สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
ของ กศน. ตำบลบางพระหลวง
- สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไป เกี่ยวกับ ที่ตั้ง อาณาเขต เขตการปกครอง ประชาชน สภาพทางเศรษฐกิจ การศึกษา สถาบันองค์กรทางศาสนา สาธารณสุข ด้านสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การโทรคมนาคม การไฟฟ้า แหล่งน้ำตามธรรมชาติ แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ทรัพยากรธรรมชาติและมวลชนจัดตั้ง
๑.๑ ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระหลวง อยู่ห่างจาก อำเภอเมืองนครสวรรค์ ระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร
๑.๒ อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลบางเคียน อำเภอชุมแสง
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลเกรียงไกร อำเภอเมืองนครสวรรค์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลโคกหม้อ อำเภอชุมแสง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบางมะเกลือ อำเภอเมืองนครสวรรค์
มีเนื้อที่ประมาณ ๑๒,๙๕๖ ไร่ หรือ ๒๐.๗๒ ตารางกิโลเมตร
ภูมิประเทศ เป็นที่ราบน้ำท่วมถึงเป็นแอ่ง และเป็นที่ราบสูงๆต่ำไม่เสมอกัน
๑.๓ เขตการปกครอง
จำนวนหมู่บ้าน ๖ หมู่
จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. เต็มทั้งหมู่บ้าน ได้แก่หมู่ที่ ๑,๒,๓,๔,๕,๖
ท้องถิ่นอื่นในตำบล จำนวนเทศบาล – แห่ง
๑.๔ ประชากร
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนครัวเรือน(ครัวเรือน) |
จำนวนประชากร |
||
ชาย(คน) |
หญิง(คน) |
รวม(คน) |
|||
๑ |
บ้านท่าศาลา |
๘๔ |
๗๕ |
๙๑ |
๑๖๖ |
๒ |
บ้านท่าดินแดง |
๘๒ |
๑๒๘ |
๑๓๒ |
๒๖๐ |
๓ |
บ้านหัวถนน |
๑๔๙ |
๒๕๕ |
๒๒๗ |
๔๘๒ |
๔ |
บ้านน้ำกลัด |
๑๔๕ |
๒๑๗ |
๒๔๐ |
๔๕๗ |
๕ |
บ้านท่าล้อ |
๑๗๙ |
๓๐๓ |
๓๑๓ |
๖๑๖ |
๖ |
บ้านเสือฆะเม็ง |
๘๔ |
๑๓๖ |
๑๔๖ |
๒๘๒ |
รวม |
๗๒๓ |
๑,๑๑๔ |
๑,๑๔๙ |
๒,๒๖๓ |
ที่มางานทะเบียนราษฎร อำเภอเมืองนครสวรรค์ วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒
จำนวนครัวเรือน ๗๒๓ ครัวเรือน ประชาชนแยกเป็น ชาย ๑,๑๑๔ คน หญิง ๑,๑๔๙ คน รวมทั้งสิ้น ๒,๒๖๓ คน ความหนาแน่นเฉลี่ย ๑๐๙.๒ / ตารางกิโลเมตร โดยราษฎรส่วนใหญ่มีบ้านเรือนคงถาวร เรือนแพในคลองบางพระหลวงบางส่วน
- ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล
๒.๑ ด้านการเมืองการบริหาร
๒.๑.๑ โครงสร้างและอัตรากำลังขององค์การบริหารส่วนตำบลบางพระหลวง
อัตรากำลังขององค์การบริหารส่วนตำบลบางพระหลวง |
จำนวนบุคลากร |
ฝ่ายนิติบัญญัติ |
๑๒ |
ฝ่ายบริหาร |
๔ |
ข้าราชการ(พนังงานส่วนตำบล) |
๖ |
ลูกจ้างประจำ |
- |
พนังงานจ้างตามภารกิจ |
๔ |
พนังงานทั่วไป |
๑ |
รวมทั้งสิ้น |
๒๗ |
บุคลากรในสำนักปลัดฯ ๕ คน
ตำแหน่งในส่วนหารคลัง ๔ คน
ตำแหน่งในส่วนโยธา ๒ คน
๒.๒ งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลบางพระหลวง
การบริหารรายจ่ายในปีงบประมาณที่ผ่านมา เปรียบเทียบย้อนหลัง ๓ ปี
๒.๒.๑ รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางพระหลวง
รายได้ |
ปีงบประมาณ |
||
๒๕๖๔ |
๒๕๖๕ |
๒๕๖๖ |
|
๑. อบต.จัดเก็บของ |
๒๒๓,๑๓๒.๘๗ |
๒๒๙,๒๗๐.๓๐ |
๒๙๕,๒๕๑.๐๐ |
๒. ส่วนราชการต่างๆจัดเก็บให้ |
๕,๘๒๖,๐๗๔.๑๘ |
๕,๓๖๐,๗๓๕.๐๐ |
๓,๗๖๙,๐๐๐.๐๐ |
๓.เงินอุดหนุนจากรัฐบาล |
๒,๙๕๖,๔๓๑.๐๐ |
๗,๘๔๔,๗๗๕.๕๐ |
๔,๙๑๘,๙๓๖.๐๐ |
รวม |
๙,๐๐๕,๕๔๘.๐๕ |
๑๓,๔๓๔,๗๘๐.๘๐ |
๘,๙๘๓,๑๘๗.๐๐ |
๒.๒.๒ รายจ่ายประจำองค์การบริการส่วนตำบลบางพระหลวง
หมวดรายจ่าย |
ปีงบประมาณ |
||
๒๕๖๔ |
๒๕๖๕ |
๒๕๖๖ |
|
แผนงานบริหาร งบกลาง – สำรองจ่าย เงินเดือนและค่าจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ ค่าสาธารณูปโภค เงินอุดหนุน |
๒๙๙,๗๐๑.๘๔ ๑,๔๒๓,๘๓๐.๐๐ ๕๘,๕๖๐.๐๐ ๒,๙๑๓,๓๙๗.๐๕ ๑๑๐,๙๐๒.๒๘ ๑๘๖,๖๗๐.๐๐ |
๕๙,๒๓๔.๐๐ ๑,๑๔๒,๓๒๐.๐๐ ๕๘,๕๖๐ ๑,๙๑๑,๓๑๖.๗๕ ๒๐๑,๗๐๐.๐๐ ๗๐๔,๑๗๐.๐๐ |
๒๕๙,๖๖๗.๐๐ ๑,๑๙๒,๕๐๐.๐๐ ๘๘๘,๐๐๐ ๒,๔๘๔,๔๘๕.๐๐ ๑๙๑,๑๖๐.๐๐ ๙๙,๖๐๐.๐๐ |
รวมรายจ่ายแผนงานบริหาร |
๔,๙๙๓,๐๖๑.๑๗ |
๔,๐๗๗,๓๐๐.๗๕ |
๕,๑๑๕,๔๑๒.๐๐ |
แผนงานพัฒนา ค่าครุภัณฑ์ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง |
๗๔๕,๙๔๐.๐๐ |
๑,๓๘๕,๖๕๕.๐๐ |
๖๗๗,๕๐๐.๐๐ |
รวมรายจ่ายแผนงานพัฒนา |
๗๔๕,๙๔๐.๐๐ |
๑,๓๘๕,๖๕๕.๐๐ |
๖๗๗,๕๐๐.๐๐ |
รวมรายจ่ายทั้งสิ้น |
๑๐,๗๓๒,๐๖๒.๓๔ |
๕,๔๖๒,๙๕๕.๗๕ |
๕,๗๙๒,๙๑๒.๐๐ |
๒.๓ เครื่องมือและครุภัณฑ์ต่างๆ
๑. รถยนต์ส่วนกลาง ๑ คัน
๒. เครื่องถ่ายเอกสาร ๒ เครื่อง
๓. คอมพิวเตอร์ ๙ เครื่อง
๔. เครื่องพิมพ์ ๖ เครื่อง
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของตำบลบางพระหลวง
- สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลทั่วไป เกี่ยวกับ ที่ตั้ง อาณาเขต เขตการปกครอง ประชาชน สภาพทางเศรษฐกิจ การศึกษา สถาบันองค์กรทางศาสนา สาธารณสุข ด้านสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การโทรคมนาคม การไฟฟ้า แหล่งน้ำตามธรรมชาติ แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ทรัพยากรธรรมชาติและมวลชนจัดตั้ง
๑.๑ ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระหลวง อยู่ห่างจาก อำเภอเมืองนครสวรรค์ ระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร
๑.๒ อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลบางเคียน อำเภอชุมแสง
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลเกรียงไกร อำเภอเมืองนครสวรรค์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลโคกหม้อ อำเภอชุมแสง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบางมะเกลือ อำเภอเมืองนครสวรรค์
มีเนื้อที่ประมาณ ๑๒,๙๕๖ ไร่ หรือ ๒๐.๗๒ ตารางกิโลเมตร
ภูมิประเทศ เป็นที่ราบน้ำท่วมถึงเป็นแอ่ง และเป็นที่ราบสูงๆต่ำไม่เสมอกัน
๑.๓ เขตการปกครอง
จำนวนหมู่บ้าน ๖ หมู่
จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. เต็มทั้งหมู่บ้าน ได้แก่หมู่ที่ ๑,๒,๓,๔,๕,๖
ท้องถิ่นอื่นในตำบล จำนวนเทศบาล – แห่ง
๑.๔ ประชากร
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนครัวเรือน(ครัวเรือน) |
จำนวนประชากร |
||
ชาย(คน) |
หญิง(คน) |
รวม(คน) |
|||
๑ |
บ้านท่าศาลา |
๘๔ |
๗๕ |
๙๑ |
๑๖๖ |
๒ |
บ้านท่าดินแดง |
๘๒ |
๑๒๘ |
๑๓๒ |
๒๖๐ |
๓ |
บ้านหัวถนน |
๑๔๙ |
๒๕๕ |
๒๒๗ |
๔๘๒ |
๔ |
บ้านน้ำกลัด |
๑๔๕ |
๒๑๗ |
๒๔๐ |
๔๕๗ |
๕ |
บ้านท่าล้อ |
๑๗๙ |
๓๐๓ |
๓๑๓ |
๖๑๖ |
๖ |
บ้านเสือคะเม้ง |
๘๔ |
๑๓๖ |
๑๔๖ |
๒๘๒ |
รวม |
๗๒๓ |
๑,๑๑๔ |
๑,๑๔๙ |
๒,๒๖๓ |
จำนวนครัวเรือน ๗๒๓ ครัวเรือน ประชาชนแยกเป็น ชาย ๑,๑๑๔ คน หญิง ๑,๑๔๙ คน รวมทั้งสิ้น ๒,๒๖๓ คน ความหนาแน่นเฉลี่ย ๑๐๙.๒ / ตารางกิโลเมตร โดยราษฎรส่วนใหญ่มีบ้านเรือนคงถาวร เรือนแพในคลองบางพระหลวงบางส่วน
๑.๕ สภาพทางเศรษฐกิจ
๑.๕.๑ การเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในการเกษตรกรรม ได้แก่ การทำประมง ทำไร่ – ทำนา รับจ้าง อาชีพค้าขายเป็นส่วนน้อย
- อาชีพประมง ๓๖ ‰
- อาชีพทำนา ปลูกผัก และทำไร่ ๕๒ ‰
- อาชีพรับจ้าง ๗ ‰
- อาชีพค้าขาย ๕ ‰
ข้อมูลการปลุกพืชเศรษฐกิจในตำบลบางพระหลวง
ชนิดของพืช |
พื้นที่ปลูก(ไร่) |
คิดเป็นร้อยละ |
๑. ข้าวนาปี ๒. เลี้ยงปลา ๓. ไร่พริก ๔. สวน |
๔,๑๙๐ ๓,๕๓๕ ๒๘๐ ๑๕๐ |
๒๕.๙๔ ๒๑.๘๘ ๑.๗๓ ๐.๙๓ |
รวม |
๘,๑๕๕ |
๕๐.๔๘ |
๑.๕.๒ ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินของตำบลบางพระหลวง
ที่ |
ประเภทพื้นที่ |
จำนวนพื้นที่(พื้นที่) |
คิดเป็นร้อยละ |
๑. ๒. ๓. |
พื้นที่เกษตรกรรม - ที่นา - ทำไร่พริก - เลี้ยงปลา - พื้นที่ชุมชน - อื่นๆ(ภูเขา,ลำห้วย,หนองน้ำ) |
๔,๑๙๐ ๒๘๐ ๓,๕๓๕ ๕,๙๖๑ ๒,๑๘๙ |
๒๕.๙๔ ๑.๗๓ ๒๑.๘๘ ๓๖.๙๐ ๑๓.๑๑ |
รวม |
๑๖,๑๕๕ |
๑๐๐ |
๑.๖ การศึกษา
๑. โรงเรียนวัดหัวถนน หมู่ ๓ (ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา) ครู ๑๕ คน นักเรียนทั้งหมด ๒๔๗ คน ชาย ๑๒๔ คน หญิง ๑๒๓ คน
๒. โรงเรียนวัดท่าล้อ หมู่ ๕ (ระดับประถมศึกษา) ครู ๕ คน นักเรียนทั้งหมด ๖๘ คน
- ที่อ่านหนังสือบ้านอัจฉริยะ จำนวน ๓ แห่ง ๑.๗ สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด / สำนักสงฆ์ ๓ แห่ง
๑.๘ สาธารณสุข
-สถานีอนามัยประจำตำบล / หมู่บ้าน ๑ แห่ง (สถานีอนามัยบ้านน้ำกลัด)
๑.๙ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ตู้ยามประจำตำบลบางพระหลวง จำนวน ๓ แห่ง
- ตำรวจอาสาสมัครตำบลบางพระหลวง จำนวน ๓๐ คน
- อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อพปร.) ตำบลบางพระหลวง จำนวน ๓๐ คน
๑.๑๐ เส้นทางคมนาคม
มีถนนเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านและสัญจรไป – มา สะดวก โดยมีถนนลาดยาง รพช. ๒ สาย
๑. สายบึงน้ำใส – บ้านหัวถนน ๑๒ กิโลเมตร
๒. สายทับกฤษ – บ้านหัวถนน ๑๐ กิโลเมตร
รวมระยะทางทั้งสิ้น ๒๒ กิโลเมตร
๑.๑๑ การโทรคมนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข - แห่ง
๑.๑๒ การไฟฟ้า
- มีไฟฟ้าใช้ครบทุกหมู่บ้าน แต่ในหมู่บ้านบางครัวเรือนไม่มีไฟฟ้าใช้
- มีไฟฟ้าสาธารณะทุกหมู่บ้าน แต่บางหมู่บ้านไม่มีไฟฟ้าสาธารณะ
๑.๑๓ ทรัพยากรธรรมชาติ
- ลำคลอง ลำห้วย ๑ สาย
- บึง หนอง และอื่นๆ ๑๒ แห่ง
๑. หนองบำรุง ม.๑ ออก น.ส.ล แล้ว (๑๕๓ ไร่ ๒ งาน ๕๗ วา)
๒. หนองสลอด ม.๑ ออก น.ส.ล แล้ว (๓๓ ไร่ ๑ งาน ๗๖ วา)
๓. หนองพระน้อย ม.๒ ออก น.ส.ล แล้ว (๑๒๔ ไร่ ๑ งาน ๕๔ วา)
๔. หนองบางพระหลวง ม.๒ ออก น.ส.ล แล้ว (๕๒๙ ไร่ ๙๑ วา)
๕. หนองต้น ม.๒ ออก น.ส.ล แล้ว (๙๒ ไร่ ๓ งาน ๓๐ วา)
๖. หนองขี้ทูต ม.๒ ออก น.ส.ล แล้ว (๕๐๑ ไร่ ๑ งาน ๓๑ วา)
๗. หนองบึงคลอบ ม.๒ ออก น.ส.ล แล้ว (๓๖๙ ไร่ ๑ งาน ๓๒ วา)
๘. หนองเชิงไกรน้อย ม.๔ ออก น.ส.ล แล้ว (๑๐๕ ไร่ ๒๘ งาน)
๙. หนองสาลี่ ม.๕ ออก น.ส.ล แล้ว (๕๕ ไร่ ๓ งาน ๑๓ วา)
๑๐. หนองตะขาบ ม.๒ ออก น.ส.ล แล้ว (๗๕ ไร่ ๑ งาน ๘๐ วา)
๑๑. หนองมาบขานาง ม.๖ ออก น.ส.ล. แล้ว (๒๙ ไร่ ๓ งาน ๑๓ วา)
๑๒. หนองวัดคาง ม.๕ ออก น.ส.ล แล้ว (๔๘ ไร่ ๓ งาน ๗๕ วา)
๑.๑๔ แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝาย - แห่ง
- บ่อน้ำตื้น - แห่ง
- บ่อโยก - แห่ง
- ถังปูนฉาบ - ใบ
- ถังน้ำ ค.ส.ล - แห่ง
- ถังไฟเบอร์ - ใบ
- สระน้ำ - แห่ง
- อ่างเก็บน้ำ - แห่ง
- น้ำประปา ๒ แห่ง
๑.๑๕ ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสัมพันธ์อย่างยิ่ง คือ หนองบางพระหลวงขนาดใหญ่เหมาะสำหรับการฟื้นฟูเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งตั้งอยู่ใน หมู่ที่ ๑ และอีกหนองหนึ่ง คือ หนองบึงครอบ ตั้งอยู่ในหมู่ที่ ๓ ซึ่งเหมาะแก่การฟื้นฟูเช่นเดียวกับหนองบางพระหลวง
๑.๑๖ ด้านสังคม
๑.๑๖.๑ การนับถือศาสนา ประชาชนในเขตองค์การบริการส่วนตำบลบางพระหลวง มีการนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ ๙๘ ศาสนาอื่น ร้อยละ ๒
๑.๑๖.๒ วัฒนธรรมท้องถิ่น
- ประเพณีแข่งเรือ จัดขึ้นช่วงเดือน ตุลาคม (ออกพรรษา)
กิจกรรมมีกลางวันมีการแข่งเรือยาวกลางคืนมีกิจกรรมแห่ข้าวต้ม (โดยใช้เรือยาว)
- ประเพณีสงการณ์ จัดขึ้นเดือน เมษายน จัดงานสงกานต์และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ สรงน้ำพระ
๑.๑๗ มวลชนจัดตั้ง / กลุ่มองค์กร
- กลุ่มจักรสาน ๑ กลุ่ม
- กลุ่มพัฒนาสตรี ๑ กลุ่ม
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ๑ กลุ่ม
- กลุ่มผู้เลี้ยงปลา หมูที่ ๒ บ้านท่าดินแดง ๑ กลุ่ม
- กลุ่มแก้ปัญหาความยากจน หมู่ที่ ๓ บ้านหัวถนน ๑ กลุ่ม
- นโยบายด้านวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
ได้แก่ กิจกรรมเพื่อวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาเครือข่ายการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ โดยพัฒนากิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ให้เชื่อมโยงกับกระบวนการเรียนรู้ละพัฒนาความรู้ของตน / ชุมชนให้เป็นประโยชน์ให้สามารถใช้ความรู้วิทยาศาสตร์ไปใช้เพื่อพัฒนาอาชีพ การพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเอง ครอบครัวและชุมชน
๖. นโยบายด้านพัฒนาคุณภาพการศึกษาบอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ได้แก่ การพัฒนาวิชาการมุ้งเน้นการพัฒนาหลักสูตร สื่อ รูปแบบการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นพื้นฐานของการพัฒนาและจุดมุ่งหมายให้งานวิชาการเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติที่มีคุณภาพ และการพัฒนาบุคลากรส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับได้พัฒนาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน โดยมุ่งพัฒนาให้เป็น กศน. มืออาชีพ การนิเทศจัดการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มุ่งเน้นให้สถานศึกษา กศน. ทุกแห่ง จัดระบบการประกันคุณภาพให้สอดคล้องกับสถานศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและให้ความสำคัญกับสถานศึกษาที่จะได้รับประเมินภายนอก ทั้งนี้เพื่อส่งผลให้เกิดพัฒนาคุณภาพการศึกษา
๗. นโยบายด้านการส่งเสริมสนับสนุนภาคีเครือข่าย ได้แก่ การประสานงานกับคณะกรรมการและการสร้างเสริมบทบาทภาคีเครือข่าย มุ่งเน้นให้สถานศึกษาและหน่วยงานต่างๆประสานกับการทำงานร่วมกับคณะกรรมการที่เกี่ยวกับตามบทบาทหน้าที่เพื่อสร้างความเข้าใจด้านการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและส่งเสริมสร้างโอกาสและบทบาทในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๘. นโยบายด้านการบริหาร ได้แก่ การบริหารการศึกษา การบริหารงานภาครัฐ การเตรียมความพร้อมบุคลากรตามระเบียบข้าราชการพลเรือน ระบบฐานข้อมูล และการกำกับติดตามโครงสร้างพื้นฐานมุ่งเน้นการบริหารตามหลักธรรมมาภิบาลในสถานศึกษาทำให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบรากฐานข้อมูลเพื่อการบริการจัดการโดยเฉพาะข้อมูลนักศึกษาและผู้เขียนในหลักสูตรต่างๆข้อมูลนักศึกษา ข้อมูลฐานการเรียนชุมชนตลอดจนการส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงระบบข้อมูล ข่าวสาร เพื่อการบริหารข้อมูลสารสนเทศและหน่วยงานในสังกัดทุกระดับ
๙. นโยบายด้านสนับสนุนโครงการพิเศษ ได้แก่ การจัดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การส่งเสริมการเรียนรู้กลุ่มเป้าหมายพิเศษ เน้นการกิจกรรม กศน. เพื่อพัฒนาความสามารถการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง
๑๐. นโยบายด้านการขับเคลื่อน การดำเนินงานตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้แก่ การออกกฎระบบ เร่งรัดการบริหารจัดการบุคลากรให้เข้าสู่ตำแหน่ง เร่งพัฒนาโครงสร้างองค์กรและเร่งพัฒนาภาพลักษณ์ขององค์กรเพื่อให้การปฏิบัติงานตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการศึกษานอกกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเกิดการยอมรับอย่างกว้างขวา
กลยุทธ์และเน้นปีงบประมาณ
ของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลบางพระหลวง
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาคนให้รอบรู้คู่คุณธรรม มีภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทัน มีความสุข พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงก้าวสู้สังคมแห่งการเรียนรู้และภูมิปัญญา
- เพื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้เกิดกับบุคคล และชุมชนบนพื้นฐานความแตกต่างของวิถีชีวิต
- เพื่อสร้างพื้นฐานที่การเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในชุมชนอย่างทั่วถึง นำไปสู้ชุมชนแห่งการเรียนรู้และขับเคลื่อนการศึกษาตลอดชีวิตให้เข้าถึงประชาชนอย่างทั่วถึง
เป้าหมาย
- ร้อยละ ๘๐ ของประชาชนวัยแรงงาน (อายุ ๑๕ – ๔๙) เข้ารับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป และเข้าร่วมกิจกรรมศึกษาต่อเนื่อง
- ร้อยละ ๗๐ ของประชาชน วัยแรงงาน (อายุ ๑๕ – ๕๙) เข้าร่วมกิจกรรมตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- ร้อยละ ๘๐ ของประชาชนวัยแรงงานเข้าร่วมกิจกรรมเป็นบุคคลใฝ่รู้ใฝ่เรียน กลยุทธ์ การจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลบางพระหลวง
ประเด็นที่ ๑ การพัฒนาคนให้เป็นบุคคลใฝ่รู้ใฝ่เรียน
เป้าหมาย
ประชาชนวัยแรงงานมีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปและได้รับการศึกษาเฉลี่ยสูงขึ้นเป็น ๙.๐ ปี
ประเด็นที่ ๒ การจัดการศึกษาแก้ปัญหาความยากจน
เป้าหมาย
ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถจัดการความรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อลดรายจ่าย เพิ่ม รายได้ในชีวิตประจำวัน
ประเด็นที่ ๓ การสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชน
เป้าหมาย
ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชน
กลยุทธ์ที่ ๑ การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายและทั่วถึง
โดยดำเนินงานสัมพันธ์ กิจกรรมงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีการประสานความร่วมมือในกิจกรรม จากเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างทั่วถึง
กลยุทธ์ที่ ๒ การปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน
โดยวิธีการสำรวจและศึกษาข้อมูลชุมชน นำสภาพปัญหาและข้อมูลตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมาจัดทำแผนการพัฒนาและออกแบบการจัดกิจกรรมที่หลากหลายจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง ในการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาหลักสูตรสื่อ และกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการและวิถีชีวิตที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง ประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนความรู้ ประสบการณ์ และการประเมินเทียบระดับการศึกษาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมให้มีวิจัยและพัฒนากระบวนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
กลยุทธ์ที่ ๓ การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาให้เป็นฐาน ความรู้ของชุมชน
โดยการประสานความร่วมมือจากหน่วยงานเครือข่าย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่นในการสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างโอกาสการเรียนรู้ของประชาชนและพัฒนาภูมิปัญญาให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน
กลยุทธ์ที่ ๔ การผนึกภาคีเครือข่ายจัดการศึกษา
โดยการสร้างความตระหนักและความเข้าใจความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในรูปแบบต่างๆกำหนดให้มีการทำข้อตกลงความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ส่งเสริมให้มีการระดมการใช้ทรัพยากรร่วมกันกับภาคีเครือข่ายถอดบทเรียนการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อการปรับปรุง พัฒนา และขยายการทำงาน การวิจัยและพัฒนากระบวนการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์ที่ ๕ การจัดระบบบริหารที่มีประสิทธิภาพ
การพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้แก่ การพัฒนาวิชาหลักสูตร สื่อ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (R&D) อย่างต่อเนื่องเป็นพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากรทุกระดับ การนิเทศติดตาม การประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การวางโครงสร้างการบริหารงานสถานศึกษา การมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรมีความรู้ ความสามารถในการบริหาร และการจัดการความรู้เสริมสร้างวัฒนธรรมการทำงานให้มีความรู้ ความสามรถในการบริหาร และการจัดการความรู้ เสริมสร้างวัฒนธรรมการทำงานโยใช้หลักธรรมภิบาล ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ตาม
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาระบบการทำงานเป็นทีม ตลอดจนการเสริมสร้างขวัญกำลังใจของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์
- พัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล
- ขยายและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้เพื่อการศึกษาตลอดชีวิต
- พัฒนาประสิทธิภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้
- พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
- เสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรและภาคีเครือข่าย