กศน.ตำบลจันเสน หมู่ 1 ต.จันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ 60000 099-2212796 name.da@hotmail.com เปิดตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น.
ครู กศน.ตำบลจันเสน

292524

นางสาวสิริรัตน์  เอี่ยมสอาด

ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล

 เบอร์โทร 099-2212796

 

แพลตฟอร์ม กศน.นครสวรรค์

จำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์
031361
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ผู้เข้าชมทั้งหมด
66
73
322
30901
266
899
31361

Your IP: 192.168.1.1
2025-04-06 14:08

เมืองโบราณและพิพิธภัณฑ์จันเสน

   

P03012818 1

      เมืองโบราณและพิพิธภัณฑจันเสน  ตั้งอยู่ในบริเวณเมืองโบราณจันเสน สมัยทวารวดี มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก ปัจจุบันมีพระธาตุเจดีย์ที่สร้างอย่างสวยงามใหญ่โตและมีพิพิธภัณฑ์จันเสนอยู่ภายใน  ที่นี่เป็นเมืองโบราณที่มีการสันนิษฐานว่าอยู่ในสมัยทวารวดี โดยเป็นเมืองโบราณที่มีคูเมืองเป็นเนินดินโดยรอบ รูปสี่เหลี่ยม มุมมนจนเกือบเป็นวงกลมและล้อมรอบคูเมืองซึ่งกว้างประมาณ ๒๐ เมตรเอาไว้ โดยคูเมืองนั้น มีความยาวประมาณ ๘๐๐ เมตร กว้าง ๗๐๐ เมตร และเนื่องจากบริเวณนี้มีลักษณะเป็นเนินสูงกว่าพื้นที่รอบนอกชาวบ้านจึงนิยมเรียกกันว่า "โคกจันเสน" ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุมากมาย ทั้งประเภทดินเผา ได้แก่ พระพิมพ์ ตุ๊กตาดินเผา ตะเกียง ประเภทที่ทำด้วยหิน ได้แก่ ฐานบัว ธรรมจักร ขวานหินขัดที่ทำด้วยโลหะตุ้มหูทำด้วยตะกั่วหรือดีบุก ใบหอกสำริดปัจจุบันโบราณวัตถุเหล่านี้ "พิพิธภัณฑ์จันเสน" ตั้งอยู่ในพระมหาธาตุเจดีย์จันเสน ภายในบริเวณวัดจันเสนนั่นเอง พระมหาธาตุเจดีย์จันเสนนั้นเกิดจากดำริของพระครูนิสัยจริยคุณ หรือ "หลวงพ่อโอด" ที่ปรารถนาสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางชุมชน โดยในการออกแบบพัฒนาจากลักษณะสถูปสมัยทวารวดี มีการใช้รายละเอียดของลวดลายทางสถาปัตยกรรมในสมัยทวารวดี และยังมีคำจารึกที่ฐานพระมหาธาตุเจดีย์ศรีจันสน ให้ผู้สนใจได้อ่านประวัติความเป็นมาด้วย พระมหาธาตุเจดีย์องค์นี้โดยประกอบด้วยส่วนที่สำคัญต่าง ๆ ได้แก่ - ส่วนยอดของมณฑปเจดีย์จะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ - องค์เรือนธาตุประดิษฐาน "หลวงพ่อนาค" พระพุทธรูปปางนาคปรกที่นำมาจากเมืองลพบุรี เพื่อให้เป็นพระพุทธรูปสำคัญของชุมชน - อาคารส่วนฐานของพระมหาเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นของท่าน และเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองจันเสนอยู่ในห้องชั้นฐาน จัดแสดงเรื่องราวของเมืองจันเสนในอดีต อย่างไรก็ตาม หลวงพ่อโอดได้มรณภาพไปเสียก่อนในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ในส่วนของงานพิพิธภัณฑ์จึงสร้างไม่เสร็จ ซึ่งภายหลังพระครูนิวิฐธรรมขันธ์หรือหลวงพ่อเจริญ เจ้าอาวาสรูปต่อมา ได้เป็นกำลังสำคัญในการสานต่องานพิพิธภัณฑ์จนเสร็จสมบูรณ์ด้วยงบประมาณของการก่อสร้างที่มาจากแรงศรัทธาของประชาชนนั่นเอง นอกจากนี้ภายในบริเวณวัด ยังมีการรวมกลุ่มของสตรีบ้านจันเสนทอผ้าด้วยกี่กระตุก และจัดตั้งเป็นศูนย์จำหน่ายงานหัตถกรรมให้กับนักท่องเที่ยวอีกด้วย โดยส่วนใหญ่เป็นผ้าฝ้าย ผ้าทอมัดหมี่จันเสน และผ้ามัดย้อม

 

 6พิพิธภัณฑ์จันเสน 5

 12

 

 

 

ครู กศน.ตำบล