อบต หมู่ 5 ต.เกรียงไกร อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000 063-2366529 vatanya1968@hotmail.com 08.30-16.30
ครู กศน.ตำบลเกรียงไกร

155187043 433104317916562 2041784095924863635 n1

นางวทันยา  อุบลพงษ์

ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล

 เบอร์โทร 0632366529 

 123445268 2354269108052752 8488021552770003974 n

นางสาวสร้อยสุดา  แสงด่อน

ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล

 เบอร์โทร 0836219895

 

แพลตฟอร์ม กศน.นครสวรรค์

เว็บไซต์ กศน.ตำบล ในอำเภอ
จำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์
042298
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ผู้เข้าชมทั้งหมด
59
15
509
41615
683
1665
42298

Your IP: 192.168.1.1
2025-01-12 22:48

    image008image004

กศน.ตำบลเกรียงไกร ตั้งอยู่ในบริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลเกรียงไกร  หมู่ที่ 5  ตำบลเกรียงไกร สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองนครสวรรค์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นสถานศึกษาที่จัดตั้งตามประกาศ เมื่อวันที่ 27ตุลาคม 2541 โดยเดิมเป็นศูนย์การเรียนชุมชนตำบลเกรียงไกร โดยใช้ห้องประชุมขององค์การบริหารส่วนตำบลเกรียงไกรเป็นที่ทำการและพบกลุ่มนักศึกษาในพื้นที่ตำบลเกรียงไกร และต่อมาได้เปลี่ยนเป็นศูนย์การเรียนชุมชนเฉลิมพระเกียรติตำบลเกรียงไกร เป็นสถานที่พบกลุ่ม

ติดต่อ กศน.ตำบล

 

ที่ตั้ง

ตั้งอยู่บริเวณ อบต.เกรียงไกร  หมู่ที่ 5  ตำบลเกรียงไกร  อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 

ลักษณะพื้นที่     อาคารถาวร

ที่ตั้งตำบลเกรียงไกร  

  ตำบลเกรียงไกร อยู่ห่างจากตัวจังหวัด อำเภอเมืองนครสวรรค์ ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร  (ทางรถยนต์)

 

รูปกศน    แผนที่

 

  

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของตำบล

ประวัติความเป็นมา

ตำบลเกรียงไกร เคยเป็นหมู่บ้านที่มีความรุ่งเรืองอยู่ติดริมแม่น้ำในอดีต ตำบลเกรียงไกรมีชื่อเดิมว่า “เชียงไกร” ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จทางชลมาศ และพักประทับแรมที่วัดเชียงไกร ในปีนั้นเกิดน้ำท่วมใหญ่จึงทำให้เจดีย์ที่วัดพังลง จึงได้พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดใหญ่คงคาราม” ต่อมาถึงสมัยของขุนเกียรติ เกรียงไกร กำหลาบพาล ได้เป็นกำนัน จึงเปลี่ยนชื่อตำบล “เชียงไกร” เป็นตำบลเกรียงไกรและเปลี่ยนชื่อวัดใหญ่คงคาราม เป็นวัดเกรียงไกร

3. ข้อมูลทั่วไปของตำบลเกรียงไกร

3.1 ลักษณะภูมิประเทศ

ตำบลเกรียงไกรอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของตัวอำเภอ ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำน่านหรือมีหนองบึงอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณหมู่ที่ 1,2,6,8 และ 9 จะพบน้ำท่วมขังในฤดูน้ำหลากจะมีน้ำท่วมขังนานประมาณ 2-3 เดือน หรือจนกว่าน้ำจะลด นอกจากหนองบึงต่าง ๆ และยังมีบึงบอระเพ็ดที่เป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญของตำบล

3.2 ที่ตั้งและอาณาเขต ที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเกรียงไกร ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านเกรียงไกรกลาง ตำบลเกรียงไกร อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์   ห่างจากอำเภอเมืองระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 38.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 24,062.5 ไร่   มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ต่างๆดังต่อไปนี้

ทิศเหนือ         ติดต่อกับ          ตำบลบางพระหลวง และตำบลบ้านมะเกลือ อำเภอเมืองฯ  

จังหวัดนครสวรรค์

                   ทิศใต้            ติดต่อกับ         บึงบอระเพ็ด   อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ        ตำบลทับกฤช   อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

ทิศตะวันตก     ติดต่อกับ        ตำบลบึงเสนาทและตำบลแควใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัด  

                                                               นครสวรรค์                    

ตั้งอยู่บริเวณ อบต.เกรียงไกร หมู่ที่ 5 ตำบลเกรียงไกร อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ลักษณะพื้นที่     อาคารถาวร

ที่ตั้งตำบลเกรียงไกร

ตำบลเกรียงไกร อยู่ห่างจากตัวจังหวัด อำเภอเมืองนครสวรรค์ ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร (ทางรถยนต์)

          หมายเลขโทรศัพท์                  063-2366529

          หมายเลขโทรสาร                   -

          E-Mail                               This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข้อมูลทั่วไปของตำบลเกรียงไกร

3.1 ลักษณะภูมิประเทศ

ตำบลเกรียงไกรอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของตัวอำเภอ ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำน่านหรือมีหนองบึงอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณหมู่ที่ 1,2,6,8 และ 9 จะพบน้ำท่วมขังในฤดูน้ำหลากจะมีน้ำท่วมขังนานประมาณ 2-3 เดือน หรือจนกว่าน้ำจะลด นอกจากหนองบึงต่าง ๆ และยังมีบึงบอระเพ็ดที่เป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญของตำบล

3.2 ที่ตั้งและอาณาเขต ที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเกรียงไกร ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านเกรียงไกรกลาง ตำบลเกรียงไกร อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์   ห่างจากอำเภอเมืองระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 38.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 24,062.5 ไร่   มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ต่างๆดังต่อไปนี้

                   ทิศเหนือ          ติดต่อกับ          ตำบลบางพระหลวง และตำบลบ้านมะเกลือ อำเภอเมืองฯ  

                                                                 จังหวัดนครสวรรค์

                   ทิศใต้              ติดต่อกับ         บึงบอระเพ็ด   อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

                   ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ        ตำบลทับกฤช   อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

                   ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ        ตำบลบึงเสนาทและตำบลแควใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัด  

                                                               นครสวรรค์                    

3.3 ลักษณะการปกครอง

หน่วยการปกครองเป็นการปกครองแบบท้องถิ่นได้มีการยกฐานะจาก "สภาตำบลตำบลเกรียงไกร"   เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเกรียงไกร ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 เป็นต้นมา เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง มี 12 หมู่บ้าน ประกอบด้วย

              หมู่ที่ 1   บ้านแหลมหว้า             

              หมู่ที่ 2   บ้านตาลสองยอด       

              หมู่ที่ 3   บ้านท่าดินแดง             

              หมู่ที่ 4   บ้านเกรียงไกร              

              หมู่ที่ 5   บ้านเกรียงไกรกลาง        

              หมู่ที่ 6   บ้านปากคลองเกรียงไกร   

              หมู่ที่ 7   บ้านคลองบอระเพ็ด        

              หมู่ที่ 8 บ้านเกรียงไกรใต้            

               หมู่ที่ 9   บ้านสันพิง                    

               หมู่ที่ 10 คลองกรวด                

               หมู่ที่ 11 บ้านเนินขาม                

                หมู่ที่ 12 บ้านเจ้าสนุก                    

ประชาชนตำบลเกรียงไกรส่วนใหญ่อาศัยการคมนาคมทางบกเป็นหลัก   โดยใช้เส้นทางถนนลาดยางสายชุมแสง – นครสวรรค์ ในการสัญจรระหว่างตำบลกับอำเภอ และยังใช้การคมนาคมทางบกในการสัญจรระหว่างหมู่บ้าน