วัดเทพนิมิตสว่างธรรม หมู่ 2 ต.หนองปลิง อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ 60000 จันทร์ - ศุกร์ 8.30 น. - 16.30 น.
ครู กศน.ตำบลหนองปลิง

156210160 4092518060767491 3628454079243139226 n

นางสาวกรรณิการ์  ต่วนชะเอม

ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล

 เบอร์โทร 0934493229 

 Aor Huawei 1st 5058

นายอาชวะ  ประทุมมา

ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล

 เบอร์โทร 0925419565 

 

แพลตฟอร์ม กศน.นครสวรรค์

Clip 2

เว็บไซต์ กศน.ตำบล ในอำเภอ
จำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์
036084
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ผู้เข้าชมทั้งหมด
19
23
386
35423
661
1540
36084

Your IP: 192.168.1.1
2024-09-15 04:22

ข้อมูลทั่วไป กศน.ตำบลหนองปลิง

 IMG 20210228 091738

   

ข้อมูลพื้นฐานของ  กศน.ตำบลหนองปลิง

ความเป็นมา

กศน.ตำบลหนองปลิง ตั้งอยู่ที่อาคารวัดเทพนิมิตรสว่างธรม หมู่ที่ 2 ตำบลหนองปลิง สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองนครสวรรค์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นสถานศึกษาที่จัดตั้งตามประกาศ เมื่อวันที่  27 ตุลาคม 2541 โดยเดิมเป็นศูนย์การเรียนชุมชนตำบลหนองปลิง และใช้อาคารเก็บพัสดุขององค์การบริการส่วนตำบลหนองปลิงเป็นที่ทำการและพบกลุ่มนักศึกษาในพื้นที่ตำบลหนองปลิง และต่อมาได้เปลี่ยนเป็นศูนย์การเรียนชุมชนเฉลิมพระเกียรติตำบลหนองปลิง และได้ย้ายมาปฏิบัติงานที่อาคารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปลิง (หลังเก่า) ตำบลหนองปลิง และในปี 2564 ได้ทำการย้ายมาปฏิบัติงานที่อาคารวัดเทพนิมิตรสว่างธรรม เป็นสถานที่พบกลุ่มและได้มีการจัดตั้ง กศน.ตำบล ตามหนังสืองาน กศน.ที่ศธ.0210.02/3267 ลงวันที่ 4 กันยายน 2552  เรื่องการดำเนินงาน กศน.ตำบล สำนักงาน กศน.โดยเลขาธิการ กศน นายอภิชาต จีระวุฒิ   ได้สั่งการให้ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด  ทุกแห่งและผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.กทม ดำเนินการปรับศูนย์การเรียนชุมชนในทุกตำบลให้เป็น กศน.ตำบล และรับผิดชอบงานการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตำบลหนองปลิงมีจำนวน 8 หมู่บ้าน 9,208 ครัวเรือน  ปัจจุบันได้สถานที่ตั้งทำการเรียนการสอนและกิจกรรมต่าง ๆ อยู่ที่วัดเทพนิมิตรสว่างธรรมในปัจจุบัน

กศน.ตำบลหนองปลิง  ได้จัดการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551ตั้งแต่การสอนให้อ่านออกเขียนได้ หรือส่งเสริมการรู้หนังสือ ในระดับ ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษาวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาตามกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การศึกษาตามอัธยาศัย การจัดตั้ง กศน.ตำบลมีความมุ่งหมายที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนในชุมชน ดังนั้นจึงได้แบ่งกิจกรรมหลักออกเป็นดังนี้

1. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพ

2. จัดและส่งเสริมการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำเพื่อพัฒนาสมรรถนะของประชาชนและชุมชนให้สามารถสร้างสรรค์และแข่งขันด้านอาชีพได้อย่างยั่งยืน

3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาเพื่อการมีงานทำ

4. พัฒนาและส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ

5. พัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการให้สามารถดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาเพื่อการมีงานทำของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Super User