ข้อมูลทั่วไป ตำบลทำนบ

พิมพ์
ข้อมูลพื้นฐาน
จำนวนการเข้าชม: 709

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของตำบล

ความเป็นมา

                    กศน. ตำบลทำนบ  สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ              ท่าตะโก สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครสวรรค์  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านทำนบ ตำบลทำนบ อำเภอท่าตะโก  จังหวัดนครสวรรค์ ลักษณะเป็นอาคารยกสูง ซึ่งเป็นอาคารอนามัยหลังเก่า ระยะห่างจากตัวอำเภอท่าตะโก ประมาณ 10 กิโลเมตร

ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือตำบล ตำบลทำนบเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอท่าตะโก  จังหวัดนครสวรรค์  มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆ ดังนี้

          ทิศเหนือ               ติดต่อกับ  ตำบลดอนคา  อำเภอท่าตะโก  ตำบลโคกเดื่อ อำเภอไพศาลี   จังหวัดนครสวรรค์      

          ทิศใต้                   ติดต่อกับ  ตำบลหนองหลวง  อำเภอท่าตะโก  จังหวัดนครสวรรค์

          ทิศตะวันออก        ติดต่อกับ   ตำบลสำโรงชัย   อำเภอไพศาลี   จังหวัดนครสวรรค์ 

          ทิศตะวันตก          ติดต่อกับ   ตำบลหัวถนน  ตำบลท่าตะโก  อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์

จำนวนหมู่บ้านตำบลทำนบแบ่งการปกครองออกเป็น  6  หมู่บ้าน  ดังนี้

หมู่ที่  1  บ้านวังตะแบก

หมู่ที่  2  บ้านเขาโคกเผ่น

หมู่ที่  3  บ้านทำนบ

หมู่ที่  4  บ้านทำนบ

หมู่ที่  5  บ้านหนองกระโดน

หมู่ที่  6  บ้านทำนบพัฒนา

ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลเป็นที่ราบลุ่มมีภูเขาโคกเผ่นอยู่ทางด้านทิศตะวันตกมีคลองธรรมชาติ และคลองขุดหลายสายผ่านบริเวณตอนเหนือและส่วนกลางของตำบลทำให้มีทั้งน้ำท่วมและฝนแล้งในปีเดียวกัน

ลักษณะภูมิประเทศ

มี 3 ฤดูได้แก่ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

ลักษณะของดิน

ลักษณะดินของตำบลทำนบ เป็นลานตะพักลำน้ำกลางเก่ากลางใหม่ (Semi Fecent Terrace) ดินบริเวณที่มีอายุมากกว่าอยู่สูงกว่าและไกลจากแม่น้ำมากกว่าบริเวณที่ราบน้ำท่วมถึงน้ำจากแม่น้ำท่วมไม่ถึงดินบริเวณนี้จึงมีวัตถุต้นกำเนิดมาจากตะกอนที่มีเนื้อละเอียดหรือปานกลาง พื้นที่บริเวณนี้ใช้ประโยชน์ในการทำนาในที่ลุ่มและปลูกพืชไร่บนที่ดอน

ลักษณะของแหล่งน้ำ

แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ตำบลทำนบมีแหล่งน้ำธรรมชาติและคลองขุดโดยมีจำนวน 4 สาย ที่ เปรียบเสมือนหัวใจของราษฎรตำบลทำนบ คือ ห้วยมะขวิด ผ่านหมู่ที่ 4 , คลองเตาขนมจีน ผ่านหมู่ที่ 3 หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 2 , คลองวังตะแบกผ่านหมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 1 , คลองหนองกระโดน ผ่านหมู่ที่ 5,4 และหมู่ที่ 3 และสระเก็บน้ำขนาด 70 ไร่ คลองที่แยกออกจากคลองสายหลักส่วนใหญ่จะตื้นเขิน เวลาน้ำหลากน้ำจะเอ่อล้นคลอง และเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรของราษฎร ได้รับความเสียหาย คลองขุดที่มียังขุดไม่ตลอดสาย เนื่องจากไม่มีงบประมาณ ในช่วงฤดูแล้งน้ำจะแห้งเนื่องจากไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำ