บ้านกลางแดด หมู่ 4 ตำบลกลางแดด อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 60000 091-028-6640 อ.เพ็ญวดี แจ่มใส และ 085-271-8595 อ.อังคณา พวงน้อย mj201818@gmail.com
ครู กศน.ตำบลกลางแดด

156210412 918916688877442 3157166262424977987 n

นางสาวเพ็ญวดี  แจ่มใส

ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลกลางแดด

 เบอร์โทร  091-028-6640 

ครู ตำบลพี่แจ๋ว 

นางสาวอังคณา  พวงน้อย

ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลกลางแดด

 เบอร์โทร 085-271-8595

แพลตฟอร์ม กศน.นครสวรรค์

เว็บไซต์ กศน.ตำบล ในอำเภอ
จำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์
036861
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ผู้เข้าชมทั้งหมด
59
213
367
36198
1102
1059
36861

Your IP: 192.168.1.1
2024-12-25 18:51

ข้อมูลพื้นฐานของ กศน.ตำบลกลางแดด

ความเป็นมา

          กศน.ตำบลกลางแดด ตั้งอยู่ หมู่ 4 บ้านกลางแดด ตำบลกลางแดด อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นอาคารหลังเก่าของศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนตำบลกลางแดด ได้รับความอนุเคราะห์ให้ใช้เป็นสถานที่พบกลุ่ม เนื่องด้วยจังหวัดนครสวรรค์ได้พิจารณาเห็นแล้วว่าศูนย์การเรียนชุมชน บ้านกลางแดด มีความพร้อมด้านสถานที่ บุคลากร และสื่อต่างๆ จึงได้ประกาศจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชน (ศรช.) บ้านกลางแดด เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2541 และจากการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 พบว่าปัญหาเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขเร่งด่วนในด้านคุณภาพการศึกษาและอื่นๆ อีกหลายด้าน กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ดำเนินการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง โดยเน้นการใช้ศูนย์การเรียนชุมชนเป็นกลไกในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับประชาชนในชุมชน เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชนให้มีคุณภาพ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองนครสวรรค์ จึงได้เห็นควรที่จะปรับปรุงศูนย์การเรียนชุมชนกลางแดดให้เป็น “กศน.ตำบลกลางแดด” โดยความอนุเคราะห์จากองค์การบริหารส่วนตำบลกลางแดด ในการจัดสรรงบประมาณ ในการพัฒนาและปรับปรุง กศน.ตำบลกลางแดด ให้พร้อมที่จะจัดการศึกษาให้กับประชาชนในตำบลได้อย่างมีคุณภาพ จึงได้ดำเนินการทำพิธีเปิดป้าย “กศน.ตำบลกลางแดด” ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2552

                   กศน.ตำบลกลางแดด ได้จัดการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ตั้งแต่การสอนให้อ่านออกเขียนได้ หรือส่งเสริมการรู้หนังสือในระดับ ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษาวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาตามกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การศึกษาตามอัธยาศัย การจัดตั้ง กศน.ตำบล มีความมุ่งหมายที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนในชุมชน ดังนั้นจึงได้แบ่งกิจกรรมหลักออกเป็นดังนี้

          1. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพ

                2. จัดและส่งเสริมการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำเพื่อพัฒนาสมรรถนะของประชาชนและชุมชนให้สามารถสร้างสรรค์และแข่งขันด้านอาชีพได้อย่างยั่งยืน

                3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาเพื่อการมีงานทำ

               4. พัฒนาและส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ

          5. พัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการให้สามารถดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาเพื่อการมีงานทำของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่ตั้ง

ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดกลางแดด หมู่ 4 บ้านกลางแดด ตำบลกลางแดด อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นอาคารหลังเก่าของศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนตำบลกลางแดด

ลักษณะพื้นที่     อาคารถาวร

ที่ตั้งตำบลกลางแดด

          ตำบลกลางแดด อยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองนครสวรรค์ ด้วยระยะทางห่างจากศูนย์กลางอำเภอตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ประมาณ 14 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครสวรรค์ประมาณ 10 กิโลเมตร (ทางรถยนต์)

หมายเลขโทรศัพท์ 091-082-6640      

หมายเลขโทรสาร 056-255-711

          E-Mail This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

แผนที่ ต.กลางแดด 3

บทบาทหน้าที่ภารกิจ กศน.ตำบล

          กศน.ตำบล เป็นหน่วยงานในสังกัด กศน. อำเภอ มีฐานะเป็นหน่วยจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน
กศน. ตำบล มีภาระกิจที่สำคัญ ดังนี้
      1. จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ในชุมชน อย่างน้อยปีละ 560 คน โดยจำแนกเป็นรายกิจกรรม  ดังนี้
          1.1 การศึกษานอกระบบ 260 คน ประกอบด้วย
                    1.1.1 การศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 60 คน
                    1.1.2 การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ จำนวน 20 คน
                    1.2.3 การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต จำนวน 20 คน
                    1.2.4 การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน จำนวน 60 คน
                   1.2.5 การส่งเสริมการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 100 คน
          1.2 การศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 300 คน
      2. สร้าง และขยายภาคีเครือข่าย เพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน

      3. ส่งเสริมและสนับสนุน การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชนของภาคีเครือข่าย ทั้งในแง่ของความเข้มแข็งและความต่อเนื่องในการมีส่วนร่วม และศักยภาพในการจัด
      4. จัดทำระบบข้อมูล สถิติ และสารสนเทศ เกี่ยวกับประชากรกลุ่มเป้าหมายและผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาและแผนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งในระดับชุมชนหรือระดับจุลภาค ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และภาพรวมระดับประเทศของสำนักงาน กศน.

      5. จัดทำแผนงานโครงการ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประจำปีงบประมาณ เพื่อจัดกิจรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย และชุมชน และพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงานของ สำนักงาน กศน. สำนักงาน กศน. จังหวัด และ กศน. อำเภอ ที่สังกัด เพื่อการสนับสนุนงบประมาณ จาก กศน. อำเภอ ที่สังกัด โดยในกรณีของการจัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ยึดค่าใช้จ่ายรายหัวตามที่ มติคณะรัฐมนตรีกำหนด คูณด้วยจำนวนนักศึกษา 60 คน สำหรับกิจกรรมอื่นๆ นั้น จัดทำแผนงานโครงการเพื่อเสนอของบประมาณ ให้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจาก กศน. อำเภอ

      6. ประสานและเชื่อมโยงการดำเนินงาน การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของศูนย์การเรียนชุมชน และภาคีเครือข่ายในตำบล โดยมีการประสานแผนการดำเนินงานภายในตำบลที่รับผิดชอบและกับ กศน. อำเภอ ที่สังกัด ตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงาน บนพื้นฐานของความเป็นเอกภาพด้านนโยบายและความหลากหลายในการปฏิบัติ

     7. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในความรับผิดชอบ ตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อรับรองการประกันคุณภาพภายนอกของ กศน. อำเภอที่สังกัด

      8. รายงานผลการดำเนินงาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต่อ กศน.อำเภอ ที่สังกัด ตามแผนหรือข้อตกลงที่กำหนดไว้

      9. ปฏิบัติภารกิจอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย จาก กศน. อำเภอ สำนักงาน กศน. จังหวัด หรือ สำนักงาน กศน. และตามที่กฎหมายกำหนด

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของตำบล

สภาพทั่วไปตำบลกลางแดด

          ลักษณะทางภูมิศาสตร์

ตำบลกลางแดด ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองนครสวรรค์ ด้วยระยะทางห่างจากศูนย์กลางอำเภอตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ประมาณ 14 กิโลเมตร และอยู่ห่างจาก ตัวจังหวัดนครสวรรค์ประมาณ 10 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 21.72 ตารางกิโลเมตร หรือ 13,576 ไร่

อาณาเขต       

          ทิศเหนือ          ติดต่อกับ ต.นครสวรรค์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์

          ทิศใต้             ติดต่อกับ ต.ยางตาล อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์

          ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ ต.หนองปลิง อ.เมือง จ.นครสวรรค์

          ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ ต.ตะเคียนเลื่อน อ.เมือง จ.นครสวรรค์

แผนที่ตำบลกลางแดด อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

 แผนที่ตำบล

ข้อมูลด้านประชากร

          จำนวนประชากรจำแนกตามเพศและเขตพื้นที่ตำบลกลางแดด

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนครัวเรือน

จำนวนประชากร(คน)

จำนวนครัวเรือนในพื้นที่

ชาย

หญิง

รวม

เขต อบต.

เขตเทศบาล

1

บ้านศาลเจ้า

176

231

286

517

176

-

2

บ้านบ่อดินสอพอง

264

402

380

782

264

-

3

บ้านกลางแดด

225

240

261

501

225

-

4

บ้านกลางแดด

88

130

145

275

88

-

5

บ้านกลางแดด

145

195

227

422

145

-

6

บ้านกลางแดด

127

215

206

421

127

-

7

บ้านเขาเขียว

230

318

324

642

230

-

รวม

1,255

1,731

1,829

3,560

1,255

-

ตำบลกลางแดด มีครัวเรือนอาศัยอยู่จำนวน 1,255 ครัวเรือน อยู่ในเขตพื้นที่การปกครองของตำบลกลางแดดทั้งหมดมีประชากรทั้งสิ้น 3,560 คน แยกเป็นประชากรชายจำนวน 1,731 คน คิดเป็นร้อยละ 48.62 และประชากรหญิงจำนวน 1,829 คน คิดเป็นร้อยละ 51.38 ความหนาแน่นเฉลี่ย 163.90 คน/ตารางกิโลเมตร

          จำนวนประชากรจำแนกตามช่วงอายุ

ช่วงอายุ (ปี)

จำนวน (คน)

ร้อยละของประชากรทั้งหมด (คน)

0  -  5

187

5.25

6  -  14

395

11.10

15  -  39

1,224

34.39

40  -  59

1,124

31.58

60  -  69

381

10.70

70  -  79

152

4.27

80  -  89

86

2.41

90  ปีขึ้นไป

11

0.30

รวม

3,560

100

จากตารางจำนวนประชากรจำแนกตามช่วงอายุ  พบว่า  ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยแรงงานและเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ

          จำนวนผู้พิการจำแนกตามประเภทความพิการ

ประเภทผู้พิการ

จำนวนผู้พิการ (คน)

คิดเป็นร้อยละ

ชาย

หญิง

รวม

-ทางสมอง

14

7

21

17.95

-ทางสายตา

9

4

13

11.11

-ทางร่ายกาย

47

32

79

67.52

-พิการซ้ำซ้อน

2

2

4

3.42

รวม

72

45

117

100

กลุ่มผู้พิการ  เป็นกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในการที่จะเข้ารับบริการทางการศึกษาหรือเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้อยกว่าคนปกติทั่วไป  อันเนื่องมาจากข้อจำกัดทางด้านร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญาหรือความสามารถในการเรียนรู้ จากตารางข้อมูลจำนวนคนพิการในพื้นที่ตำบลกลางแดดจำแนกประเภทความพิการ ส่วนใหญ่มีความพิการทางร่างกาย

ข้อมูลด้านสังคม

          ประชากรในตำบลกลางแดด ส่วนใหญ่อยู่กันแบบครอบครัว อาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน ยังคงดำรงไว้ซึ่งสังคมแบบคนรุ่นเก่า มีสภาพความเป็นอยู่ผสมผสานระหว่างชุมชนในเมืองและชุมชนชนบท เนื่องจากที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองนครสวรรค์เท่าใดนัก

การคมนาคมขนส่ง

การคมนาคม มีถนนสายหลัก คือ สายนครสวรรค์ – กรุงเทพ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านตำบล- ส่วนถนนที่ใช้สัญจรติดต่อกันระหว่างหมู่บ้านมีสะดวก มีเส้นทางเชื่อมต่อและเส้นทางตัดผ่านได้หลายทางเป็นถนนลาดยาง จำนวน 4 สาย

   - ถนนพหลโยธินหมายเลข 1 ผ่านตำบลกลางแดด หมู่ที่ 2 และ 7

   - ถนนสายทางเลี่ยงเมือง ผ่านตำบลกลางแดด หมู่ที่ 2 และ 3 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา

   - ถนนสายหน้าสถานีอนามัย เชื่อมต่อระหว่างหมู่ที่ 2 กับหมู่ที่ 3 ถึงถนนเรียบแม่น้ำเจ้าพระยา

   - ถนนสาย รพช. หมู่ที่ 1

ถนนคอนกรีต                        จำนวน 71 สาย

ถนนลูกรัง                             จำนวน 3 สาย

การสื่อสารและการโทรคมนาคม

- มีโทรศัพท์เข้าถึงหมู่บ้าน มีหอกระจายข่าว/เสียงตามสายทุกหมู่บ้าน          

การไฟฟ้า

          - มีไฟฟ้าสาธารณะใช้ครบทุกหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครสวรรค์ และยังมีบางหลังคาเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้

แหล่งน้ำธรรมชาติ 

1) แม่น้ำ                             จำนวน  1 สาย           

2) หนองน้ำ                         จำนวน  6 แห่ง 
3) คลองธรรมชาติ                จำนวน  1 แห่ง

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

1) คลองส่งน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า   จำนวน  1 แห่ง 
2) บ่อบาดาลน้ำตื้น                     จำนวน  122 แห่ง 
3) ประปาหมู่บ้าน                       จำนวน  3 แห่ง (ซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ 1, 2, 4)

การกำจัดขยะ

          - มีการจัดเก็บขยะมูลฝอย โดยองค์การบริหารส่วนตำบลกลางแดดจัดเก็บ ในแต่ละวันมีปริมาณขยะประมาณ 2 ตัน/วัน และนำขยะไปทิ้งร่วมกับบ่อขยะ ของเทศบาลนครนครสวรรค์

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

          อาชีพของประชาชนในตำบล

ประชาชนในตำบลกลางแดดส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และสามารถทำได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน สภาพความเป็นอยู่โดยทั่วไปของประชาชน คือการอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มและ ขยายครอบครัวออกไปอยู่ตามพื้นที่ทำการเกษตรของตนเอง

รายได้ของชุมชน

          - ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น พอเพียงต่อรายจ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้

          - มีอัตราเงินทุนหมุนเวียนภายในชุมชน

สินค้าที่น่าสนใจ

          1) เครื่องจักสานจากไม้ไผ่ เช่น กระบุง, ตะกร้า, กระจาด เป็นการจักสานด้วยมือ มีความประณีต สวยงาม แข็งแรง ทนทาน

          2) ขนมโมจิจุฬา

สถานการณ์แรงงาน

          แรงงานในตำบลกลางแดด มีทั้งที่เป็นแรงงานที่มาจากประชากรของตำบลเอง และแรงงานที่เป็นประชากรจากนอกพื้นที่ เช่น แรงงานจากภาคอีสาน และแรงงานต่างด้าว

          จำนวนหน่วยธุรกิจที่สำคัญของตำบล

          - ปั้มน้ำมันและก๊าซ        จำนวน  5 แห่ง

          - โรงงานอุตสาหกรรม     จำนวน 4 แห่ง

          - โกดังเก็บสินค้า           จำนวน  7 แห่ง

          - บริษัท/ห้างร้าน           จำนวน  4 แห่ง

          - ร้านค้าขนาดใหญ่        จำนวน  15 แห่ง

          - ร้านค้าขนาดเล็ก         จำนวน  50 แห่ง

          - เสริมสวย                   จำนวน 4 แห่ง

          - สนามยิงปืน                จำนวน 1 แห่ง

          กลุ่มอาชีพเศรษฐกิจชุมชน

          1. กลุ่มอาชีพการทำปุ๋ยดิน

          2. กลุ่มอาชีพจักสานไม้ไผ่

          3. กลุ่มอาชีพการทำพวงหรีดดอกไม้จันทน์

          4. กลุ่มอาชีพการปลูกมะนาวแป้น

ข้อมูลด้านการศึกษา

     ตำบลกลางแดด มีสถานศึกษารวมทั้งหมด 4 แห่ง มีครูจำนวน 22 คน และมีนักเรียนจำนวน 282 คน  เป็นอัตราส่วนครู/อาจารย์  ต่อนักเรียน ประมาณ 1/7.80 ในแต่ละสถานศึกษาที่อยู่ในเขตตำบลกลางแดด มีจำนวนนักเรียน นักศึกษา ดังนี้

1)  โรงเรียนวัดกลางแดด                               

2)  โรงเรียนบ้านบ่อดินสอพอง                        

3)  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง                       

4)  กศน.ตำบล 1 แห่ง