สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของตำบล
สภาพทั่วไปตำบลกลางแดด
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
ตำบลกลางแดด ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองนครสวรรค์ ด้วยระยะทางห่างจากศูนย์กลางอำเภอตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ประมาณ 14 กิโลเมตร และอยู่ห่างจาก ตัวจังหวัดนครสวรรค์ประมาณ 10 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 21.72 ตารางกิโลเมตร หรือ 13,576 ไร่
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ต.นครสวรรค์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์
ทิศใต้ ติดต่อกับ ต.ยางตาล อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ต.หนองปลิง อ.เมือง จ.นครสวรรค์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ต.ตะเคียนเลื่อน อ.เมือง จ.นครสวรรค์
แผนที่ตำบลกลางแดด อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
ข้อมูลด้านประชากร
จำนวนประชากรจำแนกตามเพศและเขตพื้นที่ตำบลกลางแดด
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนครัวเรือน |
จำนวนประชากร(คน) |
จำนวนครัวเรือนในพื้นที่ |
|||
ชาย |
หญิง |
รวม |
เขต อบต. |
เขตเทศบาล |
|||
1 |
บ้านศาลเจ้า |
176 |
231 |
286 |
517 |
176 |
- |
2 |
บ้านบ่อดินสอพอง |
264 |
402 |
380 |
782 |
264 |
- |
3 |
บ้านกลางแดด |
225 |
240 |
261 |
501 |
225 |
- |
4 |
บ้านกลางแดด |
88 |
130 |
145 |
275 |
88 |
- |
5 |
บ้านกลางแดด |
145 |
195 |
227 |
422 |
145 |
- |
6 |
บ้านกลางแดด |
127 |
215 |
206 |
421 |
127 |
- |
7 |
บ้านเขาเขียว |
230 |
318 |
324 |
642 |
230 |
- |
รวม |
1,255 |
1,731 |
1,829 |
3,560 |
1,255 |
- |
ตำบลกลางแดด มีครัวเรือนอาศัยอยู่จำนวน 1,255 ครัวเรือน อยู่ในเขตพื้นที่การปกครองของตำบลกลางแดดทั้งหมดมีประชากรทั้งสิ้น 3,560 คน แยกเป็นประชากรชายจำนวน 1,731 คน คิดเป็นร้อยละ 48.62 และประชากรหญิงจำนวน 1,829 คน คิดเป็นร้อยละ 51.38 ความหนาแน่นเฉลี่ย 163.90 คน/ตารางกิโลเมตร
จำนวนประชากรจำแนกตามช่วงอายุ
ช่วงอายุ (ปี) |
จำนวน (คน) |
ร้อยละของประชากรทั้งหมด (คน) |
0 - 5 |
187 |
5.25 |
6 - 14 |
395 |
11.10 |
15 - 39 |
1,224 |
34.39 |
40 - 59 |
1,124 |
31.58 |
60 - 69 |
381 |
10.70 |
70 - 79 |
152 |
4.27 |
80 - 89 |
86 |
2.41 |
90 ปีขึ้นไป |
11 |
0.30 |
รวม |
3,560 |
100 |
จากตารางจำนวนประชากรจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยแรงงานและเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ
จำนวนผู้พิการจำแนกตามประเภทความพิการ
ประเภทผู้พิการ |
จำนวนผู้พิการ (คน) |
คิดเป็นร้อยละ |
||
ชาย |
หญิง |
รวม |
||
-ทางสมอง |
14 |
7 |
21 |
17.95 |
-ทางสายตา |
9 |
4 |
13 |
11.11 |
-ทางร่ายกาย |
47 |
32 |
79 |
67.52 |
-พิการซ้ำซ้อน |
2 |
2 |
4 |
3.42 |
รวม |
72 |
45 |
117 |
100 |
กลุ่มผู้พิการ เป็นกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในการที่จะเข้ารับบริการทางการศึกษาหรือเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้อยกว่าคนปกติทั่วไป อันเนื่องมาจากข้อจำกัดทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญาหรือความสามารถในการเรียนรู้ จากตารางข้อมูลจำนวนคนพิการในพื้นที่ตำบลกลางแดดจำแนกประเภทความพิการ ส่วนใหญ่มีความพิการทางร่างกาย
ข้อมูลด้านสังคม
ประชากรในตำบลกลางแดด ส่วนใหญ่อยู่กันแบบครอบครัว อาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน ยังคงดำรงไว้ซึ่งสังคมแบบคนรุ่นเก่า มีสภาพความเป็นอยู่ผสมผสานระหว่างชุมชนในเมืองและชุมชนชนบท เนื่องจากที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองนครสวรรค์เท่าใดนัก
การคมนาคมขนส่ง
การคมนาคม มีถนนสายหลัก คือ สายนครสวรรค์ – กรุงเทพ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านตำบล- ส่วนถนนที่ใช้สัญจรติดต่อกันระหว่างหมู่บ้านมีสะดวก มีเส้นทางเชื่อมต่อและเส้นทางตัดผ่านได้หลายทางเป็นถนนลาดยาง จำนวน 4 สาย
- ถนนพหลโยธินหมายเลข 1 ผ่านตำบลกลางแดด หมู่ที่ 2 และ 7
- ถนนสายทางเลี่ยงเมือง ผ่านตำบลกลางแดด หมู่ที่ 2 และ 3 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
- ถนนสายหน้าสถานีอนามัย เชื่อมต่อระหว่างหมู่ที่ 2 กับหมู่ที่ 3 ถึงถนนเรียบแม่น้ำเจ้าพระยา
- ถนนสาย รพช. หมู่ที่ 1
ถนนคอนกรีต จำนวน 71 สาย
ถนนลูกรัง จำนวน 3 สาย
การสื่อสารและการโทรคมนาคม
- มีโทรศัพท์เข้าถึงหมู่บ้าน มีหอกระจายข่าว/เสียงตามสายทุกหมู่บ้าน
การไฟฟ้า
- มีไฟฟ้าสาธารณะใช้ครบทุกหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครสวรรค์ และยังมีบางหลังคาเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้
แหล่งน้ำธรรมชาติ
1) แม่น้ำ จำนวน 1 สาย
2) หนองน้ำ จำนวน 6 แห่ง
3) คลองธรรมชาติ จำนวน 1 แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
1) คลองส่งน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า จำนวน 1 แห่ง
2) บ่อบาดาลน้ำตื้น จำนวน 122 แห่ง
3) ประปาหมู่บ้าน จำนวน 3 แห่ง (ซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ 1, 2, 4)
การกำจัดขยะ
- มีการจัดเก็บขยะมูลฝอย โดยองค์การบริหารส่วนตำบลกลางแดดจัดเก็บ ในแต่ละวันมีปริมาณขยะประมาณ 2 ตัน/วัน และนำขยะไปทิ้งร่วมกับบ่อขยะ ของเทศบาลนครนครสวรรค์
ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
อาชีพของประชาชนในตำบล
ประชาชนในตำบลกลางแดดส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และสามารถทำได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน สภาพความเป็นอยู่โดยทั่วไปของประชาชน คือการอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มและ ขยายครอบครัวออกไปอยู่ตามพื้นที่ทำการเกษตรของตนเอง
รายได้ของชุมชน
- ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น พอเพียงต่อรายจ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้
- มีอัตราเงินทุนหมุนเวียนภายในชุมชน
สินค้าที่น่าสนใจ
1) เครื่องจักสานจากไม้ไผ่ เช่น กระบุง, ตะกร้า, กระจาด เป็นการจักสานด้วยมือ มีความประณีต สวยงาม แข็งแรง ทนทาน
2) ขนมโมจิจุฬา
สถานการณ์แรงงาน
แรงงานในตำบลกลางแดด มีทั้งที่เป็นแรงงานที่มาจากประชากรของตำบลเอง และแรงงานที่เป็นประชากรจากนอกพื้นที่ เช่น แรงงานจากภาคอีสาน และแรงงานต่างด้าว
จำนวนหน่วยธุรกิจที่สำคัญของตำบล
- ปั้มน้ำมันและก๊าซ จำนวน 5 แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 4 แห่ง
- โกดังเก็บสินค้า จำนวน 7 แห่ง
- บริษัท/ห้างร้าน จำนวน 4 แห่ง
- ร้านค้าขนาดใหญ่ จำนวน 15 แห่ง
- ร้านค้าขนาดเล็ก จำนวน 50 แห่ง
- เสริมสวย จำนวน 4 แห่ง
- สนามยิงปืน จำนวน 1 แห่ง
กลุ่มอาชีพเศรษฐกิจชุมชน
1. กลุ่มอาชีพการทำปุ๋ยดิน
2. กลุ่มอาชีพจักสานไม้ไผ่
3. กลุ่มอาชีพการทำพวงหรีดดอกไม้จันทน์
4. กลุ่มอาชีพการปลูกมะนาวแป้น
ข้อมูลด้านการศึกษา
ตำบลกลางแดด มีสถานศึกษารวมทั้งหมด 4 แห่ง มีครูจำนวน 22 คน และมีนักเรียนจำนวน 282 คน เป็นอัตราส่วนครู/อาจารย์ ต่อนักเรียน ประมาณ 1/7.80 ในแต่ละสถานศึกษาที่อยู่ในเขตตำบลกลางแดด มีจำนวนนักเรียน นักศึกษา ดังนี้
1) โรงเรียนวัดกลางแดด
2) โรงเรียนบ้านบ่อดินสอพอง
3) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง
4) กศน.ตำบล 1 แห่ง