดยยึดชุมชนเป็นฐานในการดำเนินงาน โดย กศน.ตำบลมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวก
บทบาทหน้าที่ของ กศน.ตำบล
กศน. ตําบล มีบทบาทสำคัญในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน โดยมีหัวหน้า กศน. ตำบล เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน กศน. ตำบล ดังนี้
1. บทบาทหน้าที่ของหัวหน้า กศน. ตำบล
1. การวางแผน
1.1 จัดทําฐานข้อมูลชุมชน
1.2 จัดทําแผนพัฒนา กศน. ตําบล
1.3 จัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี
2. การจัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
2.1 จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ ดังนี้
- การส่งเสริมการรู้หนังสือ
- การศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- การศึกษาต่อเนื่อง
2.2 จัดและส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย
- ส่งเสริมการอ่าน
- จัดและพัฒนาแหล่งเรียนรู้
- บริการข่าวสารข้อมูล และสื่อทุกประเภท
- จัดและส่งเสริมกิจกรรมห้องสมุดประชาชนตำบล ห้องสมุดชุมชน มุมหนังสือบ้าน
3. บริการการเรียนรู้ในชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย
3.1 ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) ร่วมกับ (สอศ.)
3.2 ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับ (สคบ.)
3.3 ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ร่วมกับ (กระทรวงไอซีที)
3.4 มุมวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต ร่วมกับ (สสวท.)
3.5 หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ร่วมกับโรงพยาบาล สถานีอนามัย
3.6 ธนาคารเคลื่อนที่
3.7 การป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย
3.8 อำเภอเคลื่อนที่ ร่วมกับอำเภอ
กิจกรรมหลักของ กศน.ตำบล
การจัดตั้ง กศน. ตำบล มีความมุ่งหมายที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนในชุมชน ดังนั้นจึงอาจแบ่งกิจกรรมหลักของ กศน. ตำบล ได้ดังนี้
1. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน (Information Center) เป็น แหล่งที่รวบรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของชุมชน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ชุมชน ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง การศึกษา สาธารณสุข ซึ่งเป็นข้อมูลเดียวกันกับขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นสถานที่ที่คนทั่วไปจะมาศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชนได้ในขณะเดียวกัน ก็จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้อื่นๆ ด้วยเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การทำมาหากิน ในขณะเดียวกันก็จะเป็นแหล่งกระจายข่าวสารข้อมูลของภาครัฐผ่านเสียงตามสาย หรืออาจเป็นสถานีวิทยุชุมชน เพื่อกระจายข้อมูลข่าวสารของชุมชนด้วย
2. ศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้ (Opportunity Center) เป็นสถานที่ที่จัดให้บริการเพื่อสร้างเสริมโอกาสเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของคนในชุมชน เช่น กิจกรรมศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fit it Center) ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่ประชาชนสามารถมาใช้บริการซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า วิทยุ เครื่องยนต์ขนาดเล็ก กิจกรรมส่งเสริมคุ้มครองผู้บริโภค กิจกรรมให้บริการของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ฯลฯ ดังนั้นกิจกรรมนี้จึงเป็นเสมือนที่นัดพบระหว่างประชาชนกับหน่วยให้บริการต่างๆ ของรัฐหรือองค์กรอื่นๆ เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ของประชาชน
3. ศูนย์การเรียนชุมชน (Learning Center) เป็นสถานที่จัดกิจกรรมเรียนรู้ต่างๆ ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น การศึกษาเทียบเท่าการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อยกระดับการศึกษาของประชากรวัยแรงงานซึ่งจัดโดย กศน. การศึกษานอกระบบที่จัดหลักสูตรการทำมาหากินในรูปของหลักสูตรระยะสั้นต่างๆ รวมทั้งเป็นที่จัดฝึกอบรมประชาชนในหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนต่างๆ และการถ่ายทอดความรู้ที่จำเป็นสำหรับประชาชน เช่นการเรียนรู้เกี่ยวกับการอยู่ในประชาคมอาเซียน การเรียนรู้เกี่ยวกับการเป็นพลเมือง (Civic Education) การเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น นอกจากนี้ยังจัดพื้นที่เป็นห้องสมุดชุมชนเพื่อส่งเสริมการอ่านของประชาชน และจัดให้มีเครื่องรับโทรทัศน์ และรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาต่างๆ ด้วย
4. ศูนย์ชุมชน (Community Center) เป็นสถานที่มีคนในชุมชนจะมาทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การจัดเวทีชาวบ้าน เวทีประชาคม หรือใช้เป็นสถานที่พบปะเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแม้แต่เป็นที่ "โสเล" หรือ "เขลง" กันในชุมชน กศน.ตำบล จึงทำหน้าที่คล้ายศาลาประชาคมไปพร้อมกันด้วย
กิจกรรมของ กศน.ตำบลเหล่านี้จึงมีครู กศน.ตำบล ซึ่งเป็นพนักงานราชการในสังกัดสำนักงาน กศน. เป็นผู้ดำเนินงานจัดให้มีกิจกรรมเหล่านี้ขึ้น โดยเป็นการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั้ง อบต., อบจ., เทศบาล ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งมีอาสาสมัครต่างๆ ในชุมชน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัคร กศน. อาสาสมัครส่งเสริมการอ่านตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้าราชการบำนาญ เยาวชนผู้นำท้องถิ่นต่างๆ เข้ามาร่วมกันทำงานเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในชุมชน