ติดกับโรงเรียนวัดนากลาง หมู่ 1 ต.นากลาง อ.โกรกพระจ.นครสวรรค์ 60170 0987780254 onanongtato@gmail.com 08.00-16.30
ครู กศน.ตำบลนากลาง

                                                                                        355358

นางสาวอรอนงค์ แย้มฉาย

ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล

 เบอร์โทร 0987780254

 

 

แพลตฟอร์ม กศน.นครสวรรค์

จำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์
009148
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ผู้เข้าชมทั้งหมด
3
24
52
9031
249
206
9148

Your IP: 192.168.1.1
2024-12-27 10:52

นายธีรศักดิ์ อำภูธร                 ประธานองค์กรนักศึกษา

นางสาวมยุรี เหล่าสิงห์           รองประธานองค์กรนักศึกษา

นางสาวจินตนา เมืองเพ็ขร     กรรมการ

นางสาวจิติมา สิงห์อยู่วงษ์     กรรมการ

นายอภิชิต พวงวิลัย               กรรมการ

นายธวัชชัย  จตุพจน์              กรรรมการ

75093788 761625227608899 5886179759213248512 nองกรธีรศักดิ์

1.นายประมวล เสนีย์ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา
2.นางสาวอรนภา ขุมทอง รองประธานคณะกรรมการสถานศึกษา

นายประมาลอรนภาเสาวลัก

 

 

 

 

 

 88360864 853561845081903 4731410216078278656 n

    

ข้อมูลพื้นฐานของ กศน.ตำบลนากลาง

ความเป็นมา

          เมื่อ พ.ศ. 2541 กศน.ตำบลนากลาง ได้ใช้อาคารเอนกประสงค์ ด้วยงบประมาณกองทุน ของหมู่บ้าน และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการหมู่บ้าน ภาคีเครือข่าย ให้ใช้อาคารดังกล่าวเป็นศูนย์การเรียนชุมชนตำบลนากลาง เพื่อจัดระบวนการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นที่ตั้ง กศน.ตำบล จนถึงปัจจุบัน

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของตำบล

ประวัติความเป็นมา

                  ประวัติความเป็นมาขององค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ มีความเป็นมาที่ยาวนานพอสมควรแต่ไม่มีผู้ใดบันทึกรายละเอียดที่แน่นอนมาก่อน จากการสอบถามผู้นำตำบล หมู่บ้าน ในปัจจุบันและสอบถามผู้อาวุโสในตำบลซึ่งมีการตั้งถิ่นฐานมานาน พอจะได้ความว่าแต่เดิมนั้นตำบลนากลางเป็นเพียงหมู่บ้านหนึ่งของตำบลบางประมุง ซึ่งมีอาณาเขตตำบลติดต่อกันทางด้านทิศเหนือในปัจจุบันนี้ ต่อมาเมื่อมีประชากรหนาแน่นขึ้นจึงขอแยกตัวออกมาตั้งเป็นตำบลนากลาง ซึ่งแรกเริ่มตั้งเป็นตำบลนากลางมีหมู่บ้านที่ใหญ่และมีจำนวนประชากรที่หนาแน่นคือหมู่บ้านหนองจอก ปัจจุบันได้ชื่อเรียกขานใหม่ว่าบ้านนากลาง และเป็นจุดที่ตั้งของที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนากลางด้วยเช่นกัน

ลักษณะทางกายภาพ

สภาพภูมิประเทศ  

                 ชุมชนตำบลนากลาง มีสภาพทางกายภาพเป็นที่ราบลุ่มตอนกลาง พื้นที่ลาดเอียงจากทางด้านตะวันตกของตำบลซึ่งเป็นภูเขาสูง คือ วนอุทยานเขาหลวง ลงสู่ด้านตะวันออกซึ่งเป็นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ ได้แก่ คลองบางประมุง และบึงระหานน้ำใส ตัวชุมชนหลักของตำบลนากลางตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของตัวอำเภอโกรกพระ มีระยะทางโดยประมาณ 17 กิโลเมตร การคมนาคมขนส่งใช้เดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคล เพราะไม่มีรถประจำทางผ่าน

สภาพพื้นที่ด้านตะวันตกของตำบลนากลางซึ่งติดกับวนอุทยานเขาหลวง ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเขาหลวง จำแนกเป็นพื้นที่ป่าไม้บนภูเขา 13.25 % ประมาณ 4,500 ไร่ พื้นที่ทางเกษตรกรรม 67.44 % หรือประมาณ 22,890 ไร่ นอกจากนั้นเป็นพื้นที่อื่นๆ ประมาณ 19.13 % หรือประมาณ 6,500 ไร่ และแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ แร่หินอ่อนบริเวณเทือกเขาหลวง และถ้ำผาสวรรค์ เหมาะสำหรับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ

สภาพดินฟ้าอากาศ

                  ตำบลนากลางมีสภาพดินฟ้าอากาศแบบมรสุม 3 ฤดูกาล คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน โดยทั่วไปอากาศค่อนข้างร้อน ฤดูหนาวเป็นช่วงสั้นๆ ในฤดูฝน ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลและฝนทิ้งช่วง ซึ่งเกิดจากความไม่สมดุลของธรรมชาติ ดังนั้น สภาพดินฟ้าอากาศจึงขึ้นอยู่กับอิทธิพลของธรรมชาติ บางครั้งจึงเกิดฝนตกและอุทกภัย หรือเกิดฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน เป็นผลทำให้พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ตลอดจนขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค

อาณาเขตติดต่อ

                     ทิศเหนือ        จด ตำบลบางประมุง     อำเภอโกรกพระ

                     ทิศใต้            จด ตำบลศาลาแดง     อำเภอโกรกพระ

                   ทิศตะวันออก  จด ตำบลบางประมุง     อำเภอโกรกพระ

              ทิศตะวันตก    จด วนอุทยานเขาหลวง ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างจังหวัดนครสวรรค์ กับ จังหวัดอุทัยธานี

เนื้อที่

ตำบลนากลางมีพื้นที่ทั้งหมด 54.304 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 33,940 ไร่

การปกครองและประชากร

ตำบลนากลางมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ดังนี้

                   หมู่ที่    1        บ้านนากลาง                 หมู่ที่    2        บ้านในซุ้ง                 

                   หมู่ที่    3        บ้านหนองปลาค้าว       หมู่ที่    4        บ้านท่าทราย   

                   หมู่ที่    5        บ้านคลองบางแก้ว        หมู่ที่    6        บ้านหัวโป่ง               

                   หมู่ที่    7        บ้านถ้ำผาสวรรค์           หมู่ที่    8        บ้านหนองจอก           

ตำบลนากลางมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 3,043 คน เป็นชาย 1,505 คน หญิง 1,538 คน   ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 54.09   คน/ตารางกิโลเมตร และมีจำนวนครัวเรือน 1,006

ครัวเรือน   หรือคิดเฉลี่ย 3 คนต่อครัวเรือน รายละเอียดดังนี้

ตำบลนากลาง/หมู่บ้าน

ชาย

หญิง

รวม

ครัวเรือน

หมู่ที่ 1

431

463

894

298

หมู่ที่ 2

126

132

258

92

หมู่ที่ 3

68

61

129

46

หมู่ที่ 4

107

149

319

110

หมู่ที่ 5

101

108

209

74

หมู่ที่ 6

280

306

586

172

หมู่ที่ 7

131

119

250

86

หมู่ที่ 8

198

200

398

128

รวม

1,505

1,538

3,05643

1,006

 

รายงานสถิติประชากร ระดับตำบลของตำบลนากลาง : ข้อมูล ณ วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 25562

ตำบลนากลาง/หมู่บ้าน

บ้านปกติ

บ้านรื้อถอน

รวม

หมู่ที่ 1  (หนองจอก)

293

70

363

หมู่ที่ 2  (ในซุ้ง)

84

15

99

หมู่ที่ 3   (หนองปลาค้าว)

45

10

55

หมู่ที่ 4  (หนองระว้า)

109

23

132

หมู่ที่ 5  (คลองบางแก้ว)

71

19

90

หมู่ที่ 6  (หัวโปร่ง)

161

17

178

หมู่ที่ 7  (ถ้ำผาสวรรค์)

84

5

89

หมู่ที่ 8  (หนองจอก)

121

6

127

รวม

968

165

1,133

 รายงานสถิติบ้าน ระดับตำบลของตำบลนากลาง : ข้อมูล ณ วันที่ 24 เมษายน 2562

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

              ป่าไม้ ตำบลนากลางไม่มีป่าไม้ที่จะนับเป็นป่าสำคัญ แต่มีเพียงอาณาเขตทางทิศตะวันตก จดเขตวนอุทยานเขาหลวง ซึ่งแบ่งเป็นป่าเบญจพรรณ,ป่าผลัดใบเสื่อมโทรม และป่าแดงหรือป่าเต็งรัง

              แหล่งน้ำ ตำบลนากลางมีแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ บึงระหารน้ำใส มีเนื้อที่ 1,500 ไร่   และหนองสามความ มีเนื้อที่ 937 ไร่

              อย่างไรก็ตาม แหล่งน้ำทั้งสองแหล่งดังกล่าว ปัจจุบันมีสภาพตื้นเขิน เมื่อถึงฤดูแล้ง น้ำจะแห้งขอด ไม่เพียงพอต่อความต้องการของราษฎรซึ่งทำนา ปีละ 1 – 2 ครั้ง และขาดแคลนน้ำเพื่อเป็นแหล่งน้ำดิบผลิตประปา บางปีต้องตั้งเครื่องสูบน้ำจากคลองบางประมุงเพื่อดึงน้ำเข้าสู่บึงระหารน้ำใส นอกจากนี้ ในช่วงน้ำหลากเกิดน้ำท่วม เพราะไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ในปริมาณมาก และคลองระบายน้ำเข้า – ออก มีสภาพตื้นเขินประตูระบายน้ำชำรุด

การตั้งถิ่นฐานและการใช้ประโยชน์ที่ดินปัจจุบัน

                    ชุมชนนากลางเป็นชุมชนชนบท ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ทำนา ทำไร่ ทำสวน ฯลฯ) นิยมตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มก้อน มีลักษณะเป็นบ้านเดี่ยวใต้ถุนยกสูงแบบชนบททั่วไป โดยมีวัดนากลางเป็นศูนย์กลางการตั้งถิ่นฐานที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด การตั้งบ้านเรือนเกาะตัวอยู่ตามริมเส้นทางคมนาคมสายหลักของชุมชน คือ บริเวณทางหลวงชนบทหมายเลข นว. 4004 (บ้านบางประมุง-หาดสูง) กลุ่มชุมชนที่ใหญ่ที่สุดของตำบล ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านนากลาง หมู่ที่ 6 บ้านหัวโป่ง และหมู่ที่ 8 บ้านหนองจอก มีประชากรประมาณ 873 , 578 และ 303 คน ตามลำดับ และกลุ่มชุมชนที่เล็กที่สุด ได้แก่ หมู่ที่ 3 บ้านหนองปลาค้าว มีประชากรประมาณ 130 คนสามารถจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินได้ดังต่อไปนี้

                   - การใช้ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัย (หนาแน่นน้อย) นิยมตั้งบ้านเรือนอยู่กันเป็นกลุ่มพี่น้อง เป็นกลุ่มใหญ่ และกระจายตัวตามเส้นทางคมนาคม หรือ ตั้งบ้านเรือนตามพื้นที่การเกษตรของตนเอง มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด โดยมีวัดและองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นศูนย์กลาง ส่วนใหญ่เป็นบ้านประเภท บ้านเดี่ยวครึ่งตึกครึ่งไม้ บ้านปูนชั้นเดียว และบ้านใต้ถุนสูง

- การใช้ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง ส่วนใหญ่เป็น

กิจกรรมประเภท บริการ,ขายของเบ็ดเตล็ด,ของชำ, ขายอาหารและเครื่องดื่ม ส่วนใหญ่เป็นร้านขายสินค้าเล็กๆ ตั้งกระจาย อยู่ตามที่ชุมชน

- การใช้ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม

เป็นอุตสาหกรรมประเภท อุตสาหกรรมการผลิตและบริการ 2 แห่ง

                     - โรงโม่หิน    จำนวน          1        แห่ง

                     - โรงสีข้าว    จำนวน          1        แห่ง

- การใช้ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม คือ พื้นที่ทั่วไปโดยรอบชุมชนทั้งหมด ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนนากลาง

- การใช้ที่ดินประเภทสวนสาธารณะและที่พักผ่อนหย่อนใจในชุมชน บึงระหารน้ำใส และถ้ำผาสวรรค์ สนามฟุตบอล 1 แห่ง สนามเด็กเล่น 1 แห่ง

 - การใช้ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา

X โรงเรียนระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษา 2 แห่ง ได้แก่

- โรงเรียนวัดนากลางตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 บ้านนากลาง มีจำนวนนักเรียน 151 คน ระดับอนุบาล 35 คน ระดับประถมศึกษา ป.1 – ป.6 จำนวน 116 คน ครู จำนวน 18 คน ห้องเรียน จำนวน 11 ห้อง                  

- โรงเรียนบ้านเขาปูนตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 บ้านเขาปูน มีจำนวนนักเรียน 44 คน ระดับอนุบาล 7 คน ระดับประถมศึกษา ป.1 – ป.6 จำนวน 37 คนมีจำนวนนักเรียน 45 คน ครู จำนวน 3 คน ห้องเรียน จำนวน 8 ห้อง

v ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนากลาง เด็กนักเรียน จำนวน 32 คน

v ที่อ่านหนังสือประจำหมู่ที่บ้าน 8 แห่ง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1,2,3,4,5,6,7 หมู่ที่ 8

- การใช้ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา คือ วัด จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ สำนักสงฆ์ 1 แห่ง ได้แก่

            1)   วัดนากลาง              (หมู่ที่ 1)         2)   วัดถ้ำผาสวรรค์     (หมู่ที่ 7)

           3)   วัดสามัคคีราษฎร       (หมู่ที่ 4)         4)   วัดท่าทราย          (หมู่ที่ 4

           5)   สำนักสงฆ์ถ้ำหินเพิง   (หมู่ที่ 8)

                   - การใช้ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ สถาบันราชการ   ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 บ้านนากลาง เนื่องจากเป็นกลุ่มชุมชนขนาดใหญ่ที่สุดของตำบล

  • ที่ดินประเภท แม่น้ำลำคลอง และแหล่งน้ำต่าง ๆ ในชุมชนนากลาง
  • ที่ดินประเภท ถนน ซอย ถนนโครงการต่าง ๆ ในชุมชนนากลาง

ตารางที่ 1 แสดงการใช้ที่ดินปัจจุบัน ผังชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์

ประเภท

ผังชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง

พื้นที่ (ไร่)

ร้อยละ

- ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยน้อย

71.58

0.21

- ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง

2.56

0.01

- ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก

4.13

0.01

- ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า

1.08

0.00

- ที่ดินประเภทเกษตรกรรม

25,471.96

75.05

- ที่โล่งเพื่อนันทนาการและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

4,987.50

14.69

- ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา

227.60

0.67

- ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา

29.64

0.09

- ที่ดินประเภทสถาบันราชการ

4.95

0.01

- แม่น้ำ ลำคลอง แหล่งน้ำต่าง ๆ

1,433.00

4.22

- ทางหลวง ถนน ซอย ถนนโครงการ (ทางรถไฟ)

1,706.25

5.03

รวม

33,940.54

100.00

หมายเหตุ : พื้นที่ได้จากการคำนวณด้วยโปรแกรม MAPINFO

สภาพทางสังคมและประชากร

ด้านประชากร ในปี พ.ศ. 2558 ตำบลนากลางมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 3,049 คน คิดเป็นความหนาแน่นของเป็นโดยเฉลี่ยประมาณ 56.146 คนต่อตารางกิโลเมตร มีจำนวนครัวเรือน 959 หลังคาเรือน   คิดเป็นขนาดของครัวเรือนโดยเฉลี่ย 3.17 คนต่อครัวเรือน และเมื่อศึกษาจากสถิติจำนวนประชากร ในอดีตระหว่างปี พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2571 จึงได้คาดการณ์จำนวนประชากรในอนาคตระหว่าง ปี พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2571 รวมระยะเวลา 20 ปี ว่า จะมีประชากร เพิ่มขึ้น โดยประมาณจำนวน 196 คน โดยการคิดอัตราการเปลี่ยนแปลงประชากรเพิ่มขึ้น เฉลี่ย ร้อยละ 0.32 ต่อปี จากการเปลี่ยนแปลงของประชากรดังกล่าว คาดการณ์ได้ว่าเกิดขึ้นจากปัจจัยที่สำคัญ คือ การ เพิ่มขึ้นของประชากรแบบธรรมชาติ

ลักษณะทางสังคม

ประชากรตำบลนากลางส่วนใหญ่ มีความสัมพันธ์ของคนในสังคมเป็นแบบเครือญาติ และมีวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามสืบต่อกันมา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณร้อยละ 100 ของจำนวนประชากรทั้งหมด

สภาพทางเศรษฐกิจ

โครงสร้างทางเศรษฐกิจหลักของชุมชนนากลาง   ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะยากจนถึงปานกลาง อาชีพหลักจึงเป็นกิจกรรมทางด้านเกษตรกรรม รองลงมาเป็นอาชีพของประชากรในตำบล นากลาง ดังนี้

1. ด้านเกษตรกรรม 80 %                     2. ด้านรับจ้าง 10 %

3. ด้านปศุสัตว์ 5 %                              4. ด้านประมง 3 %

5. อื่นๆ 2 %

ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ได้แก่ ผลิตภัณฑ์กล้วยกวน

            การเกษตรกรรม

ตำบลนากลางใช้พื้นที่สำหรับทำการเกษตร มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 25,774 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 75.93 ของพื้นที่ตำบล พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวนาปี/นาปรัง มีพื้นที่เพาะปลูกถึง 18,905 ไร่ , อ้อย 5,612 ไร่ , ไม้ผล 849 ไร่ , ไผ่ 442 ไร่ , ข้าวโพด 408 ไร่ และไม้ยืนต้น 13 ไร่         การเลี้ยงปศุสัตว์ที่สำคัญ ได้แก่ โค กระบือ สุกร ไก่ เป็ด

สถานประกอบการอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม

            ประเภทพาณิชยกรรม

                  - ปั้มน้ำมันหลอด                  จำนวน              2          แห่ง

                  - ร้านค้าทั่วไป                      จำนวน              21        แห่ง

                  - อู่ซ่อมรถ                            จำนวน              4          แห่ง

 

 

           สถานประกอบการประเภทบริการ

                  - โรงแรม                             จำนวน             1          แห่ง     

           การอุตสาหกรรม

                  - โรงโม่หิน                          จำนวน             1          แห่ง

                  - โรงสีข้าว                           จำนวน             1          แห่ง

 

โครงสร้างพื้นฐาน

. การคมนาคมและขนส่ง

              การคมนาคม มีถนนสายหลักที่ตัดผ่านพื้นที่ตำบลนากลาง คือ ทางหลวงชนบทหมายเลข นว. 4004   ภายในตำบลมีถนนสายรองประเภทถนนลาดยาง ถนนคอนกรีต และถนนลูกรัง เชื่อมติดต่อระหว่างหมู่บ้าน การเดินทางเข้าถึงชุมชน จากตัวเมืองนครสวรรค์ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3005 (นครสวรรค์–โกรกพระ) ประมาณ 10 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงชนบทหมายเลข นว. 4004 ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง หรือไปตามถนนบ้านสันคู-บ้านท่าทอง–บ้านท่าซุด ที่บริเวณบ้านสันคูในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงชนบทหมายเลข นว. 4004 ได้เช่นเดียวกัน

              โดยในเขตชุมชนมีถนนสายสำคัญ   ดังนี้

- ทางหลวงชนบทหมายเลข นว. 4004 ตัดผ่านชุมชนนากลาง ในแนวตะวันออก-ตะวันตก เป็น

เส้นทางคมนาคมขนส่งสายหลัก เชื่อมการติดต่อระหว่างเมืองศูนย์กลางนครสวรรค์ กับตำบลนากลาง ให้บริการด้านคมนาคมขนส่งสาธารณะและด้านการเกษตรกรรม

- ทางหลวงชนบทหมายเลข นว. 4096 ตัดผ่านชุมชนนากลางในแนวเหนือ-ใต้ เข้าสู่ตำบลศาลาแดง

ทางด้านทิศใต้ เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งสายหลักเชื่อมการติดต่อพื้นที่ภายในตำบลและระหว่างตำบล และชุมชนใกล้เคียง

- ถนนบ้านนากลาง-บ้านตายาย เป็นถนนสายรองทางด้านทิศเหนือของชุมชนนากลาง เข้าสู่เขตเทศบาลตำบลบางประมุง อำเภอโกรกพระ และตำบลหนองกรด ในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ ให้บริการด้านคมนาคมระหว่างชุมชนหมู่บ้านและขนส่งการเกษตรกรรม

- ถนนบ้านนากลาง-บ้านในซุ้ง-บ้านเขาปูน ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของชุมชน ให้บริการด้านคมนาคมระหว่างชุมชนหมู่บ้านและขนส่งการเกษตรกรรม และเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของตำบลนากลาง คือ ถ้ำผาสวรรค์ เป็นที่ตั้งของวัดถ้ำผาสวรรค์ ที่มีทางขึ้นสู่ยอดเขาปูน ภายในมีถ้ำที่สวยงามและประดิษฐานพระพุทธรูป

- ถนนเลียบคลองส่งน้ำชลประทาน เริ่มต้นจากแม่น้ำตากแดด ตำบลเนินศาลา เขตรอยต่อจังหวัดนครสวรรค์ กับ จังหวัดอุทัยธานี ผ่านตำบลศาลาแดง และตำบลนากลาง อำเภอโกรกพระ ไปสิ้นสุดที่ตำบลหนองกรด อำเภอเมืองนครสวรรค์ รวมระยะทางประมาณ 28 กิโลเมตร ที่บริเวณเขาหินเพลิงด้านหลังวัดศรีอุทุมพร (วัดหลวงพ่อจ้อย) ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นเส้นทางคมนาคมการท่องเที่ยวธรรมชาติ เขตวนอุทยานเขาหลวง

ในด้านการด้านคมนาคมและขนส่ง ที่เป็นสภาพปัญหาอุปสรรคของระบบและโครงข่ายถนน

ในปัจจุบัน ตลอดจนปัญหาการจราจรและอุบัติเหตุต่างๆ สรุปได้ ดังนี้

สภาพถนน

โดยส่วนใหญ่ พื้นผิวจราจรบนถนนสายหลักอยู่ในสภาพที่ดี บริเวณที่มักจะพบปัญหา ได้แก่ ถนน

ในชุมชนซึ่งมีขนาดเขตทางคับแคบ ถนนที่ยังไม่ได้มาตรฐาน ขาดการวางระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ไม่มีระบบท่อระบายน้ำรวม และถนนหลายเส้นทางที่มีสภาพผิวจราจรชำรุดทรุดโทรม ขาดการพัฒนาให้เหมาะสมกับการให้บริการ จึงสมควรได้รับการปรับปรุง ซ่อมแซม และพัฒนาให้ได้มาตรฐานสายทาง ต่อไป ขาดป้ายสัญญาณการจราจรประเภทต่างๆ เช่น ป้ายแนะนำการจราจร ป้ายเตือนการจราจร ป้ายแสดงการเข้าถึงพื้นที่ที่สำคัญ ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสร้างความเข้าใจสำหรับชุมชน   และสำหรับผู้ที่เดินทางสัญจรผ่านไป-มา รวมถึงการปรับปรุงสัญญาณไฟจราจรและไฟฟ้าส่องสว่างบริเวณพื้นที่ที่คาดว่า มักเกิดอุบัติเหตุหรือเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยเป็นประจำ                                                   

ระบบโครงข่ายของถนน

การคมนาคมและขนส่งภายในชุมชน ปัจจุบันแม้ว่าจะมีระบบโครงข่ายถนนสายหลักและถนนสายรองในชุมชนที่ให้บริการเกือบทั่วถึงทั้งพื้นที่แล้ว แต่ยังขาดความต่อเนื่องที่ดีพอจึงเป็นอุปสรรคสำหรับการเดินทางสัญจร เช่น การเดินทางระหว่างชุมชนอาจต้องใช้เวลาที่เพิ่มมากขึ้นเกินจำเป็น ทั้งนี้ในอนาคตควรมีการปรับปรุงระบบถนนให้มีความสมบูรณ์ตามมาตรฐานของสายทาง ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และโดยเหตุดังกล่าว จึงควรกำหนดแนวทางขึ้นใหม่เพื่อรองรับและเชื่อมติดต่อการคมนาคมขนส่งระหว่างถนนสายหลักและถนนสายรองให้เป็นระบบและมีโครงข่ายที่ดียิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนการให้บริการเดินทางที่สะดวกสบาย ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา ดังจะได้กล่าวต่อไปในข้อเสนอแนะด้านโครงการคมนาคมและขนส่ง

การขนส่งผู้โดยสาร

ปัจจุบันชุมชนนากลางไม่มีสถานีขนส่ง โดยใช้บริการขนส่งสาธารณะตามริมทางหลวงสายต่างๆ ที่ตัดผ่าน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีความจำเป็นในด้านนี้ แต่เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการคมนาคมและขนส่ง จึงควรจัดเตรียมพื้นที่สำหรับก่อสร้างสถานีรับ-ส่งผู้โดยสารเพื่อรองรับการให้บริการ ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในอนาคต

. การสาธารณูปโภค

การประปา ปัจจุบันการประปาภายในชุมชนนากลาง มีประปาหมู่บ้านจำนวน 8 แห่ง จากจำนวนที่มีอยู่ 8 หมู่บ้าน หรือคิดเป็นร้อยละ 100 ของหมู่บ้าน ให้บริการครอบคลุม 860 ครัวเรือน จากจำนวนทั้งหมด 906 ครัวเรือน หรือคิดเป็นร้อยละ 94.92 ของครัวเรือนทั้งหมด

การไฟฟ้า อยู่ในรับผิดชอบและดำเนินการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครสวรรค์ ปัจจุบันสามารถให้บริการจ่ายไฟฟ้าได้ครอบคลุมทั้งสิ้น จำนวน 959 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100% ในปี 2557 ของประชากรที่มีไฟฟ้าใช้ในตำบลนากลางในปี ทั้งนี้ การให้บริการไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะตามถนนหลายสายในชุมชน ยังไม่เพียงพอเท่าที่ควร

ด้านโทรศัพท์ ในปัจจุบันชุมชนนากลาง มีตู้โทรศัพท์สาธารณะให้บริการได้อย่างพอเพียง จำนวน 21 ตู้

ด้านไปรษณีย์ ในเขตชุมชนนากลางมีที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 1 แห่ง แต่เป็นของเอกชนที่ได้รับอนุญาตจากการสื่อสารฯ เปิดให้บริการ

. การสาธารณูปการ

การศึกษา ในพื้นที่ชุมชนตำบลนากลาง มีสถานศึกษา 2 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง คือ โรงเรียนวัดนากลาง โรงเรียนบ้านเขาปูน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนากลาง    

การสาธารณสุข การให้บริการด้านสาธารณสุข มีสถานบริการสาธารณสุขประเภทสถานีอนามัย จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ สถานีอนามัยบ้านนากลาง

บุคลากรทางสาธารณสุข มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขปฏิบัติงานจำนวน 3 คน   คิดเป็นอัตราส่วนการให้บริการของเจ้าหน้าที่ต่อประชากร เท่ากับ 1 ต่อ 986 ส่วนสาเหตุการตายใน 3 อันดับแรก ได้แก่ โรคชรา โรคประจำตัว และอุบัติเหตุ

- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน                    3        แห่ง

- ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน           8        แห่ง และมี อสม. ครบทุกหมู่บ้าน

- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ จำนวนร้อยละ 98 ของจำนวนครัวเรือนในตำบลนากลาง

การศาสนา ประชาชนในชุมชนนากลางส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีศาสนสถานเป็นวัด จำนวน 4 แห่ง สำนักสงฆ์ 1 แห่ง ได้แก่

                   1)   วัดนากลาง          

                   2)   วัดถ้ำผาสวรรค์

                  3)   วัดสามัคคีราษฎร์  

                 4)   วัดท่าทราย

                 5)   สำนักสงฆ์ถ้ำหินเพิง

การดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย ชุมชนตำบลนากลางยังไม่มีให้บริการ โดยขอความอนุเคราะห์จากเทศบาลตำบลบางประมุง และเทศบาลตำบลโกรกพระ ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกัน

ตลาดสด ภายในชุมชนไม่มีตลาดสดตั้งอยู่ในพื้นที่ แต่มีตลาดนัดสัญจรจำนวน 3 วัน คือ วันอาทิตย์บริเวณวัดนากลางเป็นตลาดนัดตอนเช้า วันอังคารบริเวณพื้นที่ด้านข้างที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนากลางเป็นตลาดนัดตอนเย็น และวัดพฤหัสบดีบริเวณวัดนากลางเป็นตลาดนัดกลางวัน

การกำจัดขยะ ชุมชนนากลางยังไม่มีมีพื้นที่สำหรับจัดการขยะ การบริหารจัดการขยะเป็นของชาวบ้านดำเนินการเอง โดยองค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง เป็นผู้จัดหาถังขยะให้กับชุมชน และชาวบ้านจะจัดการขยะ ด้วยการเผาเป็นหลัก

สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ และสวนสุขภาพ ภายในชุมชนนากลาง มีให้บริการจำนวน 1 แห่ง ขนาดเนื้อที่ 2,731 ตารางเมตร ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 และมีจุดให้บริการ

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

การคมนาคม

              มีถนนลาดยางภายในตำบล                           จำนวน           3       สาย

               ถนนคอนกรีตภายในตำบล                            จำนวน           3       สาย

              ถนนลูกรัง,หินคลุกภายในตำบล                      จำนวน           36      สาย

              ถนนดินภายในตำบ                                        จำนวน           24      สาย

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

  ฝาย                                                     จำนวน           2      ฝาย

บ่อน้ำตื้น/                                               จำนวน           15      แห่ง

บ่อโยก/บ่อบาดาล                                    จำนวน           16      แห่ง

เหมืองพลังงานไฟฟ้า                               จำนวน           2      แห่ง

สระน้ำ                                                     จำนวน           19      แห่ง

ข้อมูลอื่น ๆ

มวลชนจัดตั้ง

ลูกเสือชาวบ้าน                           3        รุ่น    จำนวน           280     คน

ไทยอาสาป้องกันชาติ                 1        รุ่น    จำนวน           150     คน

กลุ่มเยาวชน                               -         รุ่น   จำนวน          49     คน

                  อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน   2      รุ่น    จำนวน         74     คน

               ผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป)                                 จำนวน           290     คน          

                        - อายุ (60-69)                               จำนวน           290     คน

                        - อายุ (70-79)                               จำนวน           143     คน

                        - อายุ (80-89)                               จำนวน           73      คน

                        - อายุ (90 ปีขึ้นไป)                          จำนวน           16      คน

              ผู้พิการ                                                 จำนวน           63      คน

              ผู้ติดเชื้อ HIV                                          จำนวน           2      คน

ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล

  • จำนวนบุคลากร จำนวน 12 คน (พนักงานจ้างภารกิจ/ทั่วไป) จำนวน 10 คน

ตำแหน่งในสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล         12                  คน

ตำแหน่งในส่วนการคลัง                                            4                  คน

ตำแหน่งในส่วนโยธา                                                2                  คน

  • ระดับการศึกษาของบุคลากร

ประถมศึกษา                                                            2                  คน

มัธยมศึกษา/อาชีวศึกษา                                           3                  คน

ปริญญาตรี                                                              11                 คน

สูงกว่าปริญญาตรี                                                      6                  คน

  • รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล

ประจำปีงบประมาณ 2558                            29,463,963.83            บาท    

รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บเอง               407,405.47  บาท

รายได้ที่ส่วนราชการต่าง ๆ จัดเก็บให้                             12,492,815.66 บาท

เงินอุดหนุนจากรัฐบาล                                     4,576,962.00  บาท

เงินอุดหนุนระบุวัตถุประสงค์                              11,986,780.70 บาท

  • รายจ่ายขององค์การบริหารส่วนตำบล

ประจำปีงบประมาณ 2558                               26,955,556.06 บาท

รายจ่ายแผนงานบริหาร                                  13,450,033.21       บาท

               รายจ่ายแผนงานเพื่อการลงทุน                              1,578,742.15         บาท

               เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ                                                 11,986,780.70         บาท

ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่

  • การรวมกลุ่มของประชาชน

กลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่ทุกประเภท                                      2                  กลุ่ม

แยกประเภทกลุ่ม                                            

- กลุ่มอาชีพ                                                                           8                  กลุ่ม

- กลุ่มออมทรัพย์                                                                     8                  กลุ่ม

- กลุ่มอื่น ๆ                                                                              -                  กลุ่ม