ข้อมูลทั่วไป กศน.ตำบลหนองนมวัว

พิมพ์
ข้อมูลพื้นฐาน
จำนวนการเข้าชม: 481

 1155

    

 กศน.ตำบลหนองนมวัว เดิมตั้งอยู่ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านหนองนมวัว หมู่ที่ 3 ตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ กศน.ตำบลหนองนมวัว มีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 จัดการเรียนการสอนผู้ไม่รู้หนังสือ เพื่อให้อ่านออกเขียนได้ การศึกษาในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษาต่อเนื่อง การศึกษาเพื่อการมีงานทำ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยจัดให้มีบ้านหนังสืออัจฉริยะในชุมชน การจัดตั้ง กศน.ตำบล มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันสำหรับผู้สนใจและประชาชนในชุมชน

                       กศน.ตำบล มีบทบาทสำคัญในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน โดยมีหัวหน้า กศน.ตำบล เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน กศน.ตำบล ดังนี้

บทบาทหน้าที่ภารกิจ กศน.ตำบล

                    บทบาทหน้าที่ของ กศน. ตําบล

กศน. ตําบล มีบทบาทสำคัญในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน และ

สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน โดยมีหัวหน้า กศน. ตำบล เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน กศน. ตำบล ดังนี้

    1. บทบาทหน้าที่ของหัวหน้า กศน. ตำบล

               1. การวางแผน

                       1.1 จัดทําฐานข้อมูลชุมชน

                       1.2 จัดทําแผนพัฒนา กศน. ตําบล

                       1.3 จัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี

                    1.4 จัดทำข้อมูลระบบ DMIS

                    1.5 จัดทำ SAR ของสถานศึกษา

           2. การจัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

               2.1จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ ดังนี้

                       - การส่งเสริมการรู้หนังสือ

                       - การศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                       - การศึกษาต่อเนื่อง

               2.2 จัดและส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย

                       - ส่งเสริมการอ่าน

                       - จัดและพัฒนาแหล่งเรียนรู้

                       - บริการข่าวสารข้อมูล และสื่อทุกประเภท

                       - จัดและส่งเสริมกิจกรรมห้องสมุดประชาชนตำบล ห้องสมุดชุมชน บ้านหนังสือชุมชน

           3. บริการการเรียนรู้ในชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย

                    3.1  ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) ร่วมกับ (สอศ.)

                    3.2  ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับ (สคบ.)

                    3.3  ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ร่วมกับ (กระทรวงไอซีที)

                    3.4  มุมวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต ร่วมกับ (สสวท.)

                    3.5  หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ร่วมกับโรงพยาบาล สถานีอนามัย

                    3.6  ธนาคารเคลื่อนที่

                    3.7  การป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย

                    3.8  อำเภอเคลื่อนที่ ร่วมกับอำเภอ

กิจกรรมหลักของ กศน. ตำบล

การจัดตั้ง กศน. ตำบล มีความมุ่งหมายที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนใน

ชุมชน ดังนั้นจึงอาจแบ่งกิจกรรมหลักของ กศน. ตำบล ได้ดังนี้

1. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน (Information Center) เป็น แหล่งที่รวบรวมข้อมูลข่าวสาร

ต่างๆ ของชุมชน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ชุมชน ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง การศึกษา สาธารณสุข ซึ่งเป็นข้อมูลเดียวกันกับขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นสถานที่ที่คนทั่วไปจะมาศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชนได้ในขณะเดียวกัน ก็จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้อื่นๆ ด้วยเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การทำมาหากิน ในขณะเดียวกันก็จะเป็นแหล่งกระจายข่าวสารข้อมูลของภาครัฐผ่านเสียงตามสาย หรืออาจเป็นสถานีวิทยุชุมชน เพื่อกระจายข้อมูลข่าวสารของชุมชนด้วย

                              2. ศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้ (Opportunity Center) เป็นสถานที่ที่จัดให้บริการเพื่อสร้างเสริมโอกาสเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของคนในชุมชน เช่น กิจกรรมศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fit it Center) ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่ประชาชนสามารถมาใช้บริการซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า วิทยุ เครื่องยนต์ขนาดเล็ก กิจกรรมส่งเสริมคุ้มครองผู้บริโภค กิจกรรมให้บริการของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ฯลฯ ดังนั้นกิจกรรมนี้จึงเป็นเสมือนที่นัดพบระหว่างประชาชนกับหน่วยให้บริการต่างๆ ของรัฐหรือองค์กรอื่นๆ เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ของประชาชน

                    3. ศูนย์การเรียนชุมชน (Learning Center) เป็นสถานที่จัดกิจกรรมเรียนรู้ต่างๆ ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น การศึกษาเทียบเท่าการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อยกระดับการศึกษาของประชากรวัยแรงงาน ซึ่งจัดโดย กศน. การศึกษานอกระบบที่จัดหลักสูตรการทำมาหากินในรูปของหลักสูตรระยะสั้นต่างๆ รวมทั้งเป็นที่จัดฝึกอบรมประชาชนในหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนต่างๆ และการถ่ายทอดความรู้ที่จำเป็นสำหรับประชาชน เช่นการเรียนรู้เกี่ยวกับการอยู่ในประชาคมอาเซียน การเรียนรู้เกี่ยวกับการเป็นพลเมือง (Civic Education) การเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น นอกจากนี้ยังจัดพื้นที่เป็นห้องสมุดชุมชนเพื่อส่งเสริมการอ่านของประชาชน และจัดให้มีเครื่องรับโทรทัศน์ และรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาต่างๆ ด้วย

                    4. ศูนย์ชุมชน (Community Center) เป็นสถานที่มีคนในชุมชนจะมาทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การจัดเวทีชาวบ้าน เวทีประชาคม หรือใช้เป็นสถานที่พบปะเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแม้แต่เป็นที่ "โสเล" หรือ "เขลง" กันในชุมชน กศน.ตำบล จึงทำหน้าที่คล้ายศาลาประชาคมไปพร้อมกันด้วย

กิจกรรมของ กศน.ตำบลเหล่านี้จึงมีครู กศน.ตำบล ซึ่งเป็นพนักงานราชการในสังกัด

สำนักงานกศน.เป็นผู้ดำเนินงานจัดให้มีกิจกรรมเหล่านี้ขึ้น โดยเป็นการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั้ง อบต., อบจ., เทศบาล ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งมีอาสาสมัครต่างๆ ในชุมชน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัคร กศน. อาสาสมัครส่งเสริมการอ่านตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้าราชการบำนาญ เยาวชนผู้นำท้องถิ่นต่างๆ เข้ามาร่วมกันทำงานเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในชุมชน