No module Published on Offcanvas position
ครู กศน.ตำบลอุดมธัญญา


2

77

 

แพลตฟอร์ม กศน.นครสวรรค์

จำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์
028238
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ผู้เข้าชมทั้งหมด
10
68
389
27602
1083
874
28238

Your IP: 192.168.1.1
2024-12-27 01:13

องค์กรนักศึกษา

ลำดับที่

ชื่อ – สกุล

บทบาท

 1

นายธนิสร จั่นผ่อง

ประธาน

 2

นางสาวบังเอิญ ทองดี

รองประธาน

 3

น.ส.วาสนา   ฤทธิ์เต็ม

กรรมการ

 4

นายสัญชัย ทิมยิก

กรรมการ

 5

นายเนติพงศ์  แตงร่ม

กรรมการ

 6

นางสาวชมพูนุช  โฉมชัย

เลขา

 7

น.ส.รสรินทร์   เสือคุ้ม

เหรัญญิก

 

คณะกรรมการ กศน.ตำบล

ลำดับที่

ชื่อ – สกุล

บทบาท

 1

นายเรวัต   เกิดแสง

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการปกครอง

 2

นายมานิตย์   มณีวรรณ์

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านผู้นำท้องถิ่น

 3

นายสุชิน   พุทธรักษา

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา

 4

พระครูนิรภัย   วิเทต

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศาสนาและวัฒนธรรม

 5

พระมหาประเสริฐ จารุโภ

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยี

 6

นางสาววรรณรี เพ็ชรอินทร์

อาสา กศน.

 7

นายพิศ   โพธิ์พุฒ

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านภูมิปัญญา

 8

นางเนตรชนก   สิงห์ประเสริฐ

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสาธารณสุข

 9

นายชนะ ทัศนียวัต

ผู้ทรงคุณวุฒิจากศิษย์เก่า กศน.

 10

นายยั้ง   สิงโตทอง

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

 11

นางสาวสาวิตรี   คนคล่อง และนางสุรัตน์   นภาวิชยานันท์

ครู กศน.ตำบลอุดมธัญญา

 

 

 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน กศน.ตำบล

 โควิด ต.อุดมธัญญา ๒๐๐๙๑๗317253

ประวัติความเป็นมา

          ก่อนปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ตำบลอุดมธัญญาเป็นหมู่บ้านขึ้นกับตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี ย้อนหลังไปประมาณ ๔๐ ปีกว่า ถนนสายตาคลี – ท่าตะโก เป็นทางรถไฟ เพื่อให้รถไฟเข้ามาขนฟืนเพื่อไปทำเชื้อเพลิง ให้กับรถไฟ

          สภาพของตำบลอุดมธัญญา เป็นป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุดของอำเภอตากฟ้า ต่อมาเมื่อรถไฟมีการใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงแทนการใช้ฟืน ดังนั้นทางรถไฟจึงถูกรื้อถอนเป็นถนนลูกรัง จนเป็นถนนลาดยางในปัจจุบันนี้

          ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ กระทรวงมหาดไทย ได้แยกอำเภอตากฟ้าออกจากอำเภอตาคลี และแยกหมู่บ้านตำบลอุดมธัญญา ออกมาจากตำบลหัวหวาย   และได้ตั้งชื่อว่า “อุดมธัญญา” ตามลักษณะของความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ ดังกล่าวมา

 

ที่ตั้งและอาณาเขต

          ทิศเหนือ                 ติดต่อกับ   ตำบลเขากะลา     อำเภอพยุหะคีรี

          ทิศใต้                      ติดต่อกับ   ตำบลพุนกยูง       อำเภอตากฟ้า

          ทิศตะวันออก           ติดต่อกับ   ตำบลหนองหลวง   อำเภอท่าตะโก

          ทิศตะวันตก             ติดต่อกับ   ตำบลหัวหวาย และหนองโพ   อำเภอตาคลี

 

ที่ตั้ง

          กศน.ตำบลอุดมธัญญา 

          อาคารเอนกประสงค์ หมู่ที่ 7 ตำบลอุดมธัญญา อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์

           ผู้รับผิดชอบ นางสุรัตน์ นภาวิชยานันท์  นางสาวศรีวิลัย  นุ่มมาก

           โทรศัพท์  095-3893179 , 0806735537

            E-Mail   This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

          

 

   

ติดต่อ กศน.ตำบล

ที่อยู่ : อาคารเอนกประสงค์ หมู่ที่ 7 ตำบลอุดมธัญญา อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์  รหัสไปรษณี  60190
เบอร์โทร : 0806735537
เฟสบุ๊ค : กศน.ตำบลอุดมธัญญา ตากฟ้า นครสวรรค์  : ลิงค์ https://shorturl.asia/5xq9S
อีเมลล์ :  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข้อมูลทั่วไป เทศบาลตำบลอุดมธัญญา

เทศบาลอุดม

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

             1. ด้านกายภาพ

                   1.1 ที่ตั้งของตำบลอุดมธัญญา

                          ประวัติความเป็นมาเริ่มต้นจากก่อนปี พ.ศ.2513  ตำบลอุดมธัญญา เป็นหมู่บ้านในเขตการปกครองของตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี  ระยะเวลาย้อนหลังไป 20 ปี ถนนสายตาคลี – ท่าตะโก         เป็นเส้นทางรถไฟ  และเป็นเส้นทางในการบรรทุกฟืน เป็นเชื้อเพลิงให้กับรถไฟ  สภาพทั่วไปของตำบลอุดมธัญญา   สมัยนั้นเป็นพื้นที่ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์มากของอำเภอตากฟ้า  ต่อมาเมื่อรถไฟมีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นตัวขับเคลื่อน  ทางรถไฟจึงถูกรื้อถอนเป็นถนนลูกรัง และถนนลาดยางในปัจจุบันนี้

                          ต่อมาในปี พ.ศ.2513  กระทรวงมหาดไทยได้แยกอำเภอตากฟ้าออกจากการปกครองของอำเภอตาคลี พร้อมกับแยกหมู่บ้านออกจากตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี และตั้งเป็นตำบลชื่ออุดมธัญญา  อำเภอตากฟ้า เนื้อที่ทั้งหมด  208.9  ตารางกิโลเมตร  หรือ  136,386  ไร่ องค์การบริหารส่วนตำบลอุดมธัญญา เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลางประกาศจัดตั้งขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อปี พ.ศ. 2538  เขตการปกครอง 16 หมู่บ้าน ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 32 คน และได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลอุดมธัญญา  เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2554   เขตการปกครอง 16 หมู่บ้าน ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลตำบลอุดมธัญญา จำนวน 12 คน

                          ที่ตั้งและอาณาเขต

                          ทิศเหนือ           ติดต่อกับ  ตำบลเขากะลา  อำเภอพยุหะคีรี

                          ทิศใต้               ติดต่อกับ  ตำบลพุนกยูง  อำเภอตากฟ้า

                          ทิศตะวันออก      ติดต่อกับ  ตำบลหนองหลวง  อำเภอท่าตะโก

                          ทิศตะวันตก        ติดต่อกับ  ตำบลหัวหวาย  อำเภอตาคลี

แผนที่ตำบลอุดมธัญญา

                   1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

                          ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสลับเนินเขา บริเวณรอบนอกของอาณาเขตตำบล       ส่วนบริเวณตอนกลางเป็นที่ลุ่ม  พื้นที่มีความลาดเอียงจากทิศตะวันตก ไปทางทิศตะวันออก  มีลำห้วยกระจาย อยู่ทั่วไป แต่จะใช้ประโยชน์ได้เฉพาะช่วงฤดูฝน

                   1.3 ลักษณะภูมิอากาศ

                          ลักษณะภูมิอากาศ  ในช่วงฤดูร้อนอากาศร้อนจัด  อุณหภูมิเฉลี่ย  ประมาณ  39  องศาเซลเซียส  ฤดูฝนจะมีฝนตกชุกในช่วงเดือนสิงหาคม ถึง  กันยายน  ฤดูหนาวจะมีลมพัดแรง  และบางช่วงอากาศเย็นจัด อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ  15  องศาเซลเซียส ฤดูกาลประกอบด้วย  3  ฤดู  คือ ฤดูฝน  ช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม และฝนจะตกชุกช่วงเดือนสิงหาคม ถึงกันยายน, ฤดูหนาว ช่วงเดือนตุลาคมถึงมกราคม  อากาศจะหนาวเย็นจัดช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม และฤดูร้อน ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน  อากาศจะร้อนจัดช่วงเดือนเมษายน

                   1.4 ลักษณะของดิน

                          ลักษณะของดินพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย บางส่วนเป็นดินเหนียว

             2. ด้านการเมือง/การปกครอง

                   2.1 เขตการปกครอง

                          แบ่งเขตการปกครองออกเป็น   16   หมู่บ้าน  ประกอบด้วย

                   หมู่ที่  9     บ้านไร่ศรัทธาราษฎร์    กำนันตำบลอุดมธัญญา   นายมานิตย์    มณีวรรณ

                   หมู่ที่  1     บ้านคุ้งพัฒนา           ผู้ใหญ่บ้าน                 นายดำ         ฉิมชัย

                   หมู่ที่  2     บ้านล้ำเจริญ                  ”                     นายณรงค์      เปี่ยมสุข

                   หมู่ที่  3     บ้านดำรงรักษ์                 ”                     นายวิชาญ      เชื้อรอด

                   หมู่ที่  4    บ้านปลายราง                 ”                     นางสาวลำพึง  โตส้ม

                   หมู่ที่  5     บ้านอุดมธัญญา               ”                     นายชนะ       ทัศนียรัตน์

                   หมู่ที่  6     บ้านพุมะค่า                   ”                     นายสุชาติ      ทองดี

                   หมู่ที่  7     บ้านโค้งบ้านใหม่              “                     นายดอกรัก    พลอยงาม

                   หมู่ที่  8     บ้านหัวประแจ                ”                     นางสายหยุด   สังข์แย้ม

                   หมู่ที่  10    บ้านแคทราย                  ”                     นายมนัส       ลุขหิตร

                   หมู่ที่  11    บ้านหนองสุขสันต์             ”                     นางสาวยุพดี   ทับแคลน

                   หมู่ที่  12    บ้านสระเกตุโมรี               ”                     นายบุญทัน     หันพราม

                   หมู่ที่  13    บ้านพุม่วง                     ”                     นายจิระ        วิเศษสม

                   หมู่ที่ 14    บ้านหลักสิบเก้า               ”                     นายสุดใจ      สิงห์ประเสริฐ

                   หมู่ที่ 15    บ้านหนองกระเปียน          ”                     นายบุญลือ     แก้วมา

                   หมู่ที่ 16    บ้านหนองรั้ว                  ”                     นายไพศาล     ภักดีสุข

                   2.2 การเลือกตั้ง

                          แบ่งเขตการเลือกตั้ง ออกเป็น 2 เขต

                          เขตที่ 1 ประกอบด้วยหมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 13 และหมู่ที่ 16 

                          เขตที่ 2 ประกอบด้วยหมู่ที่ 7, 8, 9, 10, 11, 12, 14 และหมู่ที่ 15

             3. ประชากร

                   3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

                          จำนวนครัวเรือนและประชากร สถิติข้อมูลด้านประชากร ข้อมูลจากสำนักบริหาร การทะเบียน กรมการปกครอง ตรวจสอบประชากรจากทะเบียนบ้าน  ณ  เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2561

รายการ

ปี 2557

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

ปี 2561

ประชากรชาย (คน)

5,170

5,163

5,132

5,124

5,117

ประชากรหญิง (คน)

5,186

5,208

5,168

5,127

5,153

รวมประชากร (คน)

10,356

10,371

10,300

10,251

10,270

ครัวเรือน

3,527

3,559

3,587

3,614

3,638

                   3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร 

ช่วงอายุ

ชาย

หญิง

รวม

น้อยกว่า 1 ปี

45

45

90

อายุ 1 – 18 ปี

1,123

992

2,115

อายุ 19 – 25 ปี

499

440

939

อายุ 26 – 60 ปี

2,622

2,688

5,310

อายุมากกว่า 60 ปี

824

983

1,807

รวม

5,113

5,148

10,261

  

         4. สภาพทางสังคม

                   4.1 การศึกษา

      โรงเรียนมัธยมศึกษา  1 แห่ง  ( โรงเรียนอุดมธัญญาประชานุเคราะห์ ) 

                         โรงเรียนประถมศึกษา  9  แห่ง  ดังนี้

ลำดับที่

โรงเรียน

ผู้อำนวยการโรงเรียน

จำนวนเด็กนักเรียน

หมายเหตุ

1

โรงเรียนบ้านล้ำเจริญ

นางสาวธิภาพันธ์  กลิ่นด้วง

37

 

2

โรงเรียนบ้านดำรงรักษ์ ( ขยายโอกาส )

นายไพฑูรย์      เบื้องบน

170

 

3

โรงเรียนบ้านอุดมธัญญา

สิบโทวันชัย      ทัดชวด

52

 

4

โรงเรียนบ้านพุมะค่า

นางกำไร         แก้วสิทธิ์

32

 

5

โรงเรียนบ้านไร่ศรัทธาราษฎร์

นางภควรรณ     คำมาพล

5

 

6

โรงเรียนบ้านแคทราย

น.ส.จันทร์แรม  แยบสูงเนิน

155

 

7

โรงเรียนบ้านหนองสุขสันต์

นายสุชิน         พุทธรักษา

52

 

8

โรงเรียนบ้านสระเกตุโมรี

นายอนันต์       กะโห้ทอง

9

 

9

โรงเรียนบ้านหลักสิบเก้า

นายวิมล          ปรักมาตย์

53

 

รวม

555

 

          หมายเหตุ    จำนวนนักเรียนสำรวจ  ณ  วันที่  31 พฤษภาคม 2562

 

 โรงเรียนอนุบาลและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวม 4  แห่ง  ดังนี้

ลำดับที่

ชื่อศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ผู้ช่วยครูดูแลเด็กอนุบาลและปฐมวัย

จำนวนนักเรียน

หมายเหตุ

1

โรงเรียนอนุบาล

บ้านดำรงรักษ์  

นางวิภา             ตะคร้อ

น.ส.นันทกานนท์  อินทร์หอมนางสาววันเพ็ญ     วรบุตร

นางสาวขวัญใจ     บุตรสี

นางสาวคมคาย     สาภูธร

93

 

2.

ศพด. บ้านดำรงรักษ์  

นางนงเยาว์         ฉุนอิ่ม

นางสมใจ           เอี่ยมปาน

นางน้ำฝน           ถานะ

36

รับถ่ายโอนจากกรมการ

พัฒนาชุมชน

3.

ศพด.เทศบาลตำบลอุดมธัญญา

นางสาวณิชกุล  อั๋นงาม

นางสมาน  สังข์สิทธิ์

นางสุพรรณี  โนนพรักษ์

45

 

4.

ศพด.บ้านแคทราย

นางสาวดวงพร  ภู่สงค์

นางสาวมุกดาวรรณ  มวลอินทร์

25

 

รวม

4  แห่ง

13  คน

199 คน

 

           หมายเหตุ    จำนวนนักเรียนสำรวจ  ณ  วันที่  31 พฤษภาคม 2562

 

                          สภาพการศึกษา ซึ่งเด็กนักเรียน และประชาชนบางส่วน ขาดโอกาสในการศึกษา และเรียนรู้และมีฐานะยากจน ขาดเงินทุนในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น อีกทั้งเด็กและเยาวชนไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา  

                   4.2 สาธารณสุข

                        ด้านสาธารณสุข ตำบลอุดมธัญญามีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล  3  แห่ง ดังนี้

                          4.1.1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดำรงรักษ์ รับผิดชอบหมู่ที่ 1, 3, 4 และ  หมู่ที่ 13

                          4.1.2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพุมะค่า รับผิดชอบหมู่ที่ 2, 5, 6, 11, 14 และหมู่ที่ 16

                          4.1.3 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแคทราย รับผิดชอบหมู่ที่ 7, 8, 9, 10, 12 และหมู่ที่ 15

                          ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน 16 แห่ง  (หมู่บ้านละ 1 แห่ง)

                          สภาพด้านสาธารณสุขดังนี้

                          1. ปัญหาแหล่งข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณสุขและอนามัย  การนำไปสู่การปฏิบัติ  เช่นสุขลักษณะภายในบ้าน

                          2. ปัญหาการให้บริการสุขภาพของผู้สูงอายุ เด็ก สตรี และผู้พิการ ไม่ทั่วถึง

                          3. ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ  เช่น ไข้เลือดออก 

                          4. จำนวนผู้ป่วยเอดส์มีมากขึ้น  เป็นภาระแก่ครอบครัวและสังคม

                          5. เทศบาลตำบลอุดมธัญญามีจำนวนบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญไม่เพียงพอต่อการให้บริการด้านงานสาธารณสุขแก่ประชาชน

                          6. ปัญหาสุขภาพจิต  ภาวะความเครียด

                   4.3 อาชญากรรม

                          สภาพปัญหาอาชญากรรมในเขตตำบลอุดมธัญญา ส่วนใหญ่เป็นคดีการลักเล็กขโมยน้อย

                   4.4 ยาเสพติด

                          ปัญหายาเสพติดในตำบลอุมธัญญา จากการที่ทางสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากฟ้า ได้แจ้งให้กับเทศบาลตำบลอุดมธัญญาทราบนั้น พบว่าในเขตตำบลอุดมธัญญามีผู้ที่ติดยาเสพติดแต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าน้อย พบผู้ค้ารายย่อยแต่ยังไม่พบผู้ผลิต เหตุผลก็เนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ ประชาชน หน่วยงานของตำบลอุดมธัญญาที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาของตำบลอุดมธัญญาสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เทศบาลตำบล - อุดมธัญญา ก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด

                   4.5 การสังคมสงเคราะห์

                              เทศบาลตำบลอุดมธัญญาได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้

                          1. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์

                          2. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

                          3. ประสานการทำบัตรผู้พิการ

                          4. ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง   

 

         5. ระบบบริการพื้นฐาน

                   5.1   การคมนาคมขนส่ง

                          มีถนนหลัก  2  สาย

                          1. เส้นทางสายตากฟ้า  -  ท่าตะโก  ( ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  1145 )  ผ่านพื้นที่  หมู่ที่  1, 2 และ  หมู่ที่ 4   ระยะทางทั้งสิ้น  21  กิโลเมตร

                          2. เส้นทางสายตาคลี – ท่าตะโก  ( ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  ๓๓๒๙ )  ผ่านพื้นที่  หมู่ที่  9, 7, 8, 10, 11, 14, 6  และ  หมู่ที่ 4   ระยะทางทั้งสิ้น  24  กิโลเมตร

                   5.2   การไฟฟ้า

                          ทุกหลังคาเรือนในเขตเทศบาลตำบลอุดมธัญญามีไฟฟ้าใช้ ส่วนไฟฟ้าส่องสว่างทางหรือ    ที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด เนื่องจากพื้นที่ตำบลอุดมธัญญามีขนาด 208.9 ตารางกิโลเมตร ซึ่งถือว่ามีขนาดกว้างใหญ่มาก ทำให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ขยายเขตติดตั้งเสาไฟฟ้าพร้อมเดินสายไฟไม่ครอบคลุมทั้งตำบล อย่างไรก็ตามเทศบาลตำบลอุดมธัญญา ได้ตั้งงบประมาณเงินอุดหนุนค่าขยายเขตไฟฟ้าครัวเรือน และแสงสว่าง พร้อมทั้งประสานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่มีพื้นความรับผิดชอบในเขตตำบลอุดมธัญญาให้มาดำเนินการในส่วนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้เป็นประจำทุกปี

                   5.3   การประปา

                          ระบบประปาหมู่บ้านในเขตตำบลอุดมธัญญา  จำนวน  41  แห่ง ส่วนใหญ่กลุ่มสมาชิกผู้ใช้น้ำในแต่ละหมู่บ้านบริหารและดูแลบำรุงรักษากิจการประปาของตนเอง แต่มี 1 แห่งคือประปาหมู่บ้าน     หมู่ที่ 4 บ้านปลายราง เทศบาลตำบลอุดมธัญญา เป็นผู้บริหารและดูแลบำรุงรักษากิจการประปาแทนหมู่บ้าน

 โดยทำเรื่องขออนุมัติยกเว้นระเบียบฯจากผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ จนกว่าจะสามารถแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกิจการประปาหมู่บ้านได้

                   5.4   โทรศัพท์

                          บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์ และอินเตอร์เน็ตขั้นพื้นฐาน

                   5.5   ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์

                          ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์ อยู่ในพื้นที่ให้บริการของ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ 

              6. ระบบเศรษฐกิจ

                   6.1   การเกษตร

                          มีการเพาะปลูกการเกษตรกรรม  อาทิเช่น ทำไร่อ้อย,  ข้าวโพด,  ถั่วเขียว,  งา,  ถั่วลิสง, มันสำปะหลัง, เห็ดชนิดต่างๆ, มะขามเทศ, มะม่วง และพุทธา เป็นต้น

                   6.2   การประมง

                          มีการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง, กบ, และปลาดุก เป็นต้น 

                   6.3   การปศุสัตว์

                          มีการเลี้ยงวัว, โคขุน, หมู, นกกระทา, แพะ และนกหงส์หยก, จิ้งหรีด, ไก่, เป็ด เป็นต้น 

                   6.4   การบริการ

                          ร้านเสริมสวย, ร้านนวดสปา, ร้านตัดผม, ร้านล้างอัดฉีดรถยนต์, ร้านบริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิง, ร้านนวดแผนไทย, ร้านอู่ซ่อมรถยนต์ ฯลฯ 

                   6.5   การท่องเที่ยว

                          เทศบาลตำบลอุดมธัญญา ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว

                   6.6   อุตสาหกรรม

                          โรงงานทำปลั๊กไฟฟ้า, โรงงานผลิตไฟฟ้าชีวมวล และโรงงานเมล็ดพันธุ์เอเชีย

                   6.7   การพาณิชย์ และกลุ่มอาชีพ

                          ร้านจำหน่ายอุปกรณ์ก่อสร้าง, ร้านเบ็ดเตล็ด, ร้านขายอาหารตามสั่ง, ร้านจำหน่ายปุ๋ยและอุปกรณ์การเกษตร, กลุ่มอาชีพโรงสีข้าวชุมชน, กลุ่มอาชีพทำไม้กวาด, กลุ่มอาชีพตีมีด, กลุ่มอาชีพถักตะกร้าเชือกฟาง, กลุ่มอาชีพทำขนมเปี๊ยะ ฯลฯ

                   6.8   แรงงาน

                          แรงงานด้านการเกษตร, ก่อสร้าง, อุตสาหกรรม และการบริการ

              7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

                   7.1   การนับถือศาสนา

                          ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ บางส่วนจำนวนน้อยนับถือศาสนาคริสต์

                   7.2   ประเพณีและงานประจำปี

                          ประเพณีลอยกระทง, สลากภัต, แห่เทียนจำนำพรรษา

                   7.3   ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

                          ส่วนใหญ่ภาษาไทยภาคกลาง รองลงมาใช้ภาษาคนภาคอีสาน 

                   7.4   สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

                          ขนมเปี๊ยะของกลุ่มอาชีพต่างๆ  

              8.  ทรัพยากรธรรมชาติ

                   8.1   น้ำ

                       ข้อมูลแหล่งน้ำธรรมชาติ

ลำดับที่

ชื่อแหล่งน้ำ

หมู่ที่

ความกว้าง

ความยาว

1

ห้วยบ้านล้ำเจริญ  

2

14

3,500

2

ห้วยด้วน 

2

14

2,000

3

คลองลำโป่งหมอน 

3

10

2,000

4

ห้วยน้อย

3

3

5,000

5

บึงทรัพย์ไผ่ 

3

60

100

6

ห้วยบ้านกระทุ่มงาม 

3

3

600

7

คลองห้วยลิง

4

7

720

8

คลองน้ำสระหลวงพ่อเดิม 

5

7

620

9

คลองยายคอย 

5

20

600

10

คลองทรัพย์อุดม  

5

20

300

11

ห้วยหัวลิง

6

20

4,500

12

ห้วยบ่อบ้านเก่า  

9

12

750

13

ห้วยพุดีปรี 

12

16

7,000

14

ห้วยลำโป่งหมอน 

13

100

100

15

ลำห้วยลำโป่งหมอน

13

12

1,500

16

ห้วยลำโป่งหมอน 

13

40

500

17

ห้วยกลางบ้าน 

14

20

3,000

18

ห้วยหนองจิก

14

25

1,200

19

หนองบ้านหนองรั้ว 

16

120

265

                   8.2   ป่าไม้

                          ลักษณะของไม้และป่าไม้เป็นแบบป่าเต็งรัง สลับกับทุ่งหญ้ากว้าง ต้นไม้ยืนต้นที่ประชาชนส่วนใหญ่จะปลูกอาทิเช่น ต้นสัก, มะม่วง, มะขามป้อม, มะขามเทศ, พุทรา และต้นใบไผ่ เป็นต้น

                   8.3   ภูเขา

                          เขาวัดหนองรั้ว, เขาโคกรัก และเขาถ้ำพระ

                   8.4   ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                          คุณภาพดินเสื่อมโทรม, แหล่งกักเก็บน้ำมีไม่เพียงพอต่อการเกษตร และอุปโภค-บริโภคในฤดูแล้ง