แหล่งเรียนรู้ : เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ประจำตำบลสระทะเล

พิมพ์
สถานที่ท่องเที่ยว
จำนวนการเข้าชม: 4338

แหล่งเรียนรู้ : เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล

หมู่ที่ 4 บ้านวังตะแบก ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

เศรฐกิจ

ประวัติความเป็นมาของแหล่งเรียนรู้

                 ตามที่ สำนักงาน กศน.ร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) จะดำเนินการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล เพื่อขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ประชาชน โดยสร้างความร่วมมือจัดตั้งหมู่บ้านการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท สนับสนุนแนวทางการเผยแพร่องค์ความรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ผ่านกลไกทางการศึกษาของ กศน. ให้บุคลากร นักศึกษา กศน. ตลอดจนประชาชนได้ตระหนักรู้ เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเห็นความสำคัญของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
                สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครสวรรค์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคนด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงตั้งศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล เป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงานด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล โดยในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลนี้ กศน.ตำบลดำเนินการสำรวจรวบรวมแหล่งเรียนรู้ ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาที่ประสบความสำเร็จในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต มาจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล

 

องค์ความรู้ในแหล่งเรียนรู้

      เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

       - การเพาะเห็ดฟางในตระกร้า

       - การปลูกผักปลอดสารพิษ

       - การปลูกมะนาวในวงบ่อ

       - การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ   

       - การทำปุ๋ยดิน

จุดเริ่มต้นหรือแนวคิดของแหล่งเรียนรู้

              ในชุมชนต่างๆ มีภูมิปัญญาอยู่หลายด้านและบางแห่งเคยเป็นเมืองเก่ามาก่อน จึงมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมายที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ชนรุ่นหลัง ได้ศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ สามารถเป็นแหล่งการเรียนรู้ได้ดี 
      แหล่งการเรียนรู้ที่ดี และมีความหลากหลายในด้านการศึกษาหาความรู้ เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี บุคคลสำคัญในท้องถิ่น และภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้ ทั้งในระบบ / นอกระบบการศึกษา และตามอัธยาศัย จากแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น สามารถนำมาจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น โดยไม่ทำให้จุดประสงค์และคาบเวลาเรียนเปลี่ยนแปลงไปจากที่กำหนดไว้ในหลักสูตร เริ่มจากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ นำมากำหนดเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ กำหนดเนื้อหาสาระ จัดแนวทางในการจัดกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล และนำมาจัดทำเป็นแผนการสอนและนำหลักสูตรไปใช้ทั้งนี้เพื่อให้ 
     (1) นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องราวของตนเอง จากแหล่งการเรียนรู้จริงในท้องถิ่น เกิดความรักความภาคภูมิใจ และสามารถมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและพัฒนาท้องถิ่นของตนได้ 
     (2) นำข้อมูลพื้นฐานจากแหล่งการเรียนรู้มาจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่นให้นักเรียนมีประสบการณ์ตรง จากแหล่งการเรียนรู้และสามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้มาใช้ในชีวิตจริง 
     (3) ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น และสามารถนำทักษะกระบวนการเรียนรู้ และ ประสบการณ์การเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ ทำให้เป็นผู้ใฝ่รู้ และเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต