No module Published on Offcanvas position
ครู กศน.ตำบลอุดมธัญญา


2

77

 

แพลตฟอร์ม กศน.นครสวรรค์

จำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์
024847
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ผู้เข้าชมทั้งหมด
18
20
306
24351
496
1113
24847

Your IP: 192.168.1.1
2024-09-15 13:01

Best Practice

                                                                                         Best Practice

 

ชื่อผลงาน   การถอดบทเรียนความสำเร็จ โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน การส่งเสริมการก้าวสู่อาชีพ

               หลักสูตรการทำไม้กวาดดอกหญ้า

 

ที่มาและความสำคัญของผลงาน

ความสอดคล้องกับยุทธศาสร์และจุดเน้นการดำเนินงาน กศน.ปี2566

4.การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

4.1 พัฒนาหลักสูตรอาชีพที่เน้น New skill Up – skill ที่สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพบริบทพื้นที่ และความสนใจ พร้อมทั้งสร้างช่องทางทางอาชีพในรูปแบบที่ความหลากหลายของกลุ่มเป้าหมาย เช่นผู้พิการ ผู้สูงอายุ ความต้องการของตลาดแรงงานและกลุ่มอาชีพใหม่ที่รองรับ Disruptive Technology เพื่อการเข้าสู่การรับรองสมรรถนะและได้รับคุณวุฒิแห่งชาติ รวมทั้งสามารถนำผลการเรียนรู้และประสบการณ์เทียบโอนเข้าสู่ระบบการสะสมหน่วยการเรียน (Credit Bank) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น

สอดคล้องมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

          มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่อง 1.1 ผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่องมีความรู้ความสามารถ และหรือทักษะ และหรือคุณธรรมเป็นไปตามเกณฑ์การจบหลักสูตร 1.2 ผู้จบหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้หรือประยุกต์ใช้บนฐานค่านิยมร่วมของสังคม 1.3 ผู้จบหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องที่นำความรู้ไปใช้จนเห็นประจักษ์หรือตัวอย่างที่ดี

          มาตรฐานที่ 2 คุณภาพการจัดการเรียนรู้การศึกษาต่อเนื่อง 2.1 หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องมีคุณภาพ      2.2 วิทยากรการศึกษาต่อเนื่องมีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ตรงตามหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง       2.3 สิ่งที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 2.4 การวัดและประเมินผลผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 การจัดกระบวนการเรียนรู้การศึกษาต่อเนื่องที่มีคุณภาพ

          เพื่อตอบสนองนโยบายดังกล่าว กศน.ตำบลอุดมธัญญา ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอตากฟ้า ได้จัดโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน หลักสูตร การทำไม้กวาด ขึ้นโดยเน้นความรู้และทักษะอาชีพในเชิงเศรษฐกิจ ที่สอดคล้องกับสภาพของแต่ละพื้นที่ ให้ผู้เรียนมีทักษะความชำนาญเฉพาะเรื่อง สามารถเพิ่มผลผลิต และลดต้นทุนการผลิต มีความรู้และทักษะในการบริหารจัดการ อย่างครบวงจร

วิธีการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ Best Practice

          1.จัดทำเวทีประชาคมพื่อสำรวจความต้องการด้านอาชีพของประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย

          2. จัดทำแผนปฏิบัติการ

          3. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

          4. ประสานวิทยากรและกลุ่มเป้าหมาย

          5. ดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการ

         6. นิเทศติดตามรายงานผล สรุปผลการดำเนินงาน

การประเมินและเครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินโครงการ
  2. แบบนิเทศการจัดกิจกรรม
  3. เอกสารสรุปรายงานผลการดำเนินงาน

 

ผลสำเร็จ

          พบว่าผู้เรียนมีความสนใจ ผู้สอนมีการวางแผนกระบวนการเรียนรู้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน เพราะวิทยากรผู้สอนมีความเป็นผู้นำ มีความรู้ ความสามารถถ่ายทอดแก่ผู้เรียนเป็นอย่างดี รวมถึงในกลุ่มผู้เรียนมีผู้นำชุมชนมีความพร้อมที่จะจัดการบริหารกลุ่มที่เข้มแข็งเกิดความพร้อมที่จะจัดการพัฒนาฝีมือ และใช้กระบวนการวางแผนแบบ PDCA มาบริหารจัดการกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำความู้ที่ได้ไปเป็นอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้อีกด้วย โดยเชื่อมโยงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข เชื่อมโยงไปสู่ 4 มิติ ดังนี้

3 ห่วง

1.ด้านพอประมาณ กลุ่มผู้เรียนและวิทยากรได้นำความพอประมาณมาใช้เกี่ยกับการเลือกซื้อวัสดุให้คุ้มค่าในการทำชินงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดการใช้วัสดุอุปกรณ์ในการทำโครงการให้มีความพอประมาณไม่ใช้อย่างฟุ่มเฟือยจนเกินไป

2.หลักความมีเหตุผล มีการนำความรู้ที่ได้รับมาปรับให้เหมาะสมใช้เหตุผลสร้างความเข้าใจร่วมกัน

3.ด้านภูมิคุ้มกัน เช่น มีการวางแผนการลงทุน การซื้อวัสดุอุปกรณ์ มีการตรวจสอบความคงทนและการใช้งานของผลิตภัณฑ์

2 เงื่อนไข

          1.เงื่อนไขความรู้ ผู้เรียนต้องมีความรู้เกี่ยวกับการทำไม้กวาดอย่างถูกต้อง แจ่มแจ้ง เพื่อมิให้เกิดข้อผิดพลาดและนำความรู้มาเพิ่มพูนต่อยอดให้ดีขี้นไป อาจมีการรวมกลุ่มเพื่อไปศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ หรือความชำนาญเพื่อคุณภาพที่ดีของผลิตภัณฑ์

          2.เงื่อนไขคุณธรรม ผู้เรียนมีความมุ่งมั่นมานะ อดทนในการฝึกทักษะการทำผลิตภัณฑ์ มีคุณธรรมในการจำหน่ายสินค้า

เชื่อมโยงสู่ 4 มิติ

          1.มิติด้านเศรษฐกิจ รู้จักชนิดและสามารถเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาทำไม้กวาดดอกหญ้าได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่า

          2.มิติด้านสังคม กลุ่มผู้เรียนได้นำวิธีการทำไม้กวาดดอกหญ้าไปเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจ ทั้งในการการขาย การสอนแบบต่อๆกัน ในครอบครัว และมีหน่วยงานนอกเหนือจาก ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ให้การสนับสนุนต่อยอด เช่น ธนาคารออมสิน พัฒนาชุมชน กองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น

         3.มิติด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มผู้เรียนได้นำวิธีการทำไม้กวาดดอกหญ้าไปปรับปรุงให้มีความคงทนแน่นหนาและเลือกใช้วัสดุที่มีอยู่ในชุมชน

          4.มิติด้านวัฒนธรรม กลุ่มมีการร่วมกันจัดทำผลิตภัณฑ์ไม้กวาดดอกหญ้าอีกจำนวนหนึ่งเพื่อนำไปถวายแก่วัดในชุมชนและวัดใกล้เคียง ก่อให้เกิดประโยชน์และเป็นการส่งเสริมจารีต ประเพณี วัฒนธรรม ก่อให้เกิดการใกล้ชิดระหว่างผู้เรียนและวัดเกิดสังคมที่หน้าอยู่

           

ข้อเสนอแนะ/แนวทางการพัฒนา

          ควรพัฒนาผู้เรียนในเรื่องช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์ โดยการเรียนรู้จาก กศน.ตำบล ศูนย์ดิจิทัลชุมชน เพื่อเพิ่มช่องทางในการจัดจำหน่าย

 

ครูตำบล