กศน.ตำบลห้วยหอม หมู่ 7 ต.ห้วยหอม อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ 60000 - 082-7693032 - วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น.
ครู กศน.ตำบลห้วยหอม

รูปพัช

นางสาวพัชรี  แพ่งประสิทธิ์

ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล

 เบอร์โทร 082-7693032

 

 

แพลตฟอร์ม กศน.นครสวรรค์

จำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์
024361
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ผู้เข้าชมทั้งหมด
20
23
120
23790
57
1139
24361

Your IP: 192.168.1.1
2024-05-03 18:18

กระชาย

ในชั่วยามนี้ กระแสการนำพืชผลมาช่วยบำรุงและต่อต้านโรคโควิด-19 โดยหลาย ๆ คน อาจจะเชื่อว่าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยต้านโรคดังกล่าวได้ ซึ่งรวมไปถึง ‘กระชาย’ ที่เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยหนึ่งในการช่วยต่อต้านโรคนี้

โดยความสำเร็จเบื้องต้น พบว่า “สารสกัดกระชายขาว” มีฤทธิ์ต้าน COVID-19 ในหลอดทดลอง นักวิจัย ม.มหิดล เร่งพัฒนาสารสกัดกระชายขาวเพื่อใช้เป็นยาสำหรับโรค COVID-19 คาดว่าใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี ในการวิจัยและพัฒนาให้สำเร็จ โดยโครงการวิจัยต้านเชื้อไวรัสโคโรนาจากสมุนไพรไทย เป็นความร่วมมือระหว่าง คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS (ข้อมูลจาก : https://www.rama.mahidol.ac.th/ramaclinic/article/09sep2020-1522)

**แต่ทั้งนี้การใช้ใบกระชายในการต้านโควิด-19 นั้น ยังคงเป็นการศึกษาในห้องทดลอง** 

แต่ในขณะเดียวกันพืชชนิดนี้มีสรรพคุณที่มากกว่าการต้านโรคโควิดอีกด้วย

สำหรับ ‘กระชาย’ นั้น เป็นพืชล้มลุกที่มักนิยมนำเหง้ามาใช้ประกอบอาหาร แต่พืชชนิดนี้มีสรรพคุณตั้งแต่รากไปถึงใบ 

-ใบกระชาย ใช้ในการบำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ ถอนพิษ และแก้โลหิตเป็นพิษ
-เหง้าและรากกระชาย แก้โรคบิด ขับปัสสาวะ และใช้เป็นยารักษาภายนอกทารักษาขี้กลาก
-เหง้าใต้ดินกระชาย จะช่วยในการแก้ปวดท้อง แก้มวนท้อง บำรุงกำลัง และ รักษาริดสีดวง

ประโยชน์จาก “กระชาย”

-แก้ท้องร่วง : ใช้เหง้ากระชายดำ 1-2 หัว แล้วนำไปปิ้งไฟ จากนั้นมาตำหรือฝนผสมกับน้ำปูนใสคั้นมารับประทาน 1-2 ช้องแกง
-แก้ท้องอืด จุกเสียด ปวดมวนท้อง : ใช้ราก และ เหง้า ครึ่งกำมือ นำมาต้มเอาน้ำหรือใช้ปรุงอาหาร
-แก้โรคบิด : ใช้เหงาสด 2 เหง้าบดละเอียดผสมน้ำปูนใส คั้นแต่น้ำดื่ม
-แก้ริดสีดวง : ใช้เหง้าสด 6-8 เหง้า ทำการผสมเนื้อมะขามเปียก และเกลือแกง จำนวน 3 ช้อนชา แล้วนำมาตำและต้มกับน้ำ 6 แก้ว ทำการเคี่ยวจนเหลือ 2 แก้ว นำมารับประทานครั้งละครึ่งแก้วติดต่อกัน 1 เดือน จนกว่าริดสีดวงทวารจะหาย
-บำรุงหัวใจ : ให้ใช้เหง้าและรากกระชายมาปอกเปลือก จากนั้นก็ล้างน้ำให้สะอาด และหั่นตากจนแห้ง แล้วก็มาบดเป็นผง นำผงแห้งมาชงน้ำร้อนครึ่งถ้วยชา ดื่มให้หมดในครั้งเดียว

อย่างไรก็ตาม ในการบริโภคกระชายนั้น ก็มีข้อควรระวังเช่นเดียวกัน ซึ่งถ้ารับประทานมากเกินไป อาจจะมีปัญหาในเรื่องของเหงือกร่น, ใจสั่นได้ อีกทั้งยังมีผลต่อการทำงานของตับ ซึ่งผู้ที่ป่วยโรคนี้ จะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ นอกจากนี้ก็ไม่ควรรับประทานอย่างต่อเนื่อง เพราะกระชายมีฤทธิ์ร้อน อาจจะทำให้เกิดโรคร้อนใน หรือ แผลในปากตามมาได้

POP INFO ข้อควรรู้เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนสลับชนิด 01

แม้ว่าจะมีรายงานข่าวเกี่ยวกับการศึกษาการฉีดวัคซีนสลับชนิด (Mix And Match Vaccine) ที่ ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล นำมาเปิดเผยผ่านทาง Facebook ส่วนตัว ที่ชี้ให้เห็นว่าผลการศึกษาเบื้องต้นลง Preprint ของ Com-CoV study ของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษแล้ว ซึ่งพบว่าการสลับวัคซีนเข็มแรก-เข็มสอง ระหว่าง AstraZeneca (ChAd) และ Pfizer Vaccine (BNT) สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยเฉพาะ Neutralizing Antibody (NAb) ได้ดี ถือเป็นข้อมูลสนับสนุนชุดแรกๆ ไล่เลี่ยกับ CombiVacS ของสเปน ซึ่งให้ผลสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน แต่ข้อเท็จจริงที่ ศ.นพ.มานพ ยืนยันและตอบคำถามยอดฮิตที่ถามว่า

“หมายความว่าเราสามารถจับคู่วัคซีนยี่ห้อไหนสลับกันได้หรือไม่”
คำตอบของ ศ.นพ.มานพ บอกว่า “อย่างน้อย ณ ตอนนี้คือ ไม่ได้ครับ” 

โดยจากข้อมูลผลการศึกษาเบื้องต้นลง Preprint ของ Com-CoV Study ที่เปิดเผยว่า ถ้าเทียบระดับ NAb หรือภูมิคุ้มกันโดยเฉพาะ Neutralizing Antibody จะพบว่า
Pfizer 2 เข็ม = ป้องกันได้สูงสุด
AstraZeneca แล้วตามด้วย Pfizer = ที่ 2 ตามมาติดๆ
Pfizer แล้วตามด้วย AstraZeneca = อันดับ 3 แบบห่างๆ
AstraZeneca 2 เข็ม = อันดับ 4 แบบทิ้งห่างมาก 

ศ.นพ.มานพบอกว่า คงต้องรอข้อมูลอีกชุดที่จะตามมา สำหรับอาสาสมัคร 4 กลุ่มเหมือนเดิม แต่ฉีด 2 เข็มห่างกัน 12 สัปดาห์อีกที อีกเรื่องคือข้อสังเกตที่พบว่าการสลับ AstraZeneca ฉีดก่อน Pfizer Vaccine ได้ผลดีกว่าฉีด Pfizer แล้วตามด้วย AstraZeneca Vaccine ก็เป็นสิ่งน่าสนใจที่ต้องหาคำตอบต่อว่าเพราะเหตุใด

“แต่เห็นเขาสลับแล้วดี เรามาสลับเองด้วยวัคซีนที่ไม่เหมือนเขา คงคาดหวังแบบเขาไม่ได้นะครับ”

ขณะที่ นพ.อมร ลีลารัศมี ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องการฉีดสลับวัคซีนต่างชนิดกันว่า ยังไม่มีข้อมูลวิทยาศาสตร์เพียงพอที่จะสรุปชัดเจนว่า การฉีดวัคซีนโควิดยี่ห้อต่างกัน มีผลข้างเคียงอย่างไร แม้จะมีความเห็นส่วนตัวว่า ‘เป็นเรื่องที่น่าจะทำได้’ แต่เพราะปัจจุบันในบางประเทศที่เริ่มอนุญาตให้ประชาชนได้เลือกวัคซีนต่างยี่ห้อกันฉีดเป็นเข็ม 2 ได้ อาทิ ในแคนาดา ที่ประชาชนเลือกได้ว่าเข็ม 2 ของตัวเองจะฉีดเป็น Pfizer, Moderna หรือ AstraZeneca ประเทศอิตาลีที่ให้ประชาชนที่ฉีด AstraZeneca ไปแล้วเลือกได้ว่าเข็ม 2 จะฉีดเป็น Pfizer หรือ Moderna เช่นเดียวกับประเทศเกาหลีใต้ที่ให้ประชาชนที่ฉีด AstraZeneca ไปแล้วในเข็มแรก เลือกรับเข็ม 2 เป็น Pfizer ได้ 

นพ.อมร ลีลารัศมี ยังย้ำอีกว่า “ต้องเข้าใจก่อนว่า วัคซีนที่ฉีดไม่ได้ทำให้เราปลอดภัยจากเชื้อโควิดร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่จะช่วยลดความรุนแรงของโรค สำหรับใครที่เผอิญไปรับเชื้อร้ายตัวนี้เข้าร่างกาย และช่วยป้องกันการกระจายของเชื้อโรคสู่คนอื่นด้วย ส่วนใครที่ฉีดวัคซีนโควิดยี่ห้อใดไปเรียบร้อยแล้ว 2 โดส เวลาผ่านไปสักพักอาจหลายเดือนหรือเป็นปีแล้วอยากฉีดวัคซีนยี่ห้อใหม่ เพราะเชื่อว่าพัฒนาประสิทธิภาพมากกว่าเดิมนั้นก็น่าจะทำได้เหมือนกัน เพราะยังไม่มีข้อบ่งชี้ถึงอันตรายหรือข้อห้ามออกมา แต่ว่าฉีดซ้ำแล้วช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้เพิ่มมากอีกเท่าไรนั้น คงต้องรอการพิสูจน์จากงานวิจัยหรือการวิเคราะห์ผลกลุ่มตัวอย่างที่ทำแบบนี้อย่างละเอียดอีกที