สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของตำบล
ประวัติความเป็นมา
ทับกฤชมีประวัติของชื่อที่ยังหาข้อยุติที่แน่นอนไม่ได้บางคนว่าเมื่อสมัยสร้างทางรถไฟสายเหนือเสร็จใหม่ ๆ รถไฟมาทับคนชื่อ“กฤช”เสียชีวิต ณ บริเวณนี้จึงเรียกว่า“ทับอ้ายกฤช”ฝูงหนึ่งจำนวนมากเรียกว่านกกระทุงเหวซึ่งมีรูปร่างสูงใหญ่มีสีขาวทั้งตัว มีลายดำพาดจาก 2 ไหล่ข้างปีกไปจนถึงหว่างขามองดูเหมือนกับทหารอังกฤษเมื่ออยู่รวมกันมาก ๆ จึงเรียกว่า “บ้านทับกฤษ” ต่อมากลายเป็น “ทับกฤช” เช่นกัน ปัจจุบันตำบลทับกฤชประกอบด้วยหมู่บ้าน จำนวน 14 หมู่บ้าน
พื้นที่
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำน่านไหลผ่านและริมบึงบอระเพ็ดจึงเป็นที่ลาดเอียงมีน้ำท่วมในบางพื้นที่และลักษณะดินเป็นดินเหนี่ยวปนทราย เหมาะกับการเพาะปลูกพืช ได้แก่ข้าว,พริก,ข้าวโพด,แตงโมและด้านการประมง
เขตพื้นที่
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลพันลาน อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลเกรียงไกร อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลพนมเศษ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลทับกฤชใต้ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
อาชีพ
อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน เลี้ยงปลา
อาชีพเสริม ค้าขาย รับจ้าง
สาธารณูปโภค
- ไฟฟ้า มีใช้ 99% ของพื้นที่
- ประปา จำนวน 12 แห่ง
1. ใช้ระบบประปาหมู่บ้าน 6 หมู่ คือ หมู่ที่ 2 , 5 , 10 , 13 , 11 , 12
2. ประปาส่วนภูมิภาค 7 หมู่ คือ หมู่ที่ 1 , 4 , 6 , 7 , 8 , 9 และ 14
การเดินทาง
ถนนลาดยาง จำนวน 4 สาย
- ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 225 (เส้นทางนครสวรรค์-ชัยภูมิ) ผ่านตำบลทับกฤช หมู่ที่ 1 , 4 , 5 , 8 , 9 และ 14
- ทางหลวงชนบท หมายเลข 3475 สายพนมรอก-ทับกฤช ผ่านตำบลทับกฤช หมู่ที่ 4 , 5 , 10 , 11 และ 13
- สายหนองแม่พังงา ผ่านหมู่ที่ 2
- สายวัดคลองปลากดใน ผ่านหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 12
ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 15 สาย
ถนนลูกรัง/หินคลุก จำนวน 25 สาย